สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
สมทัศน์ ไชยรักษ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมทัศน์ ไชยรักษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สภาพการผลิต ปัญหาในการผลิต และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 67 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 70.15 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44.79 ปี ร้อยละ 43.28 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.06 คน มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3.60 คน ส่วนใหญ่ได้รับความรู้เพื่อใช้ในการผลิตข้าวจาก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีพื้นที่ทำนาต่อครอบครัวเฉลี่ย 25.42 ไร่ ส่วนใหญ่มีที่นาเป็นของตนเอง มีรายได้เฉลี่ย 38,589.55 บาทต่อครอบครัว มีหนี้สินเฉลี่ย 38,010.61 บาท ต่อครอบครัว การผลิตข้าวเกษตรกรส่วนใหญ่มีการตรวจวิเคราะห์ดินและใช้ปุ๋ยคอกในการปรับปรุงดิน มีพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 17.09 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 55.22 ได้รับเมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานราชการ เกษตรกรทุกรายปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ เกษตรกรร้อยละ 70.15 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ร้อยละ 89.55 ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง อัตราเฉลี่ย 19.96 กิโลกรัมต่อไร่ ศัตรูข้าวที่พบที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบไหม้ เพลี้ยไฟ และปู เกษตรกรส่วนใหญ่มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงโดยวิธีผสมผสาน ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวและวัชพืชใช้วิธีกล เกษตรกรทั้งหมดมีการใช้รถไถเดินตามและเครื่องนวดข้าว ส่วนใหญ่มีการเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึงบางส่วน เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน มีการตากลดความชื้นเฉลี่ย 2.49 วัน ได้รับผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 338.96 กิโลกรัมต่อไร่ ปัญหาอุปสรรคการผลิตข้าวเกษตรกรที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ ค่าแรงงานในการปลูกการเก็บเกี่ยวแพง ราคาผลผลิตข้าวเปลือกต่ำ ค่าจ้างเครื่องจักรกลในการไถและเก็บเกี่ยวแพง และแรงงานในครอบครัวไม่เพียงพอ เทคโนยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวในยุ้งฉางที่อากาศถ่ายเท ไม่เก็บใกล้กองปุ๋ย สารเคมี แหล่งน้ำและข้าวพันธุ์อื่น เก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เองติดต่อกันไม่เกิน 3 ปี คัดพันธุ์ปนหรือเป็นโรคแมลงออกก่อนปลูก ไถพรวนก่อนปลูกอย่างน้อย 2 ครั้ง กำหนดช่วงปลูกอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้น ออกตรวจแปลงสม่ำเสมอ รักษาระดับน้ำให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ใช้สารเคมีตามคำแนะนำในฉลากหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ กำจัดวัชพืชตลอดฤดูปลูกข้าว ระยะข้าวออกรวง ให้น้ำสม่ำเสมอ ตัดพันธุ์ปนช่วงข้าวแตกกอและออกรวง ระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน ตากลดความชื้นประมาณ 3 แดด นวดข้าวทันทีที่รวงข้าวแห้ง เทคโนโลยีที่เกษตรกรปฏิบัติบางครั้ง ได้แก่ ทดสอบความงอกก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง และตัดพันธุ์ปนในช่วงข้าวโน้มรวง ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการตัดพันธุ์ปนช่วงข้าวโน้มรวง การทดสอบความงอก การใช้ปุ๋ยพืชสด และการพิสูจน์ทราบ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอำนาจเจริญ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 จังหวัดยโสธร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน ปี 2543 - 2546 อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 จังหวัดอำนาจเจริญ การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในกิ่งอำเภอกูแก้ว จังหวัดอุดรธานี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 กรณีศึกษาตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 : กรณีศึกษาในเขตชลประทาน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (ข้าวขาวดอกมะลิ 105) จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก