สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการผลิตนุ่นของเกษตรกรในจังหวัดตาก
สุนิสา ประไพตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการผลิตนุ่นของเกษตรกรในจังหวัดตาก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนิสา ประไพตระกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกนุ่น การใช้เทคโนโลยีในการผลิตนุ่น ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการปลูกนุ่น เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกนุ่นในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง สามเงา และอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยการสุ่มตัวอย่าง 120 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกนุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.8 ปี จบการศึกษาชั้น ป. 4 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.4 คน เป็นสมาชิกที่ใช้แรงงานในการปลูกนุ่นเฉลี่ย 2.7 คน มีอาชีพหลักคือ ทำนา อาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์และทำไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่จ้างแรงงานในการผลิตนุ่น ปลูกนุ่นในที่ดินของตนเองทุกราย ปลูกนุ่นโดยเฉลี่ยรายละ 21.3 ต้น ส่วนใหญ่ไม่มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การใช้ทคโนโลยีการผลิตนุ่นของเกษตรกร ส่วนใหญ่ได้พันธุ์นุ่นจากเพื่อนบ้านเก็บพันธุ์ไว้เอง โดยไม่ทราบชื่อพันธุ์ ทรงต้นที่ปลูกมีทั้งทรงพุ่มและทรงฉัตร ปลูกด้วยต้นกล้าร้อยละ 97.5 โดยเพาะกล้าเองในคอกสัตว์เก่าและเพาะบริเวณบ้าน มีการถอนแยกต้นกล้าและกำจัดวัชพืชโดยเฉลี่ย 2.3 ครั้ง ร้อยละ 31.0 พบศัตรูนุ่นในระยะกล้า ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นหนอนเจาะลำต้น แต่ไม่มีการป้องกันกำจัด อายุกล้านุ่นที่นำไปปลูกเฉลี่ย 13.5 เดือน ในการปลูกนุ่นนั้นก่อนปลูกจะตัดยอดและราก ร้อยละ 31.7 ปลูกนุ่นเป็นไร่ส่วนที่เหลือปลูกบริเวณบ้านและหัวไร่ปลายนา ช่วงที่ปลูกเดือนกรกฎาคม - กันยายน ใช้ระยะปลูก 6x6 เกษตรกรเกือบครั่งปลูกพืชแซมมีการกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 1.8 ครั้ง/ปี ไม่มีการให้น้ำและใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยวโดยใช้ไม่สอยและเก็บพร้อมกันทั้งต้น ครั้งเดียวในเดือนเมษายน หลังจากเก็บแล้วจะคัดแยกฝักแห้งเก็บล้วจากฝักเขียว ขายผลผลิตเป็นนุ่นกะเทาะเปลือกให้กับพ่อค้าท้องถิ่นปัญหาสำคัญในการปลูกนุ่นได้แก่ ไม่มีพันธุ์ดีตามต้องการ ปลูกนุ่นเป็นไร่ต้นจะไม่ค่อยโต ขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ไม่มีเงินทุนที่จะใส่ปุ๋ย หนอนเจาะลำต้นทำลายมากแต่ขาดความรู้ในการป้องกันกำจัด และนุ่นราคาต่ำ เกษตรกรเสนอแนะให้คัดเลือกพันธุ์ต้นเตี้ยเก็บง่าย หรือทรงพุ่มที่ฝักดก และเห็นว่าการปลูกนุ่นบริเวณบ้านให้ผลดกกว่าการปลูกเป็นไร่ ให้ทางราชการสนับสนุนพันธุ์พืชแซม จำหน่ายปุ๋ยเคมีราคาถูก ให้ความรู้เรืองการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้น ควรรวมกลุ่มขายและมีการประกันราคานุ่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดตาก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการผลิตนุ่นของเกษตรกรในจังหวัดตาก
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ศึกษาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี การผลิตยางของเกษตรกร สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตป่านศรนารายณ์ของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก