สืบค้นงานวิจัย
อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สุวัฒน์ รวยอารีย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ชื่อเรื่อง (EN): Arthropod Community in Rice Ecosystem of BPH Susceptible and Resistant Varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวัฒน์ รวยอารีย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suwat Ruay-aree
คำสำคัญ: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
บทคัดย่อ: คุณลักษณะของพันธุ์พืชมีผลต่อโครงสร้างของสัตว์พวกอาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์ของพืชนั้น ได้ศึกษาโครงสร้าง ปริมาณ การผันแปร และความสัมพันธ์ ของอาร์โทรปอตกลุ่มต่าง ๆ ในนาข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (กข7 และ สพ60) และพันธุ์ต้านทาน (กข 23 และ สพ90) ทำการทดลองในนาราษฎร์ ที่ อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี ทั้งนาปรังและนาปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2538 โดยปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าวแบบนาหว่านน้ำตม ไม่ใช้สารฆ่าแมลงแนะใช้เครื่อง D-vac ดูดจับแมลงในแปลงทดลองทุกสัปดาห์ นำแมลงและอาร์โทรปอตอื่น ๆ ที่เก็บรวบรวมได้มาจำแนกชนิดและนับจำนวน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มของอาร์โทรปอตในนาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานมีสัดส่วนของโครงสร้างแบบเดียวกัน โดยพวกกินอินทรียวัตถุมีปริมาณมากที่สุด โดยมี 51-58% และเป็นแมลงในอันดับ Diptera มากที่สุด พบมากระยะการเจริญทาง ลำต้นของข้าว พวกกินพืชมี 17-21% เป็นแมลงพวกเพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยกระโดด โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix spp.) มีมากที่สุด (40-49%) พบมากระยะการเจริญทางลำต้นของข้าว พวกแมลงเบียนมี 14-16% เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera แทบทั้งหมด พบมากระยะการเจริญทางสืบพันธุ์ของข้าว พวกตัวห้ำ 11-12% เป็นพวกแมงมุมมากที่สุด (58-62%) พบมากระยะการเจริญทางสืบพันธุ์ของข้าว รองลงมาได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorthinus lividipennis) (31-37%) พบมากระยะการเจริญทางลำต้นของข้าว พันธุ์ข้าวมีผลต่อสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) ในนาข้าว นาข้าวพันธุ์อ่อนแอพบเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลมีปริมาณ 19% ส่วนพันธุ์ข้าวต้านทานมี 11-13% ของเพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยกระโดดทั้งหมด นาข้าวพันธุ์อ่อนแอ พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีปริมาณมากกว่าข้าวพันธุ์ต้านทาน 1.6-2.4 เท่า และพบว่าตัวห้ำมวนเขียวดูดไข่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณเพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยกระโดดในนาข้าว นอกจากนี้พบว่าตัวห้ำและแมลงเบียนในนาข้าวไม่มีลักษณะของการแก่งแย่ง แต่มีแน้วโน้มว่ามีบทบาทเสรีร่วมกันในการควบคุมแมลงศัตรูข้าว
บทคัดย่อ (EN): Plant characteristics affect on the arthropod community structure in the plant ecosystems. The arthropod communities associated with the BPH susceptible (RD 7 and SPR 60) and resistant (RD 23 and SPR 90) rice varieties were investigated on the structure, seasonal occurrence and the relationship of the arthropod guilds. This study was conducted in the farmer's field at Amphoe Lam Luk Ka, Changwas Pathum Thani during 1993-1995, both dry seasons and wet seasons with broadcasting rice. None of insecticide was used, and arthropods were collected weekly by D-vac machine. All arthropod samples were identified and counted the numbers under binocular microscopes. The data were then analyzed. The results showed that the proportion of arthropod community structure was the same in both ecosystems. Scavengers were dominant guild of 51-58%. Diptera, the most common found scavengers, were abundant in vegetative growth of rice. The second was phytophages (17-21%). They were mostly leafhoppers and planthoppers of which th green leafhoppers, Nephotettix spp. (Honoptera, cicadellidae) was the mos tabundant (40-49%) in vegetative growth. The third were hymenoperous parasitoids. their composition to the total arthropods was 14-16% and was found mainly in the reproductive growth of rice. The last group were predators (11-12%) of which spiders possess 58-62% of their proportion and were found abundant in the reproductive growth while Cytorhinus lividipennis (Hemiptera, Miridae) represented only 31-37% and found mainly on vegetative growth. The rice varieties affected on the proportion of BPH population, 19% of the BPH was found on susceptible while 11-13% of the BPH on resistant varieties. The BPH number on susceptible varieties was 1.6-2.4 times higher than resistant varieties. Obviously, Cyrtorhinus lividipennis played the role in biological control of leafhoppers and planthoppers. The competition among the natural enemies did not appear, but their population showed tendency of facilitation in biological control of the insect pests.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
กรมวิชาการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การบริหารระบบนิเวศน์ในนาข้าวเพื่อลดความสูญเสียจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืน ความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงแนะนำของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การศึกษากลไกความต้านทานของข้าวสายพันธุ์ดีต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การสร้างระบบนิเวศน์ของนาข้าวให้มีความสมดุลอย่างยั่งยืน เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การติดตามความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กข49: ข้าวนาชลประทานผลผลิตสูง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สถานการณ์ความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือของประเทศไทย สถานการณ์ความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของประชากร เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือของประเทศไทย การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย ความรุนแรงในการทำลายข้าวพันธุ์ต้านทานมาตรฐานและข้าวพันธุ์รับรองของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก