สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเลเพื่อการฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราช
ไพเราะ กนกลัคนา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเลเพื่อการฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Marine Fisheries Resources Status for Nakhon Si Thammarat Bay Rehabilitation
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไพเราะ กนกลัคนา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำและลำคลองหลายสายไหลลง ทำให้อ่าวนครศรีฯ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้อ่าวนครเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่สำคัญ มีการใช้ประโยชน์ทั้งพื้นที่ในอ่าวและบริเวณชายฝั่งหลายกิจกรรม เช่น การเพาะเลี้ยง การประมง เป็นต้น ความสำคัญทางด้านการประมงแหล่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่อ่าวนครศรีฯ ได้ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุเกิดจากการขยายตัวของการเลี้ยงกุ้งทะเล การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ชายเลน การเพิ่มขึ้นของเครื่องมือประมง มีการใช้เครื่องมือประมงบางประเภทที่ไม่เหมาะสม และมีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ส่งผลให้รายได้ของชาวประมงลดลง ไม่เพียงพอที่จะจุนเจือครอบครัว มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนประมงท้องถิ่นรอบอ่าว และพื้นที่ใกล้เคียงที่มีอาชีพหลักจากการทำประมง เกิดปัญหาสังคมตามมาดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงและฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้สามารถใช้ได้อย่างยั่งยืน โดยชุดโครงการศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเลเพื่อการฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราช ดำเนินการวิจัยระหว่างปีงบประมาณ 2550-2551 ซึ่งภายใต้ชุดโครงการฯ มีโครงการย่อย จำนวน 9 เรื่อง ครอบคลุมคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช โดยคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีฯ มีค่าความลึกน้ำไม่เกิน 3 เมตร ค่าความโปร่งแสง 0.01-0.76 เมตร ค่าอุณหภูมิ 25.90-33.24 องศาเซลเซียส ค่าความเค็ม 1.27-31.00 ส่วนต่อพันส่วน แลค่าสารแขวนลอยทั้งหมด 20.0-836.6 มิลลิกรัม/ลิตร การแพร่กระจายของปลาและกุ้งวัยอ่อนบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช พบปลาวัยอ่อนรวม 33 วงศ์ ประกอบด้วยวงศ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 15 วงศ์และวงศ์ที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 18 วงศ์ ปลาวัยอ่อนที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ Gobiidae รองลงมา ได้แก่ วงศ์ Clupeidae Engraulidae Ambassidae และ Blenniidae ปลาวัยอ่อนมีการแพร่กระจายหนาแน่น 2 ช่วง ช่วงแรกเดือนมกราคม ถึงมีนาคม และช่วงที่สองเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมหรับกุ้งวัยอ่อนประกอบด้วยกุ้งสกุล Penaeus Metapenaeus และกุ้งอื่นๆ โดยกุ้งวัยอ่อนสกุล Penaeus มีปริมาณมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนและพบมากที่สุดบริเวณตอนกลางของอ่าวนครศรีธรรมราช ในขณะที่กุ้งวัยอ่อนสกุล Metapenaeus มีปริมาณมากที่สุดในเดือนมกราคมและพบมากที่สุดบริเวณตะวันออกของปากอ่าวนครศรีธรรมราช บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช มีการใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านหลักๆ คือ อวนรุน อวนลอยปลากระบอก อวนลอยกุ้งสามชั้น โพงพาง อวนจมปลากด และยอปีก และจากการศึกษาความชุกชุมของสัตว์น้ำจากเครื่องมืออวนรุนพบสัตว์น้ำทั้งหมด 150 ชนิด ประกอบด้วย ปลา 116 ชนิด ปู 8 ชนิด กุ้ง 13 ชนิด กั้ง 5 ชนิด ปลาหมึก 2 ชนิด หอย 5 ชนิด และสัตว์น้ำอื่นๆ 1 ชนิด การศึกษาชีววิทยาของสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และจับได้มากในบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช เช่น ปลาเขือแดง ปูทะเล และปลากระบอกดำ ซึ่งผลการศึกษาทำให้ทราบว่าสัตว์น้ำแต่ละชนิดมีขนาดความยาวแรกสืบพันธุ์เท่าไหร่ มีการวางไข่ในช่วงไหน ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการวางแผนการจัดการและฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราชต่อไป
บทคัดย่อ (EN): --
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาวะทรัพยากรประมงทะเลเพื่อการฟื้นฟูอ่าวนครศรีธรรมราช
กรมประมง
31 ธันวาคม 2551
กรมประมง
การประมงทะเลพื้นบ้านบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช คุณภาพน้ำบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน ระบบนิเวศทรัพยากรประมงและการจัดการทรัพยากรประมงในทุ่งสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชีววิทยาบางประการของปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskal, 1755) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช การประมงปลาเขือแดง (Trypauchen vagina) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ศึกษาสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำและคุณภาพแหล่งประมง เพื่อกำหนดเขตการประมง (Zoning) บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลา การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย ทรัพยากรและสภาวะการประมงในอ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก จังหวัดยโสธร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก