สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับมันสำปะหลัง
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับมันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Agricultural Machinery for Cassava
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนุชิต ฉ่ำสิงห์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง สำหรับทดแทนการใช้แรงงานคน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดความเหนื่อยล้า ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกมันสำปะหลัง ได้เครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้นแบบที่มีชุดป้อนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังลักษณะเป็นทรงกระบอกติดจานหมุนเพื่อบรรจุลำต้นมันสำปะหลัง ใบมีดตัดแบบเลื่อยวงเดือนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว 120 ฟัน ใช้ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้าส่งกำลังด้วยสายพาน ความยาวในการตัดท่อนพันธุ์สามารถปรับตั้งได้ ยาว 25-30 เซนติเมตร และเป็นแบบตรง เพื่อใช้ในการปลูกทั้งแบบใช้แรงงานคนและการปลูกด้วยเครื่องปลูก เครื่องตัดมีอุปกรณ์ทำเครื่องหมายที่ท่อนพันธุ์เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการพิจารณาทิศทางส่วนปลายของท่อนพันธุ์ ในการปลูกด้วยแรงงานคน ทดสอบตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นขนาด 10-45 มิลลิเมตร มีความสามารถในการตัดท่อนพันธุ์ 3339 ท่อน/ชั่วโมง ท่อนพันธุ์ที่ได้มีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือน้อยกว่า 3 % รอยตัดเรียบและมีความยาวท่อนพันธุ์สม่ำเสมอ การทำงานใช้คนควบคุมเครื่องมือและการป้อนท่อนพันธุ์ฯ 1คน เครื่องมือสามารถทดแทนการตัดเตรียมท่อนพันธุ์ด้วยแรงงานคน 2-3 คน ลดความเหนื่อยล้าของการใช้แรงงานคนตัด และความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือในการตัดท่อนพันธุ์ ท่อนพันธุ์แตกเสียหายต่ำกว่ารูปแบบปฏิบัติเดิมของเกษตรกร เมื่อนำไปปลูก เปอร์เซ็นต์การงอกจะสูงกว่า ส่งผลให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมันสำปะหลัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการออกแบบเพื่อหาค่าที่เหมาะสมสำหรับการสร้างต้นแบบเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบปักท่อนพันธุ์ ดำเนินการศึกษาและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร และลักษณะทางกายภาพของท่อนพันธุ์ ออกแบบและสร้างชุดทดสอบบนรางดินเพื่อศึกษาความเร็วของการเคลื่อนที่มีผลต่อลักษณะการปลูกด้วยท่อนพันธุ์มันสำปะหลังบนรางดิน ออกแบบและสร้างชุดทดสอบการลำเลียงและการปักท่อนพันธุ์ ทดสอบและเก็บข้อมูล ประเมินผลสมรรถนะการทำงานของชุดทดสอบบนรางดิน ผลการศึกษาพบว่า จากการสุ่มตัวอย่างการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ระยะระหว่างแถวเฉลี่ย 96.5 ซม. ระยะระหว่างต้นเฉลี่ย 51.6 ซม. ความลึกในการปลูกเฉลี่ย 11.5 ซม. มุมเอียงของท่อนพันธุ์ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่เฉลี่ย 85.7 องศา และ ในทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่เฉลี่ย 80.5 องศา ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบลูกกลิ้งปักท่อนพันธุ์ โดยการออกแบบและสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่บนรางดินกว้าง 1.5 เมตร ยาว 12 เมตร สูงจากพื้น 0.5 เมตร และชุดทดสอบการปักท่อนพันธุ์แบบลูกกลิ้งล้อยางคู่ขนาด 7 นิ้ว ความเร็วรอบ 540 รอบ/นาที หมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1/2 แรงม้า และชุดป้อนท่อนพันธุ์โดยใช้ท่อพีวีซี 2 นิ้ว ยาว 30 เซนติเมตร จำนวน 16 ท่อน จับยึดเป็นแบบลูกโม่สมมาตรกัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ซม. รางเลื่อนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าปรับรอบได้ความเร็วอยู่ในช่วงประมาณ 0.27 - 1.39 เมตร/วินาที ผลการทดสอบพบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ความยาวท่อนพันธุ์ 25 เซนติเมตร ที่ความเร็วในการเคลื่อนที่ 0.44 เมตร/วินาที มีลักษณะการปักของท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้แรงงานคนมากที่สุด เครื่องปลูกมันสำปะหลังถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อลดเวลา ขั้นตอนการทำงาน ต้นทุน และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการปลูกมันสำปะหลัง เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์มี 2 รุ่น คือแบบ 1 แถว และ 2 แถว มีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนโรยปุ๋ยรองพื้น ส่วนยกร่อง ส่วนป้อนและกำหนดระยะท่อนพันธุ์ และส่วนปักท่อนพันธุ์ มีหลักการทำงานโดยเครื่องจะโรยปุ๋ยรองพื้นแล้วยกร่องกลบและปักท่อนพันธุ์บนร่องตามระยะระหว่างต้นที่กำหนด ผลการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการปักท่อนและความเสียหายของตาท่อนพันธุ์ พบว่าล้อปักแบบยางร่องวีสามารถทำงานได้ดีกว่าล้อปักแบบยางเรียบ ความเร็วรอบล้อปักประมาณ 450 รอบต่อนาที (ล้อปักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 เซนติเมตร) และแรงกดของล้อปักต่อท่อนพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม ซึ่งผลการทดสอบการสมรรถนะการทำงานในแปลงของเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบแถวเดียว และแบบ 2 แถว โดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 37 และ 50 แรงม้าเป็นต้นกำลังตามลำดับ พบว่า มีความสามารถในการทำงาน 1 และ 2 ไร่ต่อชั่วโมง ที่ระยะการปลูก 50x120 เซนติเมตร ประสิทธิภาพการทำงานเชิงพื้นที่ 80 และ 75 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.05 และ 2.55 ลิตรต่อไร่ ตามลำดับ โดยท่อนพันธุ์ที่ปักได้จากเครื่องต้นแบบทั้งสองแบบจะเอียงตามแนวการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ประมาณ 60-80 องศา ประสิทธิภาพการปักประมาณ 93-95 เปอร์เซ็นต์และมีอัตราการงอกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างจากการใช้แรงงานคน เมื่อวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่า เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบแถวเดียวและแบบ 2 แถว มีจุดคุ้มทุนการทำงานที่ 103 ไร่ต่อปี และ 149.48 ไร่ต่อปี ตามลำดับ ที่อายุการใช้งานเครื่อง 5 ปี โดยเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคนในการปลูกมันสำปะหลัง เครื่องเก็บและย่อยเหง้ามันสำปะหลังติดท้ายรถแทรกเตอร์ ประกอบด้วยด้วยเครื่องจักร 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ เครื่องขุดและเก็บลำเลียง เครื่องหั่นย่อยเหง้ามันสำปะหลัง โดยเครื่องขุดและเก็บลำเลียงประกอบด้วย ผาลขุด หน้ากว้าง 400 มิลลิเมตร ชุดตะแกรงร่อนสายพานโซ่ลำเลียง หน้ากว้าง 800 มิลลิเมตร ยาว 1,200 มิลลิเมตร ซี่ตะแกรงเป็นเหล็กแป๊บกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างซี่ 60 มิลลิเมตร ขับเคลื่อนการหมุนจากเพลาอำนวยกำลังแทรกเตอร์มีความสามารถในการขุดและเก็บ 0.75 ไร่/ชั่วโมง มีร้อยละมันสำปะหลังที่สูญเสีย เท่ากับ 4.5 เครื่องย่อยเหง้ามันสำปะหลังใช้เครื่องย่อยวัสดุเกษตร ของสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ใช้ต้นกำลังการหมุนใบมีดสับจากเพลาอำนวยกำลังรถแทรกเตอร์ ใช้ 750 รอบ/นาที สามารถสับเหง้ามันสำปะหลังได้ประมาณ 1,200 กิโลกรัม/ชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง โดยเฉพาะขั้นตอนการตัดต้นมันสำปะหลังก่อนทำการขุดโดยใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังแบบพ่วงติดท้ายรถแทรกเตอร์ ได้ทำการพัฒนาเครื่องตัดต้นมันสำปะหลังแบบติดตั้งหน้ารถแทรกเตอร์ ให้สามารถรวมกิจกรรมการตัดต้นมันสำปะหลังที่ด้านหน้ารถแทรกเตอร์และกิจกรรมการขุดด้วยเครื่องขุดมันสำปะหลังที่พ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ด้านหลังเป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปพร้อมกัน ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ 1) ชุดจับประคองต้นมันสำปะหลัง 2) ชุดตัดต้นแบบใบเลื่อยวงเดือน 3) ชุดลำเลียงต้นออกด้านข้างหลังการตัด ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิก ใบเลื่อยวงเดือนหมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 1,450 รอบ/นาที ความเร็วชุดลำเลียงต้นออกด้านข้างเคลื่อนที่ในช่วง 1-1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้การวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังในการซื้อขายหัวมันสำปะหลังสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และยุติธรรม และใช้ปริมาณตัวอย่างน้อย ตลอดจนเพื่อได้เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง โดยการวัดค่าความถ่วงจำเพาะจากหัวมันสำปะหลังสด การวิจัยและพัฒนาดำเนินการโดยศึกษาความสัมพันธ์ของค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสด กับปริมาณแป้งมันสำปะหลังในหัวมันสำปะหลังที่ตรวจสอบด้วยวิธีการทางกลโดยการปั่น กรอง ตกตะกอน และอบแห้งในห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาจากหัวมันสำปะหลังสดจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ระยอง 4 ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 11 ห้วยบง 60 ห้วยบง 80 เขียวปลดหนี้ และเกษตรศาสตร์ 50 รวมประมาณ 2,400 ตัวอย่าง แล้วนำสมการความสัมพันธ์ที่ได้ ไปใช้ในการคำนวณ และวัดคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ และแสดงค่าเป็นตัวเลขดิจิตอลทางหน้าจอ LCD การพัฒนาได้เครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือ 1) ระบบกลไกการหมุน และ 2) ระบบการวัดคุม ประมวลผล และแสดงผล โดยระบบกลไกการหมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมการหมุนเป็นวงกลม และหยุดเป็นเป็นช่วงๆด้วยกลไกเจนีวา (Geneva mechanism) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ 4 สถานี ประกอบไปด้วย ก) การใส่และเอาตัวอย่างหัวมันสดออก ข) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในอากาศ ค) การเติมน้ำ ง) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในน้ำ ระบบการวัดคุม ประมวลผล และแสดงผล ออกแบบให้มีการชั่งคล้ายเครื่องชั่งไฟฟ้าในแต่ละสถานีที่มีการชั่ง โดยออกแบบให้มีกลไกไปกดน้ำหนักลงที่ Weight Transducer ซึ่งออกแบบโดยใช้โหลดเซลแบบ single point ขนาด 10 กิโลกรัม ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากโหลดเซลออกแบบให้ถูกขยายและลดค่าผิดเพี้ยนด้วย Instrumentation Amplifier เบอร์ INA114 แล้วถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลความละเอียดสูงด้วย MCP3551 ที่มีการต่อวงจรแบบ Delta-sigma เพื่อสัญญาณเรียบ มีความละเอียดสูง ถูกต้อง มีอัตราสุ่มต่ำ เหมาะกับงานเครื่องมือวัด แล้วส่งสัญญาณเข้าไปยังชุดประมวลผล โดยใช้ PIC Microcontroller คำนวณเป็นค่าความถ่วงจำเพาะและแปรค่าเป็นค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง แสดงผลออกทางหน้าจอ LCD ตามลำดับ ผลการทดสอบการทำงานเครื่องสามารถทำการวัดได้ 24 วินาที/ตัวอย่าง แต่ผลการวัดยังมีความแปรปรวนเนื่องจากยังคงมีปัญหาขณะทำการชั่งซึ่งระบบกลไกการหมุนและหยุดชั่งยังไม่นิ่งพอ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไป เพื่อให้การวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังในการซื้อขายหัวมันสำปะหลังสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และยุติธรรม และเพื่อเป็นเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ได้ดำเนินการศึกษา ทดสอบ และพัฒนาเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังจากหัวมันสำปะหลังสด โดยใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของหัวมันสำปะหลังสด เครื่องต้นแบบเครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือ 1) ระบบกลไกการหมุน และ 2) ระบบการวัดคุม โดยระบบกลไกการหมุนขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมการหมุนเป็นวงกลม และหยุดเป็นเป็นช่วงๆด้วยกลไกเจนีวา (Geneva mechanism) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ 4 สถานี ประกอบไปด้วย 1) การใส่และเอาตัวอย่างหัวมันสดออก 2) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในอากาศ 3) การเติมน้ำ 4) การชั่งน้ำหนักตัวอย่างในน้ำ เครื่องต้นแบบประกอบด้วย 2 ระบบหลัก คือกลไกควบคุมการหมุน และระบบควบคุมการชั่ง ประมวลผล และแสดงผล ระบบการวัดคุม ประกอบด้วยการควบคุมการเติมน้ำ การชั่งน้ำหนัก การประมวลผลและแสดงผล การชั่งในสถานีที่มีการชั่ง ออกแบบให้มีการชั่งคล้ายเครื่องชั่งไฟฟ้า โดยออกแบบให้มีกลไกไปกดน้ำหนักลงที่ Weight Transducer ซึ่งออกแบบโดยใช้โหลดเซลแบบ single point ขนาด 10 กิโลกรัม ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากโหลดเซลออกแบบให้ถูกขยายและลดค่าผิดเพี้ยนด้วย Instrumentation Amplifier เบอร์ INA114 แล้วถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลความละเอียดสูงด้วย MCP3551 ที่มีการต่อวงจรแบบ Delta-sigma เพื่อสัญญาณเรียบ มีความละเอียดสูง ถูกต้อง มีอัตราสุ่มต่ำ เหมาะกับงานเครื่องมือวัด แล้วส่งสัญญาณเข้าไปยังชุดประมวลผล โดยใช้ PIC Microcontroller คำนวณเป็นค่าความถ่วงจำเพาะและแปรค่าเป็นค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง แสดงผลออกทางหน้าจอ LCD ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในส่วนวงจรไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ เพื่อการวัด ควบคุม ประมวลผล และแสดงผลด้วยหน้าจอดิจิตอล ได้ทำการทดสอบเบื้องต้นระบบตรวจจับวัสดุ ระบบวัดระดับน้ำ และระบบชั่งน้ำหนัก โดยระบบตรวจจับวัสดุเบื้องต้นพบว่าหลอดไฟอินฟราเรดภาคเบอร์ TOIR-50b94bCEa และ TSAL7400 และ TSOP4838 ยังไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานตรวจจับวัสดุของต้นแบบเครื่องวัดฯ เนื่องจากการตรวจจับวัสดุในระยะไม่เกินระยะ 10 เซ็นติเมตรไม่สามารถรับสัญญาณได้ในบางตำแหน่ง จึงควรทำการศึกษาหาอุปกรณ์อินฟราเรดที่เหมาะสมสำหรับต้นแบบต่อไป การทดสอบระบบตรวจวัดระดับน้ำเบื้องต้นพบว่าสามารถใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำเพื่อเปิดและปิดปั้มได้ และสามารถใช้ได้กับน้ำประปาและน้ำกรอง การติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อเปิดปิดน้ำระบบจะทำการตัดต่อการทำงานของรีเลย์ทันทีที่น้ำสัมผัสขั้วของเซ็นเซอร์ ระบบตรวจวัดน้ำหนักเบื้องต้นแบบทดสอบกับโหลดเซลตัวเดียวสามารถวัดน้ำหนักได้ละเอียดเป็นหน่วยกรัม ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดโดยใช้วิธีวัดความถ่วงจำเพาะในกิจกรรมที่ 2 ได้ถูกทดสอบและพัฒนาการใช้ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งฯ โดยปรับปรุงพัฒนาส่วนประกอบ อุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น ส่วนตรวจจับวัสดุที่เหมาะสมใช้เซ็นเซอร์เบอร์ TCRT5000 สูตรการคำนวณหาความถ่วงจำเพาะเพื่อใช้กับต้นแบบเครื่องวัดฯ การปรับปรุงคานกดน้ำหนักแบบไม้กระดก การปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมของต้นแบบเครื่องวัดฯ ให้ทำงานสอดคล้องกับระบบแมคคานิค การทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลังสดสามารถใช้งานได้
บทคัดย่อ (EN): Research and Development of Cassava Stem cutting machine Replace manual labor Solve labor shortage Reduce the fatigue Reduce production costs And increase efficiency in Crop cassava. The Prototye of Cassava Stem cutting machine With feeder planting cassava. Features a rotating cylinder to contain stem cassava. Cutting circular saw blade 12 inch diameter 120 teeth. Power is a 1 HP electric motor with belt transmission. The length of the truncated variants can be adjusted vertically. 25-30 cm long And a straight cut In order to grow both manual labor and planting tools. Cutter can be marked at Cassava Stem To facilitate quick and accurate The tip of the Cassava Stem. In planting cassava with manpower Cut the cassava stem diameter of 10-45 mm. Capable of shortening strain 3,339 pieces / hour. Cassava Stem had damage that occurs from a less than 3%. Cut with long, smooth and uniform. Working with Cassava Stem cutting machine control 1 person. Cutting tool can replace Manpower for planting with 2-3 person. Reduce the fatigue of Manpower cuts. And the risk of accidents from the use of Cassava Stem cutting machine. Cassava Stem significantly below corrupted form old practice of farmers. When planted Higher percentage of germination Result in a higher yield. Increase efficiency in the production of cassava. The cassava planter was designed and developed to reduce the time, process, costs and the shortage of labor in planting cassava. The Cassava planter has two models with 1 row and 2 row version. The prototype of cassava planter consisted of 4 main parts, the fertilizer unit, the ridger, the stake conveying unit, and the planting unit. The test of the effective factors that affect to the ability planting and the stake damaged showed a v-shape rubber wheel can work better than a flatting rubber wheel. The speed of planting wheel around 450 rpm (diameter of planting wheel was 22 cm) and the force of the wheels planted press to cassava stake was about 3 kg. The performance testing of the cassava planter, single-row and 2 rows using of 37 and 50 hp tractors are respectively. The average field capacity was 1 and 2 rai/ hour (planting space 50x120 cm), the field efficiency was about 80 and 75 percent, and the fuel consumption was about 2.05 and 2.55 liters/rai respectively. The cassava stake angle with ground plane varied from 60-80 degrees by movement tractor. The efficiency planting was about 93-95 percent and the germination rates was about 90 percent, not significantly different from the manual labor. On Engineering Economic Analysis, the cassava Planters single row and a second row had break-even point at a 103 rai/year and 149.48 rai/year respectively at the 5-year lifetime compared to manual labor in planting cassava. The cassava rhizome picker and chopper attached to Tractor consisted of two machines for two step were cassava digger together elevator and cassava rhizome chopper. The cassava picker consisted blade plough 400 millimeter width and chain belt conveyor was 800 millimeter width and 1,200 millimeter length. The diameter of round bar pipe was 20 millimeter and interval of round bar pipe was 60 millimeter. The chain belt conveyor was powered by tractor PTO. The Field capacity was 0.75 rai/hr and cassava loss percentage was 4.5 %. The cassava rhizome chopper was contructed by Agricultural Engineering Research Institute. It used chipping blade at 750 rpm power by tractor PTO and capacity of rhizome chopper was 1,200 Kg/hr.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับมันสำปะหลัง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
อาหารจากมันสำปะหลัง สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรในการผลิตมันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ การพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลัง แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ระบบทำความสะอาดมันเส้น โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในสภาพพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก