สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพทางการค้าและแนวทางการพัฒนาโซ่อุปทานการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรู)อบแห้งของไทย: กรณีศึกษาตลาดประเทศจีนและอินเดีย
สุเทพ นิ่มสาย - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพทางการค้าและแนวทางการพัฒนาโซ่อุปทานการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรู)อบแห้งของไทย: กรณีศึกษาตลาดประเทศจีนและอินเดีย
ชื่อเรื่อง (EN): Thai Rubber Wood Sawn Trade Preformance And Export Supply Chain Developmant: A Case Study of China And India Markets
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุเทพ นิ่มสาย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง "ศักยภาพทางการค้าและแนวทางการพัฒนาโซ่อุปทานการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา แปรรูปอบแห้งของไทย: กรณีศึกษาตลาดประเทศจีนและอินเดีย" มีวัตถุประสงค์หลักคือ การวิเคราะห์ศักยภาพทาง การค้และแนวทางการพัฒนโซ่อุปทานการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งของไทย: กรณีศึกษาตลาด ประเทศจีนและอินเดีย เพื่อหาแนวทางในการรักษาฐานตลาดเดิมและเพิ่มโอกาสไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มการค้าไม้ยางพารากับประเทศจีนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งใน ประเทศไทยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปของไทยต้องเผชิญกับปัญหาการหยุดซื้อจาก ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปแผ่นไม้อัดประสานจากของจีน เนื่องจากการบังคับใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมของจีน จาก การศึกษาและการสำรวจเบื้องตันของผู้วิจัยพบว่ไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งในตลาดจีน (ตลาดไม้จิ๋วเจียง มณทล กว่างตง ซึ่งเป็นตลาดที่มีการนำเข้าไม้แปรรูปคิดเป็นร้อยละ 80 ของประเทศจีนทั้งหมด) เป็นไม้ยางพาราแปรรูปที่ นำเข้าจากประเทศไทยเป็นหลัก และมีการนำเข้าไม้ยางพาราแปรรูปจากประเทศอื่นๆ อาทิ เวียดนามและ อินโดนีเซีย ในขณะเดียวกันตลาดในประเทศอินเดียนั้นมีการใช้ไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากมี พื้นที่ลูกยางพาราเยอะ ผู้ประกอบการไทยจึงไม่สมารถแข่งขันกับผู้ประกอบการอินเดียได้มากนัก เนื่องจากตันทุน การขนส่งที่สูง ในด้านกฎระเบียบและนโยบายนั้นนักวิจัยเล็งเห็นว่า พรบ.ป่ไม้ 2484 นั้น เป็นข้อจำกัดทำให้ ผู้ประกอบการไม่สามารถแปรรูปไม้บำาอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆและส่งออกได้ ทำให้ผู้ประกอบการนั้นต้องแข่งขันกันใน ตลาดไม้ยางพาราเพียงตลาดเดียว อีกทั้งข้อจำกัดจากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม (F5C) ที่ผู้บริโภคในตลาดประเทศอื่นๆ อาทิกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาต้องการ ที่ทำให้ประเทศไทยต้องแข่งขันกันในตลาดประเทศจีน เป็นหลักเพียงตลาดเดียว จากการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 78 มีประสบการณ์ส่งออกไม้ ยางพาราแปรรูปอบแห้งไปยังประเทศจีนอยู่แล้ว โดยมีศักยภาพเด่นคือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า การวางแผน การผลิต และการเติมต็มคำสั่งซื้อเป็นหลัก เนื่องจากผู้ประกอบการมีประสบการณ์การส่งออกประกอบกับตลาดจีน ที่มีการแช่งขันสูงอยู่แล้ว ผู้ประกอบการกลุ่มนี้จึงมีความสนใจส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไปยังตลาดประเทศอินเดีย เนื่องจากเห็นโอกาสในตลาด และต้องการหาตลาดใหม่ อุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งของไทยนั้นถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความท้าทายในหลายมิติ ผู้ เล่นในโซ่อุปทานไม้ยางพาราแปรรูปตั้งแต่ตันน้ำจนถึงปลายน้ำจึงจำเป็นต้อนมีการวางแผนและหาแนวทางในการ ปรับตัวเพื่อให้สามารถมารถอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้มากขึ้น โดยแนวทางการปรับตัวตังกล่าวควรเป็นการ บริการจัดการเชิงระบบที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิต การตลาด และการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
บทคัดย่อ (EN): The study of Thai Rubber Wood Sawn Trade Performance and Export Supply Chain Development: A Case Study of China and India Markets has main objective to analyze trade performance and supply chain development guidelines for Thai rubber wood sawn export which mainly focus on China and India market, in order to maintain the existing market and find the opportunity in new potential market The results show that rubber wood sawn trade between Thailand and China has an increasing trend regarding to the rising customer demand, which influenced the investment growth in Thai rubber wood sawn industry. However, the entrepreneurs now encounter with the decreasing demand from Chinese finger-joint board company where Environmental Protection Tax Policy is a must to be complied according to China government. From the preliminary survey, Jiujiang market (located in Guangdong province which accounts for around 80% of total China timber import) import most of rubber wood sawn mainly from Thailand and also import from other countries such as Viet Nam and Indonesia. India mostly uses domestic rubber wood as there are also plenty of resource. As a result, Thai entrepreneurs cannot compete with the Indians because they have to bare the higher transportation cost. From the regulation and policy point of view, the researcher found that Forest Act, B.E. 2484 is the one that restrict the exporter from processing many species of industry round wood and export it, which pushes them to compete only in rubber wood market. Moreover, Forest Stewardship Council that is required by many market such as European Union and some places in United States of America leaves Thai entrepreneurs only China market to be served. The analysis from survey shows that most of Thai rubber wood sawn entrepreneurs, approximately 70%, has experience in exporting rubber wood sawn to China and their strength performances are the ability to manage the relationship with customer, ability to plan the production, and the ability to fulfill the order. Since this group of entrepreneurs already in the export business where the market is full of competitors, they are interesting in exporting to India market because they see market opportunity and they need to find new market. Thai rubber wood sawn industry is multi-dimensional challenging. The players in rubber wood sawn supply chain – from upstream to downstream – must plan well and find the suitable adjustments so that the business can survive and be more competitive. The adjustments should 1-19 be systematic management which will helps improving the production, marketing and international trade.
ชื่อแหล่งทุน: T2560003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ยางพารา
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG60T0125
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG60T0125
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพทางการค้าและแนวทางการพัฒนาโซ่อุปทานการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรู)อบแห้งของไทย: กรณีศึกษาตลาดประเทศจีนและอินเดีย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2561
เอกสารแนบ 1
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์เพื่อการส่งออกไม้ยางพาราของประเทศไทย รูปแบบเครือข่ายตลาดและโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำส้มควันไม้จากไม้ยางพารา การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา การศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนายางพาราจังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก