สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum)
ดารารัตน์ มณีจันทร์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum)
ชื่อเรื่อง (EN): Study of cane yield, juice extract and bagasse in Sugarcane Variety KK3 and Hybrid Sugarcane clones of kans grass (Saccharum spontaneum)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดารารัตน์ มณีจันทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Dararat Maneejan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Praphan Prasertsak
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาข้อมูลการใช้ประโยซน์ของอ้อยและอ้อยพลังงานเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเอทานอล และ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือจากการค้นน้ำ (ซาน) เพื่อเลี้ยงสัตว์ช่วงอาหารสัตว์ขาดแคลน โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งใน ช่วงที่ยังไม่มีการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอล งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาองค์ประกอบในน้ำคั้น และซานอ้อยของอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมจากพง 2 สายพันธุ์ คือ TJP851 และ TJP351 เก็บเกี่ยวที่อายุต่างกัน 3 ระยะ คือ 8, 10 และ 12 เดือน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาข้อมูลผลผลิตอ้อยสด เปอร์เซ็นต์การหีบ ค่าความหวาน ปริมาณน้ำตาลรวมในน้ำคั้น น้ำหนักชานแห้ง ปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและโปรตีนจากชาน ผลการ ทดลองพบว่า พันธุ์อ้อยและระยะการเก็บเกี่ยวไม่มีปฏิสัมพันธ์กันทางสถิติ ทั้งผลผลิตอ้อยสด เปอร์เซ็นต์การหีบ ปริมาณ น้ำตาลรวมในน้ำคั้น น้ำหนักชานแห้ง ปริมาณเซลลูโล้ส ฮมิเซลลูโลสและโปรตีนจากชาน ยกเว้นค่าความหวาน ซึ่งพบว่าที่ อายุการเก็บเกี่ยว 12 เดือน มีค่าความหวานสูงกว่าการเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8 และ 10 เดือน โดยค่าความหวานเฉลี่ยของอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3 (17.0 C.C.S.) มีค่าสูงกว่าอ้อยลูกผสม TJP351 (13.6 C.c.S.) และ TJP851 (13.3 C.C.S.) เมื่อพิจารณา ระหว่างพันธุ์ พบว่ามีผลต่อเปอร์เซ็นต์การหีบ ปริมาณน้ำตาลรวมในน้ำคั้น ปริมาณเซลลูโลสและโปรตีนจากชานอ้อย โดย อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีเปอร์เซ็นต์การหีบสูงสุด สายพันธุ์ TPJ351 มีปริมาณน้ำคั้นและปริมาณเซลลูโลสสูงสุด ด้านปริมาณ โปรตีน พบว่า สายพันธุ์ TP J351 มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่าสายพันธุ์ TP J851 และขอนแก่น 3 สำหรับการเก็บเกี่ยวที่อายุต่าง กันนั้นมีผลต่อปริมาณซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและโปรตีนจากชานอ้อย โดยการเก็บเกี่ยวที่อายุน้อยเพียง 8 เดือน มีปริมาณ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและโปรตีนสูงสุด
บทคัดย่อ (EN): The study of utilization of sucarcane and sugarcane energy ethanol production feedstock of the bagasse to the animal feed will be alternative before using in the ethanol production aimed to study. This reason aimed study Juice extract and bagasse of sugarcane variety Khon Kaen 3 and 2 hybrid sugarcane clones (TJP851 and TJP351) derived from sugarcane and Kans grass (Saccharum spontaneum) evaluated at 3 different harvestings: 8, 10 and 12 months after planting. The experiment was conducted at Suphan Buri Agricultural Research and Development Center. The objective was to study cane yield, the percentage of milling, total sugar within juice extract, bagasse weight and contents of cellulose, hemicellulose and protein within bagasse. The results revealed that sugarcane varieties and harvesting stages had no interaction in character of cane yield, the percentage of milling, total sugar, dry weight of bagasse and contents of cellulose, hemicellulose and protein except brix value. Brix at 12 month had higher than at 8 and 10 month. Average of Khon Kaen 3 (17.0 C.C.S.) had higher than TJP351 (13.6 C.C.S.) and TJP851 (13.3 C.C.S.). In terms of different varieties it affected the percentage of milling, total sugar, cellulose and protein. The highest percentage of milling was observed in Khon Kaen 3. The highest of juice and cellulose were observed in TJP351. For protein content, it revealed that TJP351 had lower than TJP851 and Khon Kaen 3. Moreover, the different stages of harvesting effected to cellulose, hemicellulose and protein contents which had highest level at 8 months.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P045 Agr_11.pdf&id=1913&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอล ในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ผลของอ้อยอาหารสัตว์หมักที่มีอายุการตัดต่างกันเพื่อทดแทน ข้าวโพดหมักต่อการให้ผลผลิตของโคนม ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย ศักยภาพของน้ำคั้นแก่นตะวันเพื่อการผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิสูงโดยใช้เชื้อยีสต์ทนร้อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก