สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพอุตสาหกรรมและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ
มณิสร อนันต๊ะ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพอุตสาหกรรมและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of Rubber Export in the Northern of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มณิสร อนันต๊ะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง ศักยภาพอุตสาหกรรมและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทางธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในระดับภูมิภาคต่อไป ซึ่งทำการศึกษาโดยการเก็บแบบสอบถามตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 129 ราย ร้านค้ายาง 4 ราย และโรงงานแปรรูป 2 ราย ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพของการส่งออกทางภาคเหนือมากที่สุด คือ ด้านโอกาส (x ̅=4.6540) รองลงมาคือ ด้านอุปสงค์ (x ̅=4.0963) บทบาทของภาครัฐ(x ̅=3.7704) ด้านปัจจัยการผลิต (x ̅=3.6951) ด้านอุตสาหกรรมที่สนับสนุนและเกี่ยวข้อง(x ̅=3.5630) และด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขัน (x ̅=3.4696) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยด้านการผลิต คือ ภาคเหนือมีความพร้อมทางการคมนาคมขนส่ง (x ̅= 4.4741) ทรัพยากรทุน ที่ดิน (x ̅=4.2222) แรงงาน (x ̅=4.0815)และระบบสาธารณูปโภค (x ̅=3.7926) การผลิตยางได้คุณภาพ (x ̅=3.1481) แต่แหล่งความรู้ด้านอุตสาหกรรมยางพารายังมีน้อย (x ̅=2.4519) ปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศมีมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น (x ̅=4.6741) สืบเนื่องมาจากอุปสงค์ของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัว (x ̅=4.6519) อีกทั้งหาสินค้าอื่นทดแทนได้ยาก (x ̅=4.5481) ภาพลักษณ์ของผลผลิตยางในภาคเหนือมีคุณภาพดี (x ̅=4.2296) รวมถึงตลาดมีความต้องการหลากหลาย (x ̅=3.7926) ตลอดจนกระแสการผลิตสินค้า Green Products ส่งผลให้ตลาดกว้างมากขึ้น (x ̅=2.6815) ด้านที่ 3 ปัจจัยด้านกลยุทธ์ การแข่งขันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมีน้อย (x ̅=4.6148) แรงงานสัมพันธ์ดี (x ̅=4.4741) ช่องทางธุรกิจหลากหลาย (x ̅=3.9481) ระบบควบคุมการผลิตมีความเหมาะสม (x ̅=2.6148) แต่ปัญหาสำคัญคือขาดการปรับปรุงและพัฒนาการผลิต (x ̅=1.6963) ด้านที่ 4 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรมที่สนับสนุนและเกี่ยวข้อง ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน (x ̅=4.5037) แหล่งวัตถุดิบมีจำนวนมาก (x ̅=4.4296) สามารถควบคุมการเข้ามาทำธุรกิจของต่างชาติได้ (x ̅=4.2741) ความร่วมมือ(cluster)ในพื้นที่เป็นไปด้วยดี (x ̅=3.7481) แต่มีโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องรองรับในพื้นที่ไม่มาก (x ̅=2.3852) รวมถึงขาดบริการด้านโลจิสติกส์อย่างครบวงจรในท้องถิ่น (x ̅=2.0370) ด้านที่ 5 บทบาทของภาครัฐ นโยบายและกฎระเบียบมีความชัดเจน (x ̅=4.5926) มีการกระจายอำนาจ (x ̅=4.5778) เกษตรกรให้ความเชื่อถือ (x ̅=3.9481) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา (x ̅=3.7481) แต่ยังขาดการดำเนินนโยบายอย่างบูรณาการ (x ̅=1.9852) ด้านที่ 6 โอกาส มีปัจจัยบวกจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น (x ̅=4.8815) ส่งผลให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น การปลูกยางจึงเพิ่มมากขึ้น (x ̅=4.8370) นอกจากนี้สภาพเศรษฐกิจที่ดี (x ̅=4.7407) ประกอบกับความร่วมมือระหว่างประเทศทำให้การส่งออกยางขยายตัว (x ̅=4.7037) การพัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างต่อเนื่อง(x ̅=4.6148) พร้อมทั้งนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าทำให้ภาคเหนือได้รับความสนใจมากขึ้น (x ̅=4.5259) เพราะมีค่าจ้างแรงงานต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ (x ̅=4.2741) อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องส่งเสริมความรู้ความเข้าใจรักษาคุณภาพของผลผลิตให้แก่เกษตรกร ขยายตลาดท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับตลาดกลาง ใช้โอกาสจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศผลักดันให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน รวมทั้งส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยด้านยางพาราให้ได้ประสิทธิภาพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพอุตสาหกรรมและการส่งออกยางพาราในภาคเหนือ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการตลาดอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเพิ่มสมรรถนะเพื่อพัฒนาศักยภาพการส่งออกของอุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : ศึกษากรณีจังหวัดศรีสะเกษ สำรวจรวบรวมผักพื้นเมืองทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยเชิงนโยบายการจัดทำคาร์บอนเครดิต และการประเมินความต้องการการใช้น้ำจากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่ การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก