สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45
พิมล อ่อนแก้ว, สมศักดิ์ สระแก้ว, ธษพร สังข์อ้น - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45
ชื่อเรื่อง (EN): Management of soil series group number 45 by using green manure crop, soil amendment, organic fertilizer, biofertilizer LDD.12 and chemical fertilizer with Gnetum gnemon as intercropping in para rubber
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองศึกษาการจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในพื้นที่ดอน กลุ่มชุดดินที่ 45 ชุดดินคลองชาก ในพื้นที่ หมู่ 18 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2555 เพื่อศึกษาผลของพืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซม ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของยางพารา วางแผนการทดลองแบบสังเกตการณ์ ประกอบด้วย 7 ตำรับ คือ 1. วิธีของเกษตรกร 2. ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำของกรมวิชาการ 3. ? ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว 4. ? ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว 5. ? ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว + พืชบำรุงดิน 6. 1/2 ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว + พืชบำรุงดิน 7. ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว + พืชบำรุงดิน ทำการศึกษายางพาราพันธุ์ RRIM600 ผลการศึกษาเป็นเวลา 3 ปี พบว่า การปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา ๓/๔ ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น (T3) ยางพารามีการเจริญเติบโตด้านความยาวเส้นรอบวงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมา คือ ตำรับที่ 7 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น + พืชบำรุงดิน (T7) ส่วนตำรับที่ 4 1/2 ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น (T4) การปรับปรุงบำรุงดินกลุ่มชุดดินที่ 45 ด้วยปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว และปูน ทำให้สมบัติทางเคมีดินเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มขึ้นในทุกตำรับการทดลอง สำหรับ ค่าอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง สำหรับปริมาณฟอสฟอรัสมีค่าเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่สูงถึงสูงมาก
บทคัดย่อ (EN): Experimental study of soil management with manure crop, soil amendment, biofertilizer LDD 12 and chemical fertilizer with Gnetum gnemon as intercropping in para rubber on the upland . Study on soil series group number 45, Khlong Chak series, at Moo 18, Thachang subdistrict, Bangklum district, Songkhla province, during 2010 to 2012. To learn the effect of manure crop, soil amendment, biofertilizer LDD 12 and the appropriate rate of chemical fertilizer with Gnetum gnemon as intercropping in para rubber to change in soil properties and the growth of para rubber. Experimental observation of 7 methods: 1. To farmers 2. chemical fertilizers by department of agricalture 3. 3 in 4 of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 4. half of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 5. 3 in 4 of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 + manure crop 6. half of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 + manure crop 7. biofertilizer LDD 12 + manure crop and studied species RRIM600 rubber. The result of study for 3 years has shown, 3 in 4 of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 rate of 5 kg per tree (tr.3). Rubber is growing its maximum circumference. The secondary is biofertilizer LDD 12 + manure crop biofertilizer LDD 12 + manure crop (tr.7). Moreover half of chemical fertilizers by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 (tr.4) the method 4 have given lowest circumference. Improvement for soil series group number 45 with chemical fertilizers, bio fertilizers LDD 12 and lime Cause chemical changes in the soil a little. By the pH of the soil increased in all treatments for organic matter, nitrogen, potassium, calcium, magnesium, have both increased and decreased. For increased phosphorus was in the high to very high.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292739
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินโดยใช้พืชบำรุงดิน วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยเคมี ร่วมกับการปลูกต้นเหมียงเป็นพืชแซมยางพารา ในกลุ่มชุดดินที่ 45
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของยางพารา (ช่วงอายุก่อนเปิดกรีด) การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในระบบปลูกพืชถั่วเขียว ; ข้าวโพดหวาน กลุ่มชุดดินที่ 35 การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต และผลผลิตของปาล์มน้ำมันในกลุ่มชุดดินที่ 6 การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพดหวาน ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44) ผลของการใช้ไส้เดือนดินร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกทับทิมอินทรีย์ การจัดการดินด้วยวัสดุปรับปรุงดินบางชนิดเพื่อปลูกผักหวานป่าบนคันดินบริเวณสระน้ำประจำไร่นาในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดร้อยเอ็ด การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ (พด.3 และ พด.12) เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก