สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมในแมวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์
กรไชย กรแก้วรัตน์, ธีระพล ศิรินฤมิตร, เกษกนก ศิรินฤมิตร (กมลพัฒนะ), จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ (พึ่งเจริญสกุล), สุวิมล พันธุ์ดี - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมในแมวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์
ชื่อเรื่อง (EN): The study of genetic structure and diversity in Thai native cat breeds compared to foreign cat breeds for forensic application
บทคัดย่อ: ประเทศไทยเป็นแหล่งของแมวโบราณหลากหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักกันดีคือแมวไทยพันธุ์วิเชียรมาศ ปัจจุบันนี้แมวไทยพันธุ์แท้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่หายากในประเทศไทย ความนิยมจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เลี้ยงกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้การที่แมวไทยเหล่านี้เกิดการผสมข้ามกับแมวพันทางทั่วไปทำให้เป็นปัญหาหลักอันหนึ่งในการคงอยู่ของแมวไทยสายพันธุ์แท้ในอนาคต เพื่อศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมวไทยพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้จึงมีการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอไมโครแซทเทิลไลท์จำนวน 20 ตำแหน่ง เพื่อตรวจสอบแมวไทยพันธุ์พื้นเมือง 2 สายพันธุ์คือ วิเชียรมาศและศุภลักษณ์ และแมวพันธุ์ต่างประเทศหนึ่งสายพันธุ์คือ เปอร์เซีย จากการศึกษาพบเครื่องหมายดีเอ็นเอ 5 ตำแหน่ง (FCA0733, FCA739, FCA045, FCA310, FCA223) ที่มีอัลลีลเฉพาะ (private alleles) ในแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และ 4 ตำแหน่ง (FCA008, FCA441, FCA586, FCA201) ในพันธุ์ศุภลักษณ์ จากเครื่องหมายดีเอ็นเอจำนวน 20 ตำแหน่งพบว่ามี 6 ตำแหน่ง ที่มีอัลลีลที่พบเฉพาะในแมวไทยและเป็นอัลลีลที่มีความถี่ > 20%; FCA739 (257 bp), FCA008 (170 bp), FCA096 (253 bp), FCA124 (154 bp), FCA220 (234 bp), FCA229 (196 bp) ความหลากหลายของเครื่องหมายดีเอ็นเอและรูปแบบของดีเอ็นเอที่ได้จากแมวทุกตัวพบว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะและสามารถเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่ามีการลดลงของ heterozygote ในแมวทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเกิดเลือดชิดที่สูงขึ้น คือ 0.53, 0.50 และ 0.55 ในวิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ และเปอร์เซียตามลำดับ จากการวิเคราะห์โครงสร้างประชากรโดยใช้ Bayesian model-based clustering algorithm สามารถจัดกลุ่มสายพันธุ์แมวได้ถูกต้อง 89 ตัวจากจำนวนทั้งหมด 90 ตัว ซึ่งผลดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างของแมวไทยพันธุ์วิเชียรมาศและศุภลักษณ์ประเทศไทยเป็นแหล่งของแมวโบราณหลากหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักกันดีคือแมวไทยพันธุ์วิเชียรมาศ ปัจจุบันนี้แมวไทยพันธุ์แท้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่หายากในประเทศไทย ความนิยมจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เลี้ยงกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้การที่แมวไทยเหล่านี้เกิดการผสมข้ามกับแมวพันทางทั่วไปทำให้เป็นปัญหาหลักอันหนึ่งในการคงอยู่ของแมวไทยสายพันธุ์แท้ในอนาคต เพื่อศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมวไทยพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้จึงมีการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอไมโครแซทเทิลไลท์จำนวน 20 ตำแหน่ง เพื่อตรวจสอบแมวไทยพันธุ์พื้นเมือง 2 สายพันธุ์คือ วิเชียรมาศและศุภลักษณ์ และแมวพันธุ์ต่างประเทศหนึ่งสายพันธุ์คือ เปอร์เซีย จากการศึกษาพบเครื่องหมายดีเอ็นเอ 5 ตำแหน่ง (FCA0733, FCA739, FCA045, FCA310, FCA223) ที่มีอัลลีลเฉพาะ (private alleles) ในแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และ 4 ตำแหน่ง (FCA008, FCA441, FCA586, FCA201) ในพันธุ์ศุภลักษณ์ จากเครื่องหมายดีเอ็นเอจำนวน 20 ตำแหน่งพบว่ามี 6 ตำแหน่ง ที่มีอัลลีลที่พบเฉพาะในแมวไทยและเป็นอัลลีลที่มีความถี่ > 20%; FCA739 (257 bp), FCA008 (170 bp), FCA096 (253 bp), FCA124 (154 bp), FCA220 (234 bp), FCA229 (196 bp) ความหลากหลายของเครื่องหมายดีเอ็นเอและรูปแบบของดีเอ็นเอที่ได้จากแมวทุกตัวพบว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะและสามารถเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่ามีการลดลงของ heterozygote ในแมวทั้ง 3 สายพันธุ์ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเกิดเลือดชิดที่สูงขึ้น คือ 0.53, 0.50 และ 0.55 ในวิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ และเปอร์เซียตามลำดับ จากการวิเคราะห์โครงสร้างประชากรโดยใช้ Bayesian model-based clustering algorithm สามารถจัดกลุ่มสายพันธุ์แมวได้ถูกต้อง 89 ตัวจากจำนวนทั้งหมด 90 ตัว ซึ่งผลดังกล่าวนี้เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างของแมวไทยพันธุ์วิเชียรมาศและศุภลักษณ์
บทคัดย่อ (EN): Thailand is the home of many ancient cat breeds. The most well-known breed is Siamese cat. Nowadays, Thai purebred cat is one of the rare breed in Thailand. The popularity is limit to some group of people. Moreover, crossbreeding with free-ranging domestic cats is one of the main threats for their survival in the future. To identify the genetic structure and diversity of Thai native cat, 20 microsatellite markers were used to investigate 2 Thai native cats; Siamese cat and Tongdaeng cat and one foreign breed; Persian cat. The study found 5 markers (FCA0733, FCA739, FCA045, FCA310, FCA223) that had private alleles in Siamese cat and 4 markers (FCA008, FCA441, FCA586, FCA201) in Tongdaeng cat. Out of 20 markers, 6 markers had specific alleles that found only in Thai cat breeds and had frequency > 20%; FCA739 (257 bp), FCA008 (170 bp), FCA096 (253 bp), FCA124 (154 bp), FCA220 (234 bp) and FCA229 (196 bp). The informative of markers and pattern of DNA from every cat were unique and reveal the model of DNA fingerprints that can utilize for forensic application. Identification of genetic diversity revealed deficit of heterozygote in 3 cat breeds that related to the increasing of inbreeding coefficient. The value was 0.53, 0.50 and 0.55 in Siamese, Tongdaeng and Persian cats, respectively. Population structure performed using a Bayesian model-based clustering algorithm was correctly assigned 89 out of 90 cats to their breeds. This result indicated the evidence of distinctive breed in Siamese and Tongdaeng cats.Thailand is the home of many ancient cat breeds. The most well-known breed is Siamese cat. Nowadays, Thai purebred cat is one of the rare breed in Thailand. The popularity is limit to some group of people. Moreover, crossbreeding with free-ranging domestic cats is one of the main threats for their survival in the future. To identify the genetic structure and diversity of Thai native cat, 20 microsatellite markers were used to investigate 2 Thai native cats; Siamese cat and Tongdaeng cat and one foreign breed; Persian cat. The study found 5 markers (FCA0733, FCA739, FCA045, FCA310, FCA223) that had private alleles in Siamese cat and 4 markers (FCA008, FCA441, FCA586, FCA201) in Tongdaeng cat. Out of 20 markers, 6 markers had specific alleles that found only in Thai cat breeds and had frequency > 20%; FCA739 (257 bp), FCA008 (170 bp), FCA096 (253 bp), FCA124 (154 bp), FCA220 (234 bp) and FCA229 (196 bp). The informative of markers and pattern of DNA from every cat were unique and reveal the model of DNA fingerprints that can utilize for forensic application. Identification of genetic diversity revealed deficit of heterozygote in 3 cat breeds that related to the increasing of inbreeding coefficient. The value was 0.53, 0.50 and 0.55 in Siamese, Tongdaeng and Persian cats, respectively. Population structure performed using a Bayesian model-based clustering algorithm was correctly assigned 89 out of 90 cats to their breeds. This result indicated the evidence of distinctive breed in Siamese and Tongdaeng cats.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมในแมวพันธุ์ไทยเปรียบเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ใบพายเขาใหญ่และความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการพัฒนาพันธุ์ การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ของใบพายอัลบิด้า ในประเทศไทยด้วยเทคนิคเอเอฟแอลพี การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ของใบพายอัลบิด้าในประเทศไทยด้วยเทคนิคเอแอฟแอลพี การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในอ้อยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์หน้าวัวโดยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินศักยภาพของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดน่านเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นสบู่ดำในประเทศไทยโดยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก