สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
พิสวาท ไชยวงษ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิสวาท ไชยวงษ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องสภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ สภาพการผลิต สภาพปัญหาและ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศในปี 2546/47 และปัจจุบันยังคงผลิตเบญจมาศ จำนวน 75 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลแบบพบกันโดยตรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนมากเคยได้รับการอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดอุดรธานี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) แหล่งความรู้ที่ได้รับส่วนใหญ่ได้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ปลูกเบญจมาศเฉลี่ย 0.86 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 57.33 มีที่ดินของตนเอง สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ไม่มีการตรวจสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์โพลาลิสและพันธุ์ไรวารี ปลูกทั้งประเภทดอกเดี่ยวและประเภทช่อ โดยใช้ระยะปลูก 15 X 15 เซนติเมตร ร้อยละ 86.67 ใช้แสงไฟในการควบคุมการออกดอก ไม่มีการปลูกเบญจมาศนอกฤดู แต่ต้องการปลูกนอกฤดูเพราะได้ราคาดี เกษตรกรทุกรายมีการให้น้ำโดยใช้สายยางฉีดพ่น ให้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ผลผลิตประเภทดอกเดี่ยว 9,649.29 ดอก/ไร่ ราคาจำหน่าย 1.17 บาท/ดอก ผลผลิตประเภทดอกช่อ 1,846.67 กิโลกรัม ราคาจำหน่าย 36 - 40 บาท/กิโลกรัม ทุกรายเก็บดอกเบญจมาศก่อนกลีบดอกชั้นในจะบาน โดยร้อยละ 68.00 ตัดเบญจมาศสูงจากพื้นดินมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่วนใหญ่ แช่น้ำทันทีหลังตัด มีการคัดขนาดก่อนจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่มารับและนำไปจำหน่ายเองบางส่วน ต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 21,077.47 บาท/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่คิดค่าต้นพันธุ์เพราะได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และไม่คิดค่าแรงงานของตนเอง ต้นทุนจึงต่ำ ปัญหาที่พบคือ ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงฤดูกาลผลิต ขาดการรวมกลุ่ม โรคแมลงศัตรูพืช ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขายตัดราคากันเอง โดยเกษตรกรเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม การควบคุมราคาปัจจัยการผลิต การอบรมให้ความรู้ด้านการปรับปรุงบำรุงดิน และการส่งเสริมผลิตเบญจมาศนอกฤดู โดยมีข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมและแนะนำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงดินก่อนปลูก หาแนวทางลดต้นทุนการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผลิต การจดบันทึกและจัดทำบัญชีฟาร์ม และส่งเสริมให้มีการปลูกเบญจมาศนอกฤดูเพื่อกระจายผลผลิต การจัดทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตให้ถูกวิธีและเป็นไปตามความต้องการของตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546 การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตคะน้าของเกษตรกรในตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกรตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก