สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ
อดิเรก ปัญญาลือ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Selection for Decreasing THC Content in Hemp
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อดิเรก ปัญญาลือ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ (Selection for Decreasing THC Content in Hemp) ฤดูปลูกปี พ.ศ. 2552 โครงการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ ได้ดำเนินงาน 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1 คัดเลือกประชากรเฮมพ์รุ่น M1 ให้มีปริมาณสาร THC ต่ำโดยการคัดเลือกต้นเพศผู้ จากประชากรเฮมพ์จำนวน 4 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์ V50, แม่สาใหม่, ห้วยหอย และปางอุ๋ง ปลูกทดลองที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ ช่วงเดือน มิถุนายน – ธันวาคม 2551 และการทดลองที่ 2 คัดเลือกประชากรเฮมพ์รุ่น M1 ให้มีปริมาณสาร THC ต่ำโดยไม่มีการคัดต้นเพศผู้ คัดเลือกจากประชากรเฮมพ์จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ V50, แม่สาใหม่ และปางอุ๋ง ปลูกทดลอง 3 แห่ง คือสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง ทั้งสองการทดลองได้ปลูกทดสอบรุ่นลูก (progeny test) ที่แปลงทดลองของสถานีเกษตรหลวงปางดะ ช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม 2552 ผลการทดลองที่ 1 พบว่าประชากรเดิม (M0) มีปริมาณสาร THC ของเฮมพ์พันธุ์ V50, แม่สาใหม่, ห้วยหอย และปางอุ๋ง ของต้นเพศผู้เฉลี่ยเท่ากับ 0.622, 0.790, 0.539 และ 0.697 % และต้นเพศเมียเฉลี่ยเท่ากับ 0.399, 0.616, 0.469 และ 0.711 % จากการปลูกทดสอบรุ่นลูกพบว่ามีปริมาณสาร THC ต่ำกว่ารุ่น M0 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.147, 0.316, 0.232 และ 0.248 % คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ลดลงเท่ากับ 68.92, 53.19, 52.85 และ 64.87 % ตามลำดับ มีค่าอัตราพันธุกรรมของสาร THC ของพันธุ์ V50, แม่สาใหม่, ห้วยหอย และปางอุ๋ง เท่ากับ 0.83, 0.73, 0.71 และ 0.87 ตามลำดับ ได้คัดเลือกเฮมพ์ต้นที่มีปริมาณสาร THC ต่ำกว่า 0.300 % ของรุ่นลูกของแต่ละพันธุ์ได้จำนวน 20, 11, 23 และ 14 หมายเลข ตามลำดับ การทดลองที่ 2 พบว่าประชากรเดิม (M0) ของเฮมพ์พันธุ์ V50, แม่สาใหม่ และปางอุ๋ง มีปริมาณสาร THC เฉลี่ยเท่ากับ 0.238, 0.441 และ 1.145 % และผลจากการปลูกทดสอบรุ่นลูกพบว่ามีปริมาณสาร THC เฉลี่ยต่ำกว่า/สูงกว่ารุ่น M0 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.218, 0.477 และ 0.555 % หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ลดลงของพันธุ์ปางอุ๋ง และ V50 เท่ากับ 51.52 และ 8.40 % ตามลำดับ ส่วนพันธุ์แม่สาใหม่มีค่าสูงกว่ารุ่น M0 เท่ากับ 8.16 % อัตราพันธุกรรมของพันธุ์ V50, แม่สาใหม่ และปางอุ๋ง มีค่าเท่ากับ 0.10, 0.00 และ 0.76 ตามลำดับ ได้คัดเลือกเฮมพ์ต้นที่มีปริมาณสาร THC ต่ำกว่า 0.300 % ของรุ่นลูกของแต่ละพันธุ์ได้จำนวน 21, 7 และ 4 หมายเลข ตามลำดับ เมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่ได้จากการปลูกทดสอบรุ่นลูกของแต่ละการทดลองนี้ได้นำมารวมกันเป็นเมล็ด M1 เพื่อใช้ปลูกสำหรับการคัดเลือกชั่วต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2552
โครงการย่อยที่ 5 : โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำและคุณภาพเส้นใยสูง โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 6 : การศึกษาวิจัยการรักษาเชื้อพันธุ์และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการย่อย 8 : การศึกษาวิจัยการรักษาเชื้อพันธุ์และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการย่อย 5: โครงการศึกษาวิธีเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตเส้นใยเฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๑ : โครงการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THCต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาเครื่องมือแปรรูปเส้นใยเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก