สืบค้นงานวิจัย
การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546
มลวิภา อรรฐาเมศร์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มลวิภา อรรฐาเมศร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ในปี 2546 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้สำนักงานเกษตรอำเภอเป็นหน่วยงานในระดับอำเภอหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่ประสานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสู่เกษตรกร โดยเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 กองแผนงานจึงทำการประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและมีปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ได้ทราบ และใช้เป็นข้อมูลในการบริหารงานและปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการระดับอำเภอ โดยทำการเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และเกษตรกรผู้ใช้บริการ รวมทั้งสิ้น 255 ราย ผลการประเมิน พบว่า ทุกจังหวัดมีการปฏิบัติงานตามภารกิจที่มอบหมาย ด้านการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์บริการฯ ร้อยละ 83.3 มีการถ่ายทอดความรู้ และมีการถ่ายทอดความรู้เฉลี่ยศูนย์ละ 6 ครั้ง โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อมาเป็นวิทยากร เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดมีความพึงพอใจต่อเนื้อหา วิธีการ และตัววิทยากรเป็นอย่างมาก เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ร้อยละ 58.4 คาดว่าจะสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างมาก การเยี่ยมเยียนเกษตรกร ผอ.ศูนย์บริการฯ ร้อยละ 13.3 สามารถเยี่ยมเยียนเกษตรกรได้ 25 รายต่อวัน โดยเฉลี่ยสามารถเยี่ยมเยียนเกษตรกรได้วันละ 13 ราย เกษตรกรผู้ใช้บริการร้อยละ 73.5 เคยได้รับบริการด้านการเตือนภัยธรรมชาติ เกษตรกรร้อยละ 82.8 เคยใช้บริการด้านการเตือนภัยศัตรูพืช เกษตรกรร้อยละ 73.5 เคยใช้บริการด้านการเตือนภัยโรคระบาด เกษตรกรร้อยละ 11.3 เคยใช้บริการด้านการรับคำขอใบอนุญาตตามกฎหมาย เกษตรกรที่ใช้บริการมีความพึงพอใจอย่างมากต่อบริการที่ได้รับในทุกด้าน ในด้านการบริหารจัดการจังหวัดร้อยละ 93.3 มีการเกลี่ยอัตรากำลังแล้วแต่จังหวัดร้อยละ 14.3 ไม่สามารถเกลี่ยอัตรากำลังตามเกณฑ์ 1 : 1000 ครัวเรือนได้ เนื่องจากมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ จังหวัดร้อยละ 86.7 มีการจัดสรรงบประมาณให้อำเภอตามเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กำหนด ทุกศูนย์บริการฯมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมเฉลี่ย 14 คน ซึ่งคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีความพึงพอใจต่อการประชุมอย่างมาก ศูนย์บริการฯร้อยละ 93.3 มีการจัดเวทีชุมชนเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีการจัดเวทีชุมชนเฉลี่ย 6 ครั้งต่อปีต่อศูนย์ ซึ่งคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีความพึงพอใจอย่างมาก ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผอ.ศูนย์บริการฯมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการเกลี่ยอัตรากำลังในบางพื้นที่ ทำให้ผอ.ศูนย์บริการฯ ต้องดูแลศูนย์บริการฯมากกว่า 1 ศูนย์บริการฯส่งผลให้การดำเนินงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามภารกิจที่มอบหมาย ในบางพื้นที่แก้ไขปัญหาโดยเกษตรอำเภอได้ช่วยปฏิบัติงานแทน ผอ.ศูนย์บริการฯ ในการแก้ไขปัญหาที่ถาวรจึงควรมีการพัฒนา คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ให้มีความพร้อมในการทำงานแทนเจ้าหน้าที่ในภารกิจที่สามารถทำได้ และให้มีค่าตอบแทนในการมาปฏิบัติงานที่ศูนย์บริการฯ ในการเยี่ยมเยียนเกษตรกรวันละ 25 ราย ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกวันเนื่องจากมีภารกิจอื่นๆ ที่ต้องปฏิบัติ ควรมีการปรับความถี่และจำนวนเกษตรกรที่ต้องออกเยี่ยมเยียนลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมวิทยากรในการถ่ายทอดเทคโนโลยียังมีปัญหาที่วิทยากรไม่มาตามแผนการถ่ายทอด สำหรับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรร่วมกันกำหนดเป็นบทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยงานให้มีส่วนร่วมในการให้บริการที่ศูนย์บริการฯ โดยกำหนดรูปแบบในการประสานงานให้เป็นรูปธรรมและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ปี 2546
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ปี 2546 ผลดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546 ผลการปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก ตามโครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ตำบลต้นแบบ) ปี2550 ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อการดำเนินงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสุรินทร์ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร บทบาทคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดยโสธร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก