สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาและวิเคราะห์การจัดการค่าอำนวยการก่อสร้างของ โครงการชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
คุณธเนศ อักษร - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและวิเคราะห์การจัดการค่าอำนวยการก่อสร้างของ โครงการชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
ชื่อเรื่อง (EN): A STUDY ON MANAGEMENT OF CONDTRUCTION OVERHEAD COSTS OF IRRIGATION PROJECTS : A CASE STUDY OF LARGE-SCALED PROJECTS
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คุณธเนศ อักษร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thaned Ugsorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: คุณธเนศ อักษร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Thaned Ugsorn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: อื่นๆ
หมวดหมู่ AGRIS: N เครื่องจักรกลการเกษตร และวิศวกรรมศาสตร์ (Machinery and buildings)
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาแนวทางการจัดการค่าอำนวยการงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ในกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อยของการศึกษาวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของค่าอำนวยการงานก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดใหญ่ กรณีงานจ้างเหมาของกรมชลประทาน (2) เพื่อศึกษาและแบ่งประเภทของค่าอำนวยการก่อสร้างของโครงการชลประทานขนาดใหญ่ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการค่าอำนวยการงานก่อสร้างของโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการค่าอำนวยการงานก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดใหญ่ กรณีงานจ้างเหมาของกรมชลประทานอย่างเหมาะสม อนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมคือการสำรวจแบบสอบถาม (Questionnaire Survey) โดยได้ดำเนินการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเจาะจงไปที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่จำนวน 11 โครงการทั่วประเทศ รวมถึงบุคลากรของบริษัทผู้รับจ้างผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการบริหารโครงการก่อสร้าง อย่างไรก็ดีจากการลงพื้นที่ศึกษาวิจัย คณะผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับมาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 122 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 93.84 และได้รับแบบสอบถามกลับมาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรของบริษัทผู้รับจ้างใหญ่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 91 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 91.91 ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ จากนั้นข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างได้นำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative-base Analysis) คณะผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative-Based Analysis) คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยของค่าอำนวยการงานก่อสร้างทั้งสิ้น 15 มิติ ประกอบไปด้วย 66 ปัจจัยย่อย โดยในส่วนของข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ มีปัจจัยของค่าอำนวยการงานก่อสร้างที่มีความสามารถในการควบคุมและบริหารจัดการที่อยู่ในระดับต่ำสุด 10 อันดับแรกได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายในการชดเชยในเหตุสุดวิสัย เช่น การหยุดงานประท้วง น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว เป็นต้น (2) ค่าใช้จ่ายงานสังคม งานการกุศล หรืองานสาธารณะ (3) ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรองเจ้าหน้าที่ (4) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมผลงานระหว่างรับประกันผลงาน (5) ค่าอาหาร น้ำ และเครื่องดื่ม (เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น) ในสำนักงาน (6) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรักษาพยาบาล เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ (7) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอำนวยความสะดวก/การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ (เช่น อบต. เทศบาล ตำรวจท้องที่ เป็นต้น) (8) ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขแบบก่อสร้าง (9) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ปรับปรุง/บูรณะถนน สัญจรที่ชำรุดระหว่างการปฏิบัติงาน และ (10) ค่าใช้จ่ายในการจัดการสัมมนา/รับรองแขกมาเยี่ยมชมโครงการ นอกจากนี้ยังพบว่าในส่วนของข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัทผู้รับจ้าง มีปัจจัยของค่าอำนวยการงานก่อสร้างที่มีความสามารถในการควบคุมและบริหารจัดการที่อยู่ในระดับต่ำสุด 10 อันดับแรกได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายในการชดเชยในเหตุสุดวิสัย เช่น การหยุดงานประท้วง น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว เป็นต้น (2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอำนวยความสะดวก/การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ (เช่น อบต. เทศบาล ตำรวจท้องที่ เป็นต้น) (3) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ปรับปรุง/บูรณะถนน สัญจรที่ชำรุดระหว่างการปฏิบัติงาน (4) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ปรับปรุง/บูรณะ อาคารและสิ่งก่อสร้างที่ชำรุดระหว่างการปฏิบัติงาน (5) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและซื้ออุปกรณ์/วัสดุสิ้นเปลือง (6) ค่าอาหาร น้ำ และเครื่องดื่ม (เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น) ในสำนักงาน (7) ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา ซ่อมแซมยานพาหนะ (8) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรักษาพยาบาล เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ (9) ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบความสามารถของบริษัทที่ปรึกษา และ (10) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาผ้าใบป้องกันฝุ่นอันเนื่องมาจากการก่อสร้าง ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factors) พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการควบคุมและบริหารจัดการค่าอำนวยการงานก่อสร้าง ประกอบได้ด้วย 15 ปัจจัย ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ควรได้รับการเอาใจใส่จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสำเร็จในการบริหารจัดการค่าอำนวยการงานก่อสร้างในส่วนของข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การสนับสนุนจากผู้บริหารที่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการค่าอำนวยการก่อสร้าง (2) ความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายและระดับที่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของค่าอำนวยการก่อสร้าง และ (3) ประสบการณ์ ทักษะ และความรู้ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการค่าอำนวยการ และในส่วนของข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัทผู้รับจ้าง 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การสนับสนุนจากผู้บริหารที่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการค่าอำนวยการก่อสร้าง (2) ความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายและระดับที่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของค่าอำนวยการก่อสร้าง และ (3) การกำหนดเป้าหมายวางแผนการจัดการอย่างชัดเจน ในการนี้ ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับจากโครงการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ไม่มากก็น้อยในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการควบคุมและบริหารจัดการค่าอำนวยการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ อีกทั้งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลสนับสนุนและประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางใหม่ๆเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพิจารณากระบวนการและระบบการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้ที่สนใจสามารถพิจารณาประเด็นของผลการวิจัยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงงานวิจัยให้พัฒนายิ่งขึ้นต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: กรมชลประทาน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ. 46/2559
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 5990019
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 679,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://drive.google.com/file/d/1-QVepZw738L2f9sFfQO6f2LFmYdyPmWR/view?usp=share_link
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: พ.ศ.2558-2559
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ (กรมชลประทาน) (rada_ru@rid.go.th) on 2018-04-23T08:17:44Z No. of bitstreams: 1 การศึกษาและวิเคราะห์การจัดการค่าอำนวยการก่อสร้างของโครงการชลประทาน.pdf: 513677 bytes, checksum: 4b10d4d2294a2f392895e1d009803182 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาและวิเคราะห์การจัดการค่าอำนวยการก่อสร้างของ โครงการชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
2559
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
การศึกษาแนวทางเพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารและจัดการสัญญาก่อสร้าง ในกรมชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ คณะกรรมการจัดการชลประทาน การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบควบคุมต้นทุนงานก่อสร้างของโครงการก่อสร้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศงานทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพวัสดุวิศวกรรม ในงานชลประทาน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในระยะกำหนดโครงการของการ พัฒนาแหล่งน้ำชลประทาน กรณีศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ลุ่มน้ำย่อยคลองดุสนและคลองบำบัง อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล การจัดการธุรกิจการเลี้ยงสุกรรายย่อยกรณีศึกษาในพื้นที่ตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น คู่มือการจัดการข้อร้องเรียน วัชพืชร้ายแรงในระบบชลประทาน การศึกษาปัญหาการกระจายตัวของดินในเขตชลประทานจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา : พื้นที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ความเสียหายจากดินกระจายตัวด้านชลประทานและการสังเกตดินกระจายตัว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก