สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม
ชุมพล แย้มวิจิตรจรรยา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชุมพล แย้มวิจิตรจรรยา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม มีวัตถุ-ประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร ศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกร และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตสับปะรดของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดของจังหวัดนครพนม ปี 2546 จำนวน 262 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.44 ปี ร้อยละ 94.27 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.56 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.42 คน ร้อยละ 81.30 มีการจ้างแรงงาน มีประสบการณ์ในการผลิตสับปะรดเฉลี่ย 10.10 ปี พื้นที่การผลิตสับปะรดเฉลี่ย 6.95 ไร่ ผลผลิตสับปะรดเฉลี่ย 13.75 ตัน/ปี จำหน่ายผลผลิตสับปะรดได้ราคาเฉลี่ย 4.37 บาท/ก.ก. มีรายได้จากการจำหน่ายสับปะรดเฉลี่ย 53,490.46 บาท/ปี ต้นทุนการผลิตสับปะรดปีเฉลี่ย 8,498.66 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิตสับปะรดตอเฉลี่ย 2,956.43 บาท/ไร่ ร้อยละ 50.00 ได้รับความรู้เกี่ยวกับสับปะรดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 69.47 ได้รับการฝึกอบรม ปีละ 1 - 3 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 83.21 มีพื้นที่ปลูกสับปะรดเป็นดินร่วนปนทราย ไม่เคยตรวจวิเคราะห์ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ร้อยละ 77.86 ใช้ระบบปลูกแบบสามแถวสลับฟันปลา ร้อยละ 36.64 เตรียมพื้นที่ปลูกสับปะรดโดยไถดะ / ไถแปร / พรวน ร้อยละ 67.18 ใช้ทั้งจุกและหน่อในการปลูกและมีการคัดขนาดเล็กและใหญ่ ใช้หน่อหรือจุกปลูกเฉลี่ย 4,425.57 ต้น/ไร่ ร้อยละ 77.12 ใช้หน่อหรือจุกของตนเองในการปลูก ร้อยละ 62.21 ปลูกเป็นพืชเดี่ยว ร้อยละ 66.79 ไม่มีการให้น้ำ เกษตรกรทั้งหมดมีการใช้ปุ๋ยในแปลงสับปะรด โดยร้อยละ 64.50 ใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 ส่วนมากใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 โดยวางที่โคนต้น ครั้งที่ 2 ส่วนมากใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 โดยใส่ที่กาบใบล่าง ครั้งที่ 3 ร้อยละ 77.48 มีการใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ที่กาบใบล่าง เกษตรกรร้อยละ 69.47 ไม่มีการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.14 มีการใช้สารบังคับการออกดอกของสับปะรด และส่วนมากใช้สารบังคับดอก 1 ครั้ง โดยใช้สารอีเทรลผสมยูเรีย ส่วนใหญ่บังคับช่วงตอนเย็น ร้อยละ 45.00 ใช้สารบังคับดอกเมื่อจุกอายุ 16 - 18 เดือน ร้อยละ 47.06 ใช้สารบังคับเมื่อหน่ออายุ 10 - 12 เดือน ร้อยละ 56.11 ใช้ฟางข้าว / หญ้าแห้งคลุมผล ร้อยละ 88.93 สังเกตสับปะรดสุกโดยการดีดหรือเคาะฟังเสียง ร้อยละ 94.66 ปลูกสับปะรดแบบไว้ตอ ร้อยละ 67.18 ไม่มีการวางแผนการผลิตเพื่อทยอยผลผลิต ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ร้อยละ 50.76 จำหน่ายสับปะรดทั้งเพื่อบริโภคสดและส่งโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่มีการทำสัญญาข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า ร้อยละ 88.17 มีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่ ร้อยละ 89.69 กำหนดราคาผลผลิตสับปะรดตามขนาดและคุณภาพ โดยส่วนมากพ่อค้าหรือโรงงานเป็นผู้กำหนดราคา เกษตรกรจำหน่ายสับปะรดได้ราคาสูงที่สุดในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน และจำหน่ายได้ราคาต่ำที่สุดช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม เกษตรกรส่วนมากพอใจกับราคาผลผลิตที่จำหน่ายได้ เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตมากที่สุด คือ ปุ๋ยเคมีราคาแพง มีปัญหาด้านการตลาดมากที่สุด คือ ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะมากที่สุดเรื่อง การส่งเสริมของภาครัฐ คือ ต้องการให้มีประกันราคาสับประรด ข้อเสนอแนะ ควรแนะนำเกษตรกรให้มีการวางแผนการผลิตเพื่อกระจายผลผลิตสับปะรดทั้งปี รณรงค์ให้มีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูกสับปะรดเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมส่งเสริมให้มีการชุบหน่อพันธุ์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับปรุงสภาพดินและลดการใช้ปุ๋ยเคมี ตลอดจนส่งเสริมให้มีการให้น้ำสับปะรดในช่วงฤดูแล้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครพนม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิตและการตลาดข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในประเทศไทย โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกร จังหวัดนครพนม ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก