สืบค้นงานวิจัย
การลดต้นทุนการพัฒนาถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย
ศิริกาญจนา ทองมี - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การลดต้นทุนการพัฒนาถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Reducing cost for development of activated carbon from Bagasse
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริกาญจนา ทองมี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ตรีเนตร ยิ่งสัมพันธ์เจริญ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ในงานวิจัยนี้ ชานอ้อยเป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมาก ซึ่งสามารถ นำมาทำเป็นถ่านกัมมันต์ได้โดยใช้วิธีกระตุ้นทางกายภาพ โดยในช่วงแรกจะนำชานอ้อยมาอัดเป็นแท่งขนาด เล็กเพื่อให้ชานอ้อยอัดแท่งยังคงรูปร่างอยู่ได้หลังจากถูกกระตุ้นแล้ว ซึ่งถ่านกัมมันต์จากชานอ้อยจะเตรียมโดย การนำชานอ้อยอัดแท่งมาทำการคาร์บอไนเซชันที่อุณหภูมิ 500 *C เรียกว่า ถ่านชาร์ จากนั้น นำถ่านชาร์มา ทำการวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนและสารอื่นๆ ด้วย EDS ส่วนโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของถ่านชาร์ ศึกษาโดยใช้เครื่อง SEM พื้นที่ผิวและรูพรุนศึกษาโดยการใช้เครื่อง Surface analyzer จากนั้น นำถ่านชาร์มา ทำการกระตุ้นภายใต้บรรยากาศก๊าซไอน้ำที่อุณหภูมิต่างๆ กัน คือ 750, 800, 850 และ 900 *C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นที่อุณหภูมิ 850 *C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ให้ค่า พื้นที่ผิวสูงกว่าถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นที่อุณหภูมิอื่นๆ ซึ่งค่าพื้นที่ผิวสูงสุดเท่ากับ 441.36 mา /3 จากนั้น ทำการศึกษาการดูดสีของสารละลายน้ำตาลโดยกำหนดตัวแปร คือ ความเข้นข้น ถ่านกัมมันต์ และ เวลา ผล จากการทดลองทำให้เราสรุปได้ว่า ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นที่อุณหภูมิ 850 *C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นั้นให้ ค่าการดูดซับสีดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Sugarcane Bagasse (SB) is an example of agricultural wastes being generated in large quantities that can be converted into activated carbon. Activated carbon composed of a mixture of SB was prepared using the physical activation method with supersteam. Initially, the SB raw materials were processed into rods to maintain a shape during activation. The activated carbons were prepared by carbonizing the raw fiber rods at temperatures 500 C called charcoal. The carbon and others content were estimated using Energy Dispersive Spectrometer (EDS). The morphology of the surface characterized by Scanning Electron Micrscopy (SEM). The surface area and pore size distribution were examined by nitrogen adsorption method at 77 K (Surface analyzer). The charcoal was activated using supersteam as a gasifying agent at different temperatures, e.g. 750, 800, 850 and 900 C for 2 hours. From the results, we found that the activated carbon at 850 C for 2 hours showed higher surface area than the others. The highest surface area of 441.36 m/9. The adsorption of color of sugar from aqueous solution on SB activated carbon was performed. The adsorption process parameter concentration, activated carbon and time were optimized. The optimum performance obtained that the best activated carbon for adsorbing the color of sugar from aqueous solution was the activated carbon at 850 C for 2 hours.
ชื่อแหล่งทุน: T2560004 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 อ้อยและน้ำตาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การลดต้นทุนการพัฒนาถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2560
การพัฒนาวัตถุดิบการผลิตอิฐมวลเบาด้วยเถ้าชานอ้อยและชานอ้อย การเตรียม การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อเป็นตัวดูดซับโลหะหนักจากสารละลายน้ำ การพัฒนาการใช้ไหมอีรี่เป็นอาหารกุ้งก้ามกราม การพัฒนากระบวนการทำแห้งชาเขียว และสมุนไพร ขมิ้นชัน ด้วยเทคโนโลยีไมโครเวฟ ผลของกระดาษกาบกล้วยผสมถ่านกัมมันต์และไททาเนียมไดออกไซด์ต่ออายุการเก็บรักษากล้วยหอมทอง การพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ:ทีมนเรศวร การพัฒนาสูตรการแปรรูปหมูยอจากดักแด้ไหม การวิจัยและพัฒนาถ่านกัมมันต์ที่ได้จากเหง้ามันสำปะหลัง สำหรับการดูดซับสารปนเปื้อนในสถานะสารละลายและแก๊ส การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก