สืบค้นงานวิจัย
ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา
นริสา จันทร์เรือง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Variability of the causal agent of Hevea leaf spot
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริสา จันทร์เรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เชื้อรา Colletotriclum gloeosporioides ทำให้เกิดอาการใบจุดโดยทำให้เกิดแผลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ การศึกษาความแตกต่างของสายพันธุ์เชื้อรา จากลักษณะทางสัณฐานวิทยา การสร้างสปอร์ และความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรา โดยเก็บตัวอย่างโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides จากสวนยาง 27 แหล่ง ในเขตภาคใต้ 3 จังหวัดได้เชื้อราจำนวน 27 สายพันธุ์ พบว่า การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อสามารถจำแนกได้เป็น 8 กลุ่ม การทดสอบความรุนแรงของสายพันธุ์เชื้อในการทำให้เกิดโรค พบว่า สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงระดับ 0-1 มีจำนวน 7 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 1-2 มีจำนวน 7 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 2-3 มีจำนวน 8 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 3-4 มีจำนวน 5 สายพันธุ์ ส่วนในเขตปลูกยางใหม่ รวบรวมเชื้อรา Colletotrichum sp. ได้ 30 สายพันธุ์ แยกได้จากยางพารา 23 สายพันธุ์ จากพืชอาศัย 7 สายพันธุ์ สามารถจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาบนอาหารได้ 3 กลุ่ม แต่แบ่งตามอัตราการเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เจริญช้า มี 10 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญอยู่ระหว่าง 1.64-2.84 มิลลิเมตรต่อวัน และกลุ่มที่เจริญเร็ว มี 20 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญอยู่ระหว่าง 4.27-5.60 มิลลิเมตรต่อวัน และความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อแต่ละสายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับการสร้างสปอร์ จากผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เชื้อรา Colletotrichum sp. จากแหล่งปลูกยางต่างๆ มีความผันแปรสูงทั้งการทำให้เกิดอาการโรค การเจริญเติบโต และการสร้างสปอร์ จึงควรทำการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรเชื้อต่อไป เพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Corynespora cassiicola สาเหตุโรคใบจุดก้างปลาของยางพาราโดยชีววิธี การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ศึกษาอุณหภูมิ, ความชื้นและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา การประเมินระดับความต้านทานของเชื้อราสาเหตุโรคในยางพาราต่อสารเคมีกำจัดเชื้อรา การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา การคัดกรองเชื้อรา Trichoderma spp. เบื้องต้นเพื่อควบคุมโรคใบจุดผักสลัด โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก