สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Wild Balbisiana Production for Quality Product
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตใบตองกล้วยตานีเชิงพาณิชย์ที่ได้ประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพ และผลตอบแทนสูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยตานีในจังหวัดสุโขทัย ด้วยการการศึกษาการไว้หน่อที่เหมาะสม วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 3 ซ้า ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี คือ การไว้หน่อ ดังนี้ 1) ไว้หน่อจานวน 4 หน่อ 2) ไว้หน่อจานวน 5 หน่อ 3) ไว้หน่อจานวน 6 หน่อ 4) ไว้หน่อจานวน 7 หน่อ 5) ไว้หน่อจานวน 8 หน่อ ดาเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย อ.ศรีสาโรง จ.สุโขทัย ระยะเวลาดาเนินการ ปี 2555 –2558 ผลจากการศึกษาพบว่า ผลตอบแทน ที่ประเมินจากน้าหนักใบตองต่อพื้นที่ พบว่าการไว้หน่อจานวน 8 หน่อ ได้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงสุด 10,088 บาทต่อไร่ รองลงมา ได้แก่การไว้หน่อ 7 5 6 และ 4 หน่อ ได้ผลตอบแทน 9,268 9,140 8,221 และ 7,309 ใบ ตามลาดับ ค่า BCR ของการไว้หน่อแต่ละกรรมวิธี มากกว่า 2 หมายถึง ทุกกรรมวิธีที่ดาเนินการนั้นมีกาไร มีความเสี่ยงน้อย สามารถทาการผลิตได้ การศึกษาการจัดการปุ๋ยและการให้น้าที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยตานีในเชิงพาณิชย์ วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จานวน 3 ซ้า main plot เป็นการให้น้า 3 ระดับ คือ 1) ไม่ให้น้า 2) ให้มีปริมาณน้าในดิน 50 % ของ AWC 3) ให้มีปริมาณน้าในดิน 100 % ของ AWC sub plot คือ วิธีการใส่ปุ๋ย ดังนี้ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่มูลวัว อัตรา 5 กก./ต้น จานวน 2 ครั้ง 3) ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 70 กรัม/ต้น จานวน 2 ครั้ง 4) ใส่มูลวัว อัตรา 5 กก./ต้น/ครั้ง และ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 70 กรัม/ต้น/ครั้ง จานวน 2 ครั้ง กล้วยตานีที่ใส่มูลวัวอัตรา 1,065 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ และให้น้า 100% AWC ได้ผลผลิตใบตองสูงสุด 1,826 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้สูงสุด 9,131 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ที่มีการให้น้า 50% AWC ทาให้ได้รายได้สุทธิสูงที่สุด โดยมีรายได้สุทธิ 4,528 กิโลกรัมต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ การผลิตเอทธานอลจากวัสดุเหลือทิ้งจากกล้วย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก