สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำหลังการจับของเรืออวนลากคู่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน
รัตนาวลี พูลสวัสดิ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำหลังการจับของเรืออวนลากคู่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Fish Resource Caught by Pair Trawl in the Upper Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนาวลี พูลสวัสดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratanawalee Phoonsawat
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำหลังการจับของเรืออวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมืออวนลากคู่ ที่ทำประมงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2546-กรกฎาคม 2549 พบว่าเรืออวนลากคู่ทำการประมงเฉลี่ย 8.74 วัน/เที่ยว โดยมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 120.300 กก./ชม. หรือ 20,049.001 กก./เที่ยว เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 31.011 และปลาเป็ด 89.289 กก./ชม. คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 25.78 และ 74.22 ตามลำดับ สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้มากที่สุด คือ หมึกกล้วย (Photololigo spp.) 50.83 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้ รองลงมา คือ ปลาผิวน้ำ และปลาหน้าดิน มีอัตราการจับเกือบเท่ากัน คือ 20.99 และ 20.22 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ตามลำดับ สำหรับปลาเป็ดประกอบด้วยลูกสัตว์น้ำ เศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ เท่ากับ 81.23 และ 18.77 เปอร์เซ็นต์ของผลจับปลาเป็ดทั้งหมด ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่พบส่วนใหญ่เป็นปลากะตักสูงถึง 67.29 เปอร์เซ็นต์ ชาวประมงมีรายได้เฉลี่ย 205,965.41 บาท/เที่ยว โดยที่รายได้ หลักมาจากปลาหมึกสูงถึง 139,169.86 บาท/เที่ยว คิดเป็น 67.57 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ เป็นหมึกกล้วย 118,061.92 บาท/เที่ยว หรือ 57.32 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด รองลงมา คือ หมึกหอม 14,167.02 บาท/เที่ยว หรือ 6.93 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด ถ้ามีการเก็บรักษาสัตว์น้ำไม่ดีพอจะทำให้ สัตว์น้ำที่จับได้ขาดความสด ทำให้เกิดสูญเสียทางการเงินจากการเก็บรักษาหลังการจับเฉลี่ย 2,404.97 บาท/ เที่ยว ซึ่งถือเป็นความสูญเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากพิจารณาจากสัตว์น้ำ 4 ชนิด ที่ชาวประมงรับซื้อ ตามความสดเท่านั้น
บทคัดย่อ (EN): A study on utilization of fish caught by pair trawl in the Upper Gulf of Thailand, during November 2003 to July 2006, with the objective to analyze its return considering species composition taking in to account financial losses from post harvest. The result indicated that pair trawl was operated 8.74 days/trip and total average catch was 120.300 kg./hour or 20,049.001 kg/trip; consisting of economic fish 31.011 kg./hour and trash fish 89.289 kg./hour (25.78 percent and 74.22 percent, respectively). Major catch was Photololigo spp. around 50 percent of the total catch, follow with Pelagic fish and demersal fish each fauna was caught approximately 20 percent. For trash fish in this study classified as small size economic fish and true trash fish groups had average catch rate accounting for 81.23 percent and 18.27 percent, respectively. Total return are approximately 205,965.51 baht/trip, the main return was from Photololigo spp. approximately 57.32 percent (118,061.92 baht/trip). Post harvest technology are very importance, in case of the fishermen could not preserve their catches for freshness. This could contribute to the financial loss approximately 2,404.97 baht/trip.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยตอนบน (สมุทรปราการ)
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 52-0402-52011
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/92560.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: แหล่งทำการประมงบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่เกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี ถึง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: พฤศจิกายน 2546–กรกฎาคม 2549
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-25T08:44:56Z No. of bitstreams: 1 เล่มที่9-2560 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำหลังการจับของเรืออวนลากคู่ รัตนาวลี.pdf: 347536 bytes, checksum: eef51a6e153b3a8643042a5f02ba8efd (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำหลังการจับของเรืออวนลากคู่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การประเมินความสูญเสียทางการเงินในการนำลูกสัตว์น้ำมาใช้ก่อนระยะแรกเริ่มสืบพันธุ์จากการประมงอวนลากคู่ในอ่าวไทยตอนใน สัตว์น้ำพลอยจับได้จากการทำประมงอวนลากคู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจของการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนใน การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก