สืบค้นงานวิจัย
การประเมินศักยภาพการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวไทยโดยวิธีการเร่งอายุ
นวลอนงค์ เสมสังข์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การประเมินศักยภาพการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวไทยโดยวิธีการเร่งอายุ
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of Seed Storability of Thai Rice Varieties by Accelerated Aging Technique
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นวลอนงค์ เสมสังข์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการเร่งอายุของข้าวไทย 14 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 กข 14 สันป่าตอง 1 ไรซ์เบอร์รี่ ก่ำดอยสะเก็ด เจ้าหอมนิล กข 6 กข 10 เหนียวลืมผัว สังข์หยดพัทลุง ข้าวสายพันธุ์กลาย HyKOS21 และข้าวดอย เปรียบเทียบกับข้าวจีน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ChongTui, Wangjian 2090 และ 9311 ที่อุณหภูมิ 43+2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95% ภายหลังการเก็บรักษาในสภาวะเร่งอายุเป็นเวลา 0, 3, 6, 9, 12, 15 วัน ทำการทดสอบความสามารถในการงอก ค่าการนำไฟฟ้าที่รั่วไหลออกจากเมล็ดข้าว ปริมาณการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation และตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่เข้ารหัสให้เอนไซม์ lipoxygenase ชนิดต่างๆ ในข้าวแต่ละพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า ในระหว่างการเก็บรักษา ข้าวแต่ละชนิดมีค่าร้อยละของการงอกที่ลดลงเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 15 เรียงลำดับข้าวที่มีร้อยละของการงอกจากมากไปน้อยได้ดังต่อไปนี้ ข้าวสายพันธุ์กลาย HyKOS21 (62.00) > สังข์หยดพัทลุง (58.67) > ขาวดอกมะลิ 105 (52.00) > เจ้าหอมนิล (48.67) > ปทุมธานี 1 (40.67) > ชัยนาท 1 (34.67) > สันป่าตอง 1 (35.33) > กข 6 (28.00) > ก่ำดอยสะเก็ด (23.33) > ไรซ์เบอร์รี (19.33) > กข 10 (18.00) > Wangjian 2090 (10.00) > เหนียวลืมผัว (8.67) > ข้าวดอย (0.67) ส่วนพันธุ์ กข 14 ChongTui และ 9311 มีค่าการงอกเท่ากับศูนย์ ดังนั้นข้าวที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดสูงที่สุดในงานวิจัยนี้ คือ ข้าวสายพันธุ์กลาย HyKOS21 รองลงมาคือ สังข์หยดพัทลุง และขาวดอกมะลิ 105 และข้าวไทยที่นำมาทดสอบที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาต่ำที่สุดได้แก่ เหนียวลืมผัว ข้าวดอย และ กข 14 ผลการวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารที่รั่วไหลออกจากเมล็ดข้าว พบว่ามีแนวโน้มค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยข้าวที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดต่ำ (ChongTui เหนียวลืมผัว และข้าวดอย) จะมีค่าการนำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดเร็วกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation ในเมล็ดข้าว พบว่าข้าวที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดสูง คือ ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสายพันธุ์กลาย HyKOS21 นั้นเป็นข้าวที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณ malondialdehyde (MDA) น้อยที่สุด และข้าวที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณ malondialdehyde (MDA) ในระดับที่สูงมาก ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่และเหนียวลืมผัว นั้นก็เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดที่ต่ำมาก และผลการตรวจสอบแสดงออกของยีนที่เข้ารหัสให้เอนไซม์ lipoxygenase ในเมล็ดข้าวโดยเทคนิค RT-PCR พบว่าข้าวที่มีศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ดสูง คือ ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสายพันธุ์กลาย HyKOS21 นั้นมีการแสดงออกของยีน LOX-3 แต่ไม่มีการแสดงออกของยีน LOX-1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการปรากฏของ lipoxygenase ชนิด LOX-3 และการขาดหายไปของชนิด LOX-1 ที่มีต่อศักยภาพในการเก็บรักษาของเมล็ด คำสำคัญ: ข้าวไทย, ศักยภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์, วิธีการเร่งอายุ, lipoxygenase
บทคัดย่อ (EN): Fourteen varieties of Thai paddy rice; Khao Dawk Mali 105 (KDML 105), Patumthanee 1, Chainat 1, RD 14, San Pha Tawng 1, Rice berry, Kum Doi Saket, Jao homnin, RD6, RD10, Leum Pua, Sang Yod Phattalung, HyKOS21 (KDML 105 mutant), highland rice; were tested for their seed storability compared to three Chinese rice varieties; ChongTui, Wangjian 2090, 9311; by accelerated aging technique for 15 days. After seed storage in accelerated aging condition at 43+2 ?C and 95% r.h., standard germination, electrical conductivity and malondialdehyde (MDA) test were investigated every 3 days to follow changes during storage period. The results showed that germination of all tested seeds decreased continuously while the electrical conductivity of seed-soaking solution increased. The highest seed germination after 15 days was found in HyKOS21 (62.00%), Sang Yod Phattalung (58.67%) and Khao Dawk Mali 105 (52.00%). The other varieties exhibited moderate seed storability ranked in the decreasing order as follows; Jao homnin (48.67%), Patumthanee 1 (40.67%), Chainat 1 (34.67%), San Pha Tawng 1 (35.33%), RD 6 (28.00%), Kum Doi Saket (23.33%), Rice berry (19.33%), RD 10 (18.00%), Wangjian2090 (10.00%), Leum Pua (8.67%) and highland rice (0.675) while RD 14, ChongTui and 9311 had no germination. The electrical conductivity of ChongTui, Leum Pua and highland rice were increasing quickly compared to other varieties which might indicate the higher rates of membrane leaking in seeds of these three varieties. The test of lipid peroxidation level showed that varieties with high seed storability (Khao Dawk Mali 105 and HyKOS21) had the low average MDA levels while ones with low seed storability (Rice berry and Leum Pua) had very high average MDA levels. Moreover, expression analysis of genes encoding lipoxygenase isoenzyme; LOX-1 and LOX3, were carried out. Khao Dawk Mali 105 and HyKOS21 showed positive RT-PCR results for LOX-3 but not for LOX-1 while other varieties showed positive for LOX-1. It was suggested that the absent of LOX-1 may be a factor which influences seed viability during storage. Keywords: Thai rice, seed storability, accelerated aging technique, lipoxygenase
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินศักยภาพการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวไทยโดยวิธีการเร่งอายุ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2557
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง การแสดงออกของยีน CIPK15 ในพันธุ์ข้าวไทยภายใต้สภาพน้ำท่วม การตรวจหายีน Sub1A และลักษณะทนน้ำท่วมในสายพันธุ์ข้าวไทย ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อประเมินอายุการเก็บรักษาในเขตร้อนชื้น ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พริกหวานที่ผ่านการกระตุ้น การงอก โดยวิธีการเร่งอายุ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก