สืบค้นงานวิจัย
การจำลองการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพนาชลประทาน
ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจำลองการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพนาชลประทาน
ชื่อเรื่อง (EN): Simulation of Growth and Yield of Upland Rice Grown under Irrigated Lowland Condition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sakda Jongkaewwattana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวไร่เป็นที่นิยมของกลุ่มคนรักสุขภาพ แต่หาบริโภคได้ยากในท้องตลาด เพราะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ บนที่สูงจะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน การนำข้าวไร่มาปลูกในที่ราบนาชลประทานเพื่อขยายพื้นที่ปลูกในการผลิต สำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพต้องทำการทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความถูกต้องและแม่นยำของแบบจำลอง Purple Glutinous Rice (PGR) ในการจำลองการตอบสนอง ของข้าวไร่ที่นำมาปลูกในสภาพนาชลประทาน ทั้งในด้านพัฒนาการ การเจริญเติบโต และผลผลิต ทำการปลูกข้าว ไร่พันธุ์พื้นเมืองจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ซิวแม่จัน ข้าวแดง ข้าวก่ำ ข้าวขาว และข้าวเหลืองหอม ณ แปลงนาสาธิต ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโดยแบบจำลอง PGR พบว่า ค่าการจำลองการสะสม น้ำหนักแห้งรวม (ต้น ใบ และรวง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากวันปักดำถึงระยะสุกแก่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการสังเกต ส่วนการจำลองผลผลิตและน้ำหนักฟางพบว่า การจำลองมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการสังเกตของข้าวทุกพันธุ์ โดยผลผลิตที่ได้จากการจำลองอยู่ในช่วง 427 – 577 กก./ไร่ และผลผลิตเฉลี่ยจากการสังเกตอยู่ในช่วง 266 – 444 กก./ ไร่ ผลการจำลองน้ำหนักฟางอยู่ในช่วง 599 – 735 กก./ไร่ และน้ำหนักฟางเฉลี่ยจากการสังเกตอยู่ในช่วง 391 – 600 กก./ไร่ ทั้งนี้ผลการจำลองที่มีค่ามากกว่าค่าการสังเกตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพันธุ์ข้าวที่สามารถปรับ ตัวให้เข้ากับสภาพการปลูกแบบนาชลประทาน การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแบบจำลอง PGR สามารถที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินพันธุ์ข้าวไร่ในการตอบสนองกับสภาพแวดล้อมของพี้นที่ปลูก เช่น สภาพนาชลประทาน
บทคัดย่อ (EN): Upland rice grain is favorable food product for health concern people. However, it hard to find in public market because grains from production were normally used for household consumption among farmer who grow them. In order to expand the production in irrigate lowland area to serve those healthy concern people, it is necessary to study the potential yield of upland rice varieties. Objective of this study was to validate Purple Glutinous Rice Model (PGR) in simulating the response of upland rice in terms of phenology, growth and yield grown in irrigated lowland condition. Five selected varieties of upland rice namely Sew Mea Jan, Dang, Kum, Khao and Luang Hom were grown at experimental field Lanna Rice Research Center, Chiang Mai University. Simulation of total dry matter using PGR model showed the increasing trend from transplanting till maturity with similar to observed data. It was found that simulated yield and straw weight were higher than observed values for all varieties. The simulated yield was 427 – 577 kg/rai whereas the average observed yield was 266 – 444 kg/rai. Similarly, simulated straw weight was 599 – 735 kg/rai and the average observed straw weight was 391 – 600 kg/rai. Such results showed greater simulated yield and straw weight than observed data indicated the ability of rice varieties could adapt to lowland environment. This study demonstrates that PGR model can be used as a tool for evaluating performance of upland rice grown in difference environments.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=7_132_611.pdf&id=3709&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: แปลงนาสาธิต ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำลองการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพนาชลประทาน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2562
เอกสารแนบ 1
การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวภายใต้ระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ต่างกัน อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์เคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียวในดินจังหวัดพัทลุง การศึกษาผลของไคตินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของงาดำ การพัฒนาแบบจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ที่สูงเพื่อการผลิตอย่างพอเพียงของชุมชนเกษตรที่สูง โครงการวิจัยการประเมินศักยภาพในการให้ผลผลิตของข้าวไทยโดยใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าว 2553A17002035 การพัฒนาแบบจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ที่สูงเพื่อการผลิตอย่างพอเพียงของชุมชนเกษตรที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก