สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี
วัชรา ปิ่นทอง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Relating to the success use the Philosophy Sufficiency Economy of Farmers around Huay Sai Royal Development Study Center Phetchaburi Province Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัชรา ปิ่นทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Watchara Pinthong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุรพล เศรษฐบุตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Suraphol Sreshthabutra
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อในการดำเนินชีวิต ของเกษตรกรกลุ่มที่ประสบ ความสำเร็จและกลุ่มที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินชีวิตรวมทั้ง วิเคราะห์ถึงปัจจัย เหตุ การไม่เข้าร่วมโครงการของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อัน เนื่องมาจากพระราชดำริ และค้นหา วิธีการ ในการส่งเสริมการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำเสนอเป็น แนวทาง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั่งนี้ คือเกษตรกรที่ อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเป็นสมาชิกศูนย์ห้วยทรายฯ โดยแบ่งเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ประสบความสำเร็จแล้ว 39 ราย 2. กลุ่มที่ยัง ไม่ประสบความสำเร็จ 127 ราย และ 3. กลุ่มที่ไม่รับนำไปใช้ 368 ราย โดยรวมจำนวนทั้งสิ้น 534 ราย การศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการขับเคลื่อน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการศึกษาวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบ ผสมผสาน (Mix Method) โดยการใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้ ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ศึกษาจากตำราเอกสาร บทความ ทฤษฎี หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตการวิจัยและสร้างเครื่องมือ วิจัย ให้ครอบคลุมความมุ่งหมายการวิจัย ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ศึกษาวิธีการสร้างแบบสัมภาษณ์ จากเอกสาร เพื่อกำหนดขอบเขตและเนื้อหาแบบทดสอบ เพื่อให้มีความชัดเจนตามความมุ่งหมายการวิจัยยิ่งขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสัมภาษณ์ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสัมภาษณ์ มาทำการตรวจสอบความ สมบูรณ์ ของการตอบ คำถามทั้งหมด นำผลที่ได้จากการประมวลผลมาอธิบายความหมาย โดยการใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ ์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ในขั้นตอนระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อให้การวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์ การวิจัยได้อย่างชัดเจน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ และความไม่สำเร็จ ของเกษตรกรในการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิต คือ แหล่งน้ำ คิดเป็นร้อยละ 100.0 รองลงมาคือ สภาพดิน ร้อยละ 74.4 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ยัง ไม่ประสบความสำเร็จ พบว่าน้ำเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ การเกษตรสำเร็จได้ และสามารถดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงได้ แต่มีความขัดแย้งกับกลุ่มไม่รับนำไปใช้ โดยพบว่า เงินทุนเป็นปัจจัยคิดเป็นร้อยละ 91.0 รองลงมา คือ สภาพดิน ร้อยละ 59.4 ตลอดจนความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ วิธีการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ควรมีการ ขยายผลโดยการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นและเกษตรกรสู่เกษตรกรด้วยกัน ให้เกิดความยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนให้ เกษตรกรมีความสำเร็จมากขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were: 1) to analyze the factors affecting the ways of life of successful farmers and unsuccessful farmers in the application of the sufficiency economy philosophy in their lives, and to analyze the actual factors which hamper the farmers living in the area from joining the Huay Sai Royal Development Study Center; 2) to find out the pattern, the approach and the way to drive the sufficiency economy philosophy of the Huay Sai Royal Development Study Center; and 3) to present a guideline for driving the sufficiency economy philosophy process of the Huay Sai Royal Development Study Center. Samples used in this study were farmers who live in the villages surrounding the Huai Sai Royal Development Study Center and who were also members of the Huai Sai Royal Development Study Center. The farmers were divided into 3 groups: 1) successful farmers (39 samples); 2) unsuccessful farmers (127 samples); and 3) non-participating farmers (368 samples). The total was 534 samples. The research of the process driving the sufficiency economy philosophy at the Huay Sai Royal Development Study Center, Phetchaburi province was integrative in nature, combining both quantitative research and qualitative research. The research tools included: secondary data study of texts, articles, documents, theories and related research to determine the scope of the study and to create a research tool that covers the objectives of the research; primary data study of how to create in-depth interviews from documents to determine the scope and content of the test. The data were analyzed by using descriptive statistics well as inferential statistics. The results showed that the factors affecting the success and failure of farmers practicing the sufficiency economy philosophy were water resources (100%) followed by soil (74.4%), both of which were associated with the unsuccessful group. It was found that water was the main cause of success in agriculture and the ability to lead a life while following the sufficiency economy philosophy. However, there was a conflict with the non-participating group which found that funds was the main factor (91%), followed by soil (59.4%) as well as different levels of understanding among the farmers. These things affected their decision to participate in the project. The approach to drive the sufficiency economy philosophy at the Huay Sai Royal Development Study Center should be expanded with the transfer of knowledge from generations to generations, and from farmers to farmers to create sustainability and to support the farmers so that they become more successful.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=10 Watchara.pdf&id=1108&keeptrack=15
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การสำรวจสภาพการเลี้ยงแพะของเกษตรกรศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี การถอดบทเรียนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตร กรณีศึกษา: ผู้นำเกษตรกรเครือข่าย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสงขลา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสงขลา การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การประยุกต์ใช้แนวทางตามพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดในช่วงฤดูร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ในภาคเหนือตอนบน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการบรรเทาความยากจนของเกษตรกร โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การศึกษาการปลูกยางพาราภายใต้การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดเลย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก