สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล
คณธิศ มุ่งจองกลางกุล, สัจจา บรรจงศิริ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, บุณฑริกา นันทา, คณธิศ มุ่งจองกลางกุล, สัจจา บรรจงศิริ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, บุณฑริกา นันทา - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล
ชื่อเรื่อง (EN): Community Rice Center Network Development in Mule River Basin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสถานการณ์ศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล 2)พัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล 3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงกับศูนย์ข้าวชุมชนที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำมูลจาก 9 จังหวัดจำนวน 28 ศูนย์ข้าวชุมชนแต่ละศูนย์ข้าวชุมชน คัดเลือกตัวแทนผู้นำและสมาชิกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินองค์ประกอบตัวชี้วัดความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชน และประเด็นการสัมมนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การเปรียบเทียบ การศึกษาความเป็นเหตุและผล การอธิบายให้ความหมาย การจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนที่ศึกษา จัดตั้งมาแล้วเฉลี่ยประมาณ 8 ปี โดยได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และ อบต. สภาพพื้นที่เป็นทั้งพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ดอน การผลิตเมล็ดพันธุ์มีการปลูกและคัดเลือกพันธุ์ปน ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 การกระจายพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่กระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรในชุมชน และในพื้นที่ใกล้เคียง ด้านการบริหารกลุ่มมีการตั้งกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการ มีแปลงเรียนรู้ตามระบบแปลงโรงเรียนเกษตรกร ด้านการบริหารกองทุนมีกฏระเบียบในการบริหารกองทุน และมีการปันผลให้กับสมาชิก สภาพปัญหาการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความรุนแรงในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารกลุ่มในเรื่องของภาวะความเป็นผู้นำ การวางแผนและกิจกรรมกลุ่ม การติดตามและประเมินผลกลุ่ม กฏระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม และการประชุมกลุ่ม ปัญหาที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านความรู้ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ ด้านการตลาดและการกระจายพันธุ์ ด้านการจัดการทุน 2) การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล ประกอบด้วย (1)การพัฒนาขั้นตอนการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล มี 6 ขั้นตอนได้แก่ การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน การจัดทำตัวชี้วัดความเข้มแข็งของเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน การวางยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การติดตามผลความก้าวหน้าการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน และการประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน (2) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน ผลที่เกิดจากการพัฒนาในแต่ละขั้นตอน พบว่า เป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูลมี 4 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนากระบวนการบริหารเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนากิจกรรมของเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยง การพัฒนาการเชื่อมโยงศูนย์ข้าวชุมชนกับองค์กรต่างๆ และการพัฒนาการสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชนจากภาครัฐ ตัวชี้วัดความเข้มแข็งเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล มี 4 ประเด็นตัวชี้วัด คือ 1) กระบวนการบริหารเครือข่าย 2) กิจกรรมของเครือข่าย 3) การเป็นเครือข่าย/การประสานงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ และ4) การสนับสนุนจากภาครัฐ การกำหนดแนวยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเครือข่าย ประกอบด้วย แนวยุทธศาสตร์ด้านการขยายเครือข่าย ด้านการตลาด และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนแผนการพัฒนาเครือข่ายเป็นแผนของแต่ละศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานและการประชุมวางแผนเครือข่ายในระดับจังหวัดและในระดับลุ่มน้ำมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการศึกษาดูงาน 2 จุดคือ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรรมแบบพอเพียงจังหวัดยโสธร และศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดสุรินทร์ การติดตามผลการดำเนินงาน มีการติดตามผลหลังจากมีแผนแล้ว 1 ครั้ง การประเมินผลการพัฒนาเครือข่าย พบว่า ศูนย์ข้าวชุมชนได้มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดได้ค่อนข้างเกือบครบทุกประเด็นของตัวชี้วัด แต่มีบางประเด็นที่สมาชิกเกือบครึ่งยังไม่มีการดำเนินการ ได้แก่ ด้านกิจกรรมการตลาดของเครือข่ายเรื่องตราสัญลักษณ์ ถุงบรรจุมาตรฐานเดียวกัน การรับซื้อเมล็ดพันธุ์จากกลุ่มเครือข่ายเพื่อมาจำหน่าย และการตรวจสอบย้อนกลับโดยเครือข่าย กิจกรรมการแลกเปลี่ยนและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวเรื่องการอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวระหว่างกลุ่ม ด้านการเป็นเครือข่าย/การประสานงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆได้แก่ สำนักงานพานิชจังหวัด ร้านค้า และโรงสี (3) แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน มี 4 ประการ คือ 1) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน 2) แนวทางการสร้างเครือข่ายการตลาดและการกระจายพันธุ์ 3) การกำหนดประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์ข้าวชุมชน และ 4) แนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครือข่าย มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ วิสัยทัศน์และการนำองค์กร การวางแผนยุทธศาสตร์กระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพผลผลิต การจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดการระเบียบข้อบังคับและการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ข้าวชุมชน ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย การยอมรับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของชาวนากลุ่มเป้าหมาย เทคโนโลยีที่ทันสมัยของเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตพันธุ์ข้าว ราคาพันธุ์ข้าวและคู่แข่งขัน นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ การค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซี่ยน การแข่งขันของประเทศคู่แข่ง และการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง คำสำคัญ : เครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน ลุ่มน้ำมูล
บทคัดย่อ (EN): This was a participatory action research with the objectives of 1) studying the situation of community rice centers in the Mool River Basin; 2) developing a network of community rice centers in the Mool River Basin; and 3) studying factors that affected the development of that network. The sample population was the 28 community rice centers in the 9 provinces of the study area, and from each rice center, representatives of leaders and members were selected through purposive sampling. The tools used to collect data were structured interview forms, topics at participatory action seminars and evaluation forms to measure indicators of the strength of the community rice centers. Descriptive statistics (percentage, mean and standard deviation) were used to analyze quantitative data and the methods of comparison, causality analysis, interpretation and categorization were used to analyze qualitative data. The results showed that: 1. The community rice centers studied had been in operation for a mean of 8 years. They received assistance in the form of factors of production from the Department of Agricultural Extension, the Rice Department and their local Tambol Administrative Organizations. Geographically, some were located in valleys and some on plateaus. For rice seed production, they planted rice and weeded out rogues. Most of the centers produced the Kao Dok Mali 105 variety. They mostly distributed the seed to farmers in the community and nearby areas. As for management, the rice centers were run by committees composed of a chairman, vice chairman, members, treasurer and secretary. They had demonstration fields following the farmer school model. They had rules for managing the centers’ funds and they paid dividends to members. As for the problems faced by the community rice centers, the most severe problems were management problems involving leadership, planning, group activities, evaluation, rules, and meetings. Less severe problems were problems with knowledge, seed production, marketing, distribution and fund management. 2. The development of a network of community rice centers in the Mool River Basin consisted of 1) Setting the steps- 6 steps were decided on: goal setting, setting indicators to measure the strength of the network, setting development strategies and plans, exchange of knowledge, following up on progress with the network development, and evaluation. 2) Analysis of the results of the process of developing the network of community rice centers- the results of each step were as follows: Goals of the network—4 goals were identified: to make the management of rice centers more efficient, to develop activities that would connect the rice centers in the network, to develop connections between the network and outside organizations, and to develop more support from government agencies. Indicators of the strength of the network—4 indicators were identified: (1) the network management process; (2) network activities; (3) status of the network’s operations/coordination with other groups and organizations; and (4) government support. Strategies and plans to develop the network—strategies consisted of strategies to expand the network, marketing strategies and knowledge exchange strategies. The plans were the individual plans of each community rice center in the network, most of which involved training, study tours, knowledge exchange, and provincial-level and whole network-level meetings to set plans for the network. Knowledge exchange—2 study trips were organized to visit the Yasothon Province Sufficiency Agriculture Learning Center and the Surin Community Rice Center. Follow-up—one follow-up check was made after the plan had been set. Evaluation—The community rice centers had taken action on almost all the indicators, but there were some marketing, rice exchange and coordination activities that nearly half of the member rice centers had not yet taken action on, namely: using the network logo, using the same standard of packaging, buying rice seed from within the network for re-sale, traceability checks, exchange of land race rice breeds, conservation of local land races and germplasm collection by the network, and coordination with provincial commerce offices, stores and rice mills. 3) Ways to strengthen the network- 4 areas were identified: (1) ways to develop the network; (2) ways to build up a market and seed distribution network; (3) setting of topics for knowledge exchange to increase the community rice centers’ capabilities; and (4) ways of knowledge exchange to develop the network. 3. There were internal and external factors that affected development of the network of community rice centers. Internal factors consisted of the organization’s vision and leadership, strategic planning of the production process and quality control, acquisition of funding, management of the rules of community rice centers and personnel development at the rice centers. External factors consisted of target farmers’ acceptance of the quality of the rice seed, technological level of the equipment and machinery used to produce the rice seed, price of the rice seed, market competition, government policies and support, free trade in the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), competing rice seed-producing countries, and linkage of the network of community rice centers with related organizations. Keywords: community rice center, network, Mool River Basin
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
30 กันยายน 2553
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและสถานีทดลองเครือข่าย โครงการพัฒนากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนห้วยยางศรีวิไล อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กระบวนการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีเครือข่ายนางพิมพ์ โถตันคำ การศึกษารูปแบบการพัฒนาทายาทเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ขององค์กรชุมชนและเครือข่ายเพื่อการวางแผนพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) การจัดการความรู้ด้านการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก