สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร
ชูศักดิ์ จอมพุก - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding, Production and Utilization of Corn and Sorghum for Food Security
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชูศักดิ์ จอมพุก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดและข้าวฟ่างให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ต้านทานต่อโรคที่สำคัญ เช่น ราน้ำค้าง โรคราสนิม โรคใบไหม้แผลเล็ก และโรคใบไหม้แผลใหญ่ เป็นต้น และสามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดี มีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในสภาพแวดล้อมที่กำหนด ในขณะเดียวกันผลผลิตทั้งข้าวโพดและข้าวฟ่างทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพจะต้องเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร และหน่วยงานที่จะนำไปใช้ และที่สำคัญผลผลิตข้าวโพดต่อพื้นที่ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรยังคงผลิตข้าวโพด และมีรายได้ที่แข่งขันต่อการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่า การผลิตข้าวโพดในประเทศไทยมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และสามารถส่งออกต่างประเทศไทย ทั้งในเรื่องของเมล็ดพันธุ์และในรูปของอาหารสัตว์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าวโพด ไฟล์แนบ Proposal ไฟล์แนบ ProgressObjective1 โครงการปรับปรุงพันธุ์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างฐานพันธุกรรมที่ดีสำหรับภาครัฐและเอกชนที่จะนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่ให้ผลผลิตสูง ทนต่อสภาพแวดล้อม มีคุณค่าทางโภชนาการดี มีความต้านทานโรคและแมลงที่สำคัญ 2 โครงการเขตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งเน้นหาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อผลผลิตที่ดี เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 โครงการด้านโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นงานวิจัยที่ส่งเสริมโครงการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อการคัดพันธุ์ให้ทานต้านโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญๆ รวมทั้งมีงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ติดตาม และวางแผนป้องกันการระบาดของโรคและแมลงในอนาคต 4 โครงการด้านเศรษฐศาสตร์ เมล็ดพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ข้าวโพด วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการผลิตข้าวโพดอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด รวมทั้งการศึกษาด้านเมล็ดพันธุ์ และการนำข้าวโพดไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆStatusโครงการวิจัยเสร็จสิ้น (ต่อเนื่องปีถัดไป)Expected BenefitIntermidiate Result : โครงการปรับปรุงพันธุ์ การสร้างฐานเชื้อพันธุกรรม ในข้าวโพดไร่โดยคัดเลือกพันธุ์หรือสายพันธุ์ทนแล้ง ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม โรคใบไหม้แผลเล็ก โรคใบไหม้แผลใหญ่ คัดเลือกข้าวโพดที่มีความสามารถในการปลูกนอกฤดูฝน กล่าวคือสามารถปลูกได้ในฤดูแล้งที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งดินที่ปลูกเป็นดินร่วนเหนียว และสามารถให้น้ำได้ การปรับปรุงข้าวโพดลูกผสมให้มีปริมาณแอนโธไซยานินสูง ก็เป็นมีวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มคุณค่าทางอาหารของข้าวโพด ซึ่งสามารถนำสีม่วงไปเป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในด้านอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสามารถของการเกิดโรคต่างๆ ได้ นอกจากนี้จะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมี ของข้าวโพดทนแล้ง ในส่วนของข้าวโพดหวาน เป้าหมายที่ต้องการคือ หาแหล่งพันธุกรรมข้าวโพดหวานที่ควบคุมด้วยยีน sh2 และ bt1 จากต่างประเทศเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพในการรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งความอ่อนนุ่ม และมีเปลือกหุ้มเมล็ดบาง ให้ดีทัดเทียมกับข้าวโพดหวานจากภาคเอกชนหรือจากต่างประเทศ ส่วนข้าวฟ่างจะพัฒนาข้าวฟ่างสายพันธุ์แท้อายุเก็บเกี่ยวสั้นทนต่อการปลูกในระบบหนาแน่น ทั้งข้าวฟ่างสีขาวและสีแดง พัฒนาข้าวฟ่างอาหารสัตว์ที่ได้จากการผสมระหว่างข้าวฟ่างอาหารสัตว์กับข้าวฟ่างหวาน และข้าวฟ่างเมล็ด และจะพัฒนาข้าวฟ่างหางกระรอกที่ให้ผลผลิตเมล็ดและต้นสดสูงและไม่ไวต่อช่วงแสงมากนัก เชื้อพันธุกรรม สายพันธุ์ หรือ พันธุ์ข้าวโพดและข้าวฟ่างจะเป็นประโยชน์สำหรับภาครัฐและเอกชน ที่จะใช้แหล่งพันธุกรรมเหล่านี้ในการปรับปรุงพันธุ์ หรือในท้ายที่สุดไปถึงมือเกษตรกร และจะเป็นหลักประกันถึงความมั่นคงของข้าวโพดข้าวฟ่างในอนาคต โครงการเขตกรรม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อผลผลิตที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีดังกล่าวถ่ายทอดไปยังเกษตรกร โดยทดสอบศักยภาพในการให้ผลผลิต ความต้านทานโรคและแมลงของพันธุ์ข้าวโพดที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ในสภาพไร่เกษตรกรทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดรับประทานฝักสด นอกจากนี้ยังเป็นงานเสริมให้กับโครงการปรับปรุงพันธุ์ โดยการทดสอบพันธุ์ในไร่นาเกษตรกร โครงการโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อการคัดพันธุ์ให้ทานต้านโรคแมลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ติดตาม และวางแผนป้องกันการระบาดของโรคและแมลงในอนาคต โครงการเสริม เป็นโครงการต่อเนื่องในการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์และงานวิจัยพื้นฐานที่จะนำมาเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยี ผลงานวิจัยในภาพรวมแล้ว สามารถตีพิมพ์เป็นเอกสารทางวิชาการ/บทความ ออกสู่สาธารณชน ทั้งภายในและต่างประเทศได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2558
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดและข้าวฟ่างอาหารสัตว์ที่ระยะตัดเพื่อทำพืชหมัก การผลิตข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี การปรับปรุงพันธุ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร การปรับปรุงพันธุ์ การผลิต และการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร การทดลองใช้ข้าวโพดและข้าวฟ่างเป็นอาหารหลักสำหรับสุกร โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด การทดลองใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และมันเส้นเป็นอาหารหลักสำหรับสุกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก