สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟตโดยผสมกับส่าเหล้า
ยุพิน สรวิสูตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟตโดยผสมกับส่าเหล้า
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing the A vailability of Rock Phosphate by Mixing with Slops
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพิน สรวิสูตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yupin Soravisutra
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผสมดินฟอสเฟตและส่าเหล้าจาก จ. เพชรบูรณ์ ในห้องปฏิบัติการอัตราต่าง ๆ กัน คือ 30:0, 27:3, 24:6, 21:9, 18:12, และ 15:15 บ่มไว้เป็นระยะเวลา 1,10 และ 20 วัน และผสมหินฟอสเฟตและส่าเหล้าจาก จ. ราชบุรี ในอัตรา 30:0, 24:6, 18:12 และ 12:18, บ่มไว้เป็นระยะเวลา 1,7,14,21 และ 28 วัน ผลการบ่มปรากฎว่า ปริมาณฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้ในของผสมจาก จ. เพชรบูรณ์จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณของส่าเหล้าที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเมื่อใช้เวลาในการบ่มนานขึ้นและมี pH หลังบ่มประมาณ 8.62 ในทำนองเดียวกันผลการบ่งของผสมจาก จ.ราชบุรี ปริมาณฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณของส่าเหล้าที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มได้สูงสุดในระยะ 2 สัปดาห์ ของการบ่มแล้วจะค่อย ๆ ลดลง ของผสมในอัตรา 12:18 เป็นอัตราที่มีปริมาณส่าเหล้ามากที่สุด มีปริมาณฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นและสูงสุดเมื่อบ่มของผสมไว้นาน 2 สัปดาห์ และมี pH หลังบ่มประมาณ 5.9 จากการ ทดลองปลูกข้าวโพดในกระถางในเรือนกระจก ในดินชุดปากช่องที่ใส่หินฟอสเฟตผสมส่าเหล้าจาก จ. ราชบุรี ในอัตรา 100 :0, 100:50, 100:100, 100:150 และ 100:200 เปรียบเทียบกับกระถางที่ใส่ซูเปอร์ฟอสเฟต ผลปรากฎว่าไม่ทำให้ความสูงและน้ำหนักแห่งของข้าวดพดแตกต่างกันทางสถิติแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามยิ่งปริมาณส่าเหล้าในของผสมยิ่งเพิ่มขึ้น ความสูง น้ำหนักแห้ง ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตซเซียมทั้งหมดที่ต้นข้าวโพดดูดขึ้นมามีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ การทดลองครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าส่าเหล้าเมื่อผสมกับฟินฟอสเฟตแล้วสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้ทันทีโดยไม่ต้องหมักไว้ล่วงหน้าในดิน 2 เดือนก่อนปลูก
บทคัดย่อ (EN): Two sets fo rock phosphate and slops from Phetchabun and Ratchaburi provinces were mixed at differnet ratios of 30:0, 27:3, 24:6, 21:9, 18:12, and 30:0, 24:6, 18:12 and 12:18 respectively. The first set of mixtures was incubated for 1,10 and 20 day periods, and the seconds set was incubated at 1,7,14,21, and 28 day periods. Available phosphate and pH were determined after incubation. Application of slops increased available phosphate after incubation. Higher amount of applied slops caused further increase in phosphate availability. The highest increase of available phosphate was found at the highest rate of applied slops at pH 8.6 for the first set and at pH 5.9 for the second set. A greenhouse experiment was conducted using the mintures made from different ratios of rock phosphate and slop from Ratchaburi Corn (Zea mays L.), as an indicator crop, was planted in Pakchong soil series in comparing with the effect of superphosphate on plant height and dry weight, the mixtures of rock phosphate and slops did not show significant difference. However increasing amount of slops tended to increase plant height, dry weight, and total uptake of nitrogen, phosphate, and potassium by corn plant. It was concluded that the rock phosphate and slops mixture shoul dbe applied at planting time.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2526
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟตโดยผสมกับส่าเหล้า
กรมวิชาการเกษตร
2526
เอกสารแนบ 1
การเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตโดยเผาที่อุณหภูมิต่ำ การใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตราต่างๆ ร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ย่อยละลายหินฟอสเฟต ต่อการเพิ่มผลผลิตหม่อน การใช้หินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะและผลผลิตของถั่วฮามาต้า ศึกษาหาชนิดจุลินทรีย์ดินอิสระที่สามารถย่อยสลายหินฟอสเฟตในสภาพดินปลูกยาง ในเขตภาคใต้ตอนบนให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อยาง การใช้น้ำส่าเหล้าเพื่อเป็นอาหารเสริมในสุกรขุน การศึกษาการใช้ส่าเหล้าร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตข้าว ในจังหวัดอุบลราชธานี การใช้กากมันสำปะหลังร่วมกับส่าเหล้าเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสุกร การใช้หินฟอสเฟตที่ทำปฏิกริยาแล้ว (โพลี่ฟอสเฟต) กับพืชไร่ที่ปลูกในดินกรดของประเทศไทย ประสิทธิภาพการย่อยสลายหินฟอสเฟตด้วยจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.9 ผลของการใช้กากส่าเหล้าในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อลูกผสมสามสายพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก