สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้าในพื้นที่เขตที่ 1
ยอดธงไชย รอดแก้ว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้าในพื้นที่เขตที่ 1
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยอดธงไชย รอดแก้ว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้าในพื้นที่เขตที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้าและปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ปลูกผักเพื่อการค้า ในพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สระบุรี และกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ปลูกผักเพื่อการค้าตั้งแต่ 2 งานขึ้นไป จำนวน 27,125 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มในทุกขั้นตอน (Multi stage sampling) ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 ราย โดยใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 44 ปี ส่วนมากได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ทำการเกษตรเฉลี่ย 2 คน สถานภาพการถือครองที่ดินทำการเกษตรเป็นที่ของตนเอง ร้อยละ 68.52 พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 9.39 ไร่ มีพื้นที่ปลูกผักของครัวเรือนเฉลี่ย 4.93 ไร่ สำหรับพืชผักที่ปลูกเป็นประจำคือ คะน้า รองลงมาคือ กะเพรา/โหระพา เกษตรกร มีประสบการณ์ปลูกผักเฉลี่ย 9 ปี ด้านแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพพบว่าเกษตรกรใช้เงินลงทุนของตนเองและกู้ยืมด้วยร้อยละ 68.52 แหล่งกู้ยืมที่เกษตรกรระบุมากกว่าแหล่งอื่นคือ จาก ธ.ก.ส. ร้อยละ 21.85 การใช้น้ำในการปลูกพืชผัก แหล่งน้ำที่เกษตรกรใช้ส่วนมากคือจากคลองชลประทาน และมีน้ำเพียงพอในการปลูกผัก สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผัก พบว่า เกษตรกรทั้งหมดปลูกผักตลอดปีลักษณะแปลงปลูกในแบบยกร่องร้อยละ 75.20 ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียวร้อยละ 54.07 มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ย 5.7 การเตรียมดินปลูกผักพบว่าเกษตรกรไถพรวนดินโดยใช้เครื่องจักรกลร้อยละ 68.51 มีระยะตากดินเฉลี่ย 12 วัน การปรับปรุงบำรุงดินพบว่าเกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกอัตราเฉลี่ย 567.12 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยหมักอัตราเฉลี่ย 520.12 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีการปรับความเป็นกรด-ด่างของดินร้อยละ 62.96 โดยใช้ปูนขาวอัตราเฉลี่ย 150 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปูนมาร์ล อัตราเฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำพบว่า เกษตรกรส่วนมากให้น้ำผักโดยวิธีใช้เรือรด/ตักรด ความถี่ในการให้น้ำผักจำนวน 1 ครั้งต่อวัน วิธีการปลูกผักจะปลูกแบบหว่าน สำหรับศัตรูพืชผักเกษตรกรระบุความสำคัญ อันดับแรกได้แก่ เพลี้ยไฟ รองลงมาคือหนอนหนังเหนียว ทั้งนี้ เกษตรกรป้องกันกำจัดโรคแมลงโดยใช้สารเคมีร้อยละ 44.44 มีการหยุดใช้สารเคมีโดยเว้นระยะก่อนเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 7 วัน และมีความถี่ในการใช้สารเคมีเฉลี่ย 7 วันต่อครั้งด้วย การป้องกันกำจัดวัชพืช พบว่าเกษตรกรส่วนมากร้อยละ 79.25 ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งมีวิธีการกำจัดวัชพืชโดยการถอนหญ้าเฉลี่ยทุก 10 วัน สำหรับการดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า มีการคัดเกรดผักได้แก่ พริก รองลงมาคือถั่วฝักยาว การบรรจุผักเกษตรกรระบุว่าใช้ถุงพลาสติกร้อยละ 66.70 การจำหน่ายพืชผักจะขายปลีกที่แปลงโดยมีพ่อค้ามารับซื้อร้อยละ 73.30 ลักษณะการจำหน่ายแบบผักปลอดภัย ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีต่อฤดูปลูก พบว่าเกษตรเกือบทั้งหมดมีการใช้ปุ๋ยเคมี โดยใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 4 ครั้งต่อฤดูปลูก สูตรปุ๋ยมีเกษตรกรระบุมากที่สุดคือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคคือ โรคและแมลงระบาดช่วงฤดูแล้ง ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และเงินทุนมีจำกัด ขาดแรงงานด้านการเกษตร ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง สภาพปัญหาดินเหนียวจัด และน้ำไม่เพียงพอในฤดูแล้ง โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่าง ๆ ได้แก่ การอบรมความรู้วิชาการด้านโรคแมลงศัตรูพืชผัก เสนอให้รัฐประกันราคาผลผลิต ต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย ขอรับการสนับสนุนเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดโรคแมลง การหาแรงงานจ้างจากที่อื่น การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปูนขาว และปูนมาร์ล ตลอดจนต้องการสนับสนุนสระเก็บน้ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้าในพื้นที่เขตที่ 1
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การศึกษาปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกผัก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพการปลูกผักคะน้าเพื่อการค้าของเกษตรกรกรุงเทพมหานคร สภาพการผลิตและการตลาดผักของเกษตรกรในจังหวัดสตูล ปี 2548 สภาพการผลิตและการตลาดผักของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผักในจังหวัดสงขลา ปี 2548 การศึกษาปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตผักพื้นบ้าน : กรณีปลูกผักแขยงของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก