สืบค้นงานวิจัย
สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุ์ไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
วิโรจน์ แก้วเรือง, ดนัย นาคประเสริฐ, วสันต์ นุ้ยภิรมย์, โกวิทย์ พงษ์แสวง, สุทธิสันต์ พิมพะสาลี - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุ์ไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
ชื่อเรื่อง (EN): Survey, Collection and Conservation of Wild Silkmoths
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาสำรวจ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมไหมป่าสกุล Samia สกุล Antheraea และ Bombyx mandarina (Moore, 1872) โดยใช้กับดักแสงไฟและเดินสำรวจเก็บตัวหนอน หรือไข่ที่พบ มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ในพื้นป่าไม้และเขตการเกษตรของจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก หนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา สระบุรี นครนายก จันทบุรี และกาญจนบุรี นำตัว เต็มวัยที่ได้มาจำแนกชนิด โดยพบผีเสื้อไหมป่าสกุล Samia จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Samia kohlli Naumann & Peigler, 2001 และ Samia canningi Hutton, 1859 และยังพบตัวหนอนของผีเสื้อไหม ป่า S. canningi กัดกินอยู่บนต้นมะแขว่น (Zanthoxylum rhetsa (Roxb.)) บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผีเสื้อไหมป่าสกุล Antheraea พบทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ Antheraea (Antheraea) helferi Moore, 1859 และ Antheraea (Antheraea) pedunculata Bouvier, 1936 โดยพบไข่ ตัวหนอน และ ดักแด้ของ A. (A.) pedunculata บนต้นรังในพื้นที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนผีเสื้อไหม ป่า B. mandarina ไม่พบทั้งตัวเต็มวัยและตัวหนอนจากการสำรวจ เมื่อตรวจเอกสารพบว่าผีเสื้อ ไหมป่าชนิดนี้มีเขตการแพร่กระจายอยู่ทางประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จึงคาดว่าเขตการ แพร่กระจายอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งผีเสื้อไหมป่า B. mandarina มีความแข็งแรงทน ต่อโรค เมื่อนำมาผสมกับพันธุ์ไหมที่เลี้ยงในปัจจุบันจะทำให้ได้พันธุ์ไหมที่ได้มีความสามารถ ต้านทานทนต่อเชื้อโรคได้มากกว่าไหมที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบัน
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุ์ไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2553
กรมหม่อนไหม
สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมเพื่อการใช้ประโยชน์ โครงการศึกษาชนิด/พันธุ์ไม้สนเพื่อปลูกเป็นสวนป่าและการอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการหลวงวัดจันทร์ การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ความหลากชนิดของสัตว์กลุ่มหอยในจังหวัดปราจีนบุรี (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) (ชื่อเดิม ความหลากชนิดของสัตว์กลุ่มหอยใน ความหลากชนิดของสัตว์กลุ่มหอยในจังหวัดสระแก้ว (สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) โครงการศึกษาวิจัยขยายพันธุ์พืชสี พืชอาหาร และพืชสมุนไพร บางชนิดที่พบในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี- การพัฒนาการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการอนุรักษ์ การสำรวจและเก็บรวบรวมพืชสมุนไพรในป่าบุ่งป่าทามจังหวัดนครราชสีมาเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม การเก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์กล้วยไข่ที่แสดงลักษณะผลตกกระ การรวบรวมอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมชนิดฟักปีละ 2 ครั้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก