สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาพลวัตของสังคมพืชป่าชายเลนในท้องที่ตำบลกำพวน จังหวัดระนอง
เดชา ดวงนามล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพลวัตของสังคมพืชป่าชายเลนในท้องที่ตำบลกำพวน จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Dynamic of Mangrove Forest Community at Kamphuan sub-district, Ranong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เดชา ดวงนามล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาพลวัตของสังคมพืชป่าชายเลนในท้องที่ตำบลกำพวน จังหวัดระนอง ได้ทำการศึกษาในแปลงถาวรขนาด 20x350 เมตร จำนวน 3 แปลง และได้เก็บวัดข้อมูลการเติบโตทั้งด้านความสูงและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นไม้ตั้งแต่ 4.0 เซนติเมตรขึ้นไป ภายในแปลง 10x10 เมตร พร้อมนับจำนวนและจำแนกชนิดของไม้รุ่น (sapling) และกล้าไม้ (seedling) ในแปลง 4x4 เมตร และ 1x1 เมตร ตามลำดับ และได้ทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบางประการในสังคมพืชป่าชายเลน ที่ระดับความลึกคือ 0-15 เซนติเมตร และ 15-30 เซนติเมตร ที่ระยะ 50 100 150 200 250 300 และ 350 เมตร ตามลำดับ จากริมชายคลอง รวมถึงได้ทำการประเมินมวลชีวภาพส่วนเหนือพื้นดินและปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของสังคมพืชป่าชายเลน จากการศึกษาสังคมพืช พบว่า สังคมพืช (ความหนาแน่น ความสูงเฉลี่ยของไม้ต้น เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของไม้ต้น ดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ ค่าดัชนีความหลากชนิดของ Shannon-Wiener) และสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินในป่าชายเลนบริเวณ 3 พื้นที่ (M1, M2 และ M3) ที่มีองค์ประกอบของสังคมพืชที่แตกต่างกัน บริเวณสถานีวิจัยเพื่อพัฒนาชายฝั่งอันดามันจังหวัดระนอง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง โดยแต่ละพื้นที่ทำ การวางแปลงขนาด 20 x 350 เมตร ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้สามารถแยกสังคมพืชเป็น 2 สังคมย่อย คือ สังคมพืชที่มีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ ได้แก่ M1 และสังคมพืชที่มีโกงกางใบเล็กและตะบูนขาว ได้แก่ M2 และ M3 โดยทั้ง 3 พื้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของไม้ต้น และดัชนีความหลากชนิดของ Shannon-Wiener แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และจากการศึกษาปริมาณมวลชีวภาพส่วนเหนือพื้นดินของสังคมพืชมีค่าค่อนข้างสูงมาก โดยมีปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินเฉลี่ยเท่ากับ 59.30 ตัน/ไร่ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ศึกษามีความหนาแน่นและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางค่อนข้างสูง รวมทั้งสังคมพืชส่วนใหญ่มีไม้โกงกางใบเล็กเป็นไม้เด่น ส่วนปริมาณการกักเก็บคาร์บอนมีแนวโน้มเช่นเดียวกับปริมาณมวลชีวภาพส่วนเหนือพื้นดิน กล่าวคือ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย เท่ากับ 174.62 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ นอกจากนี้พื้นที่ป่าชายเลนที่มีระดับความสมบูรณ์ปานกลางมีปริมาณการร่วงหล่นซากพืชมากที่สุด เท่ากับ 11.558 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี โดยแบ่งเป็นส่วนของใบ ดอก ผล กิ่ง และส่วนอื่นๆ เท่ากับ 7.622, 0.145, 0.316, 1.500 และ 1.976 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี ตามลำดับ โดยร่วงหล่นมากในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม และมากที่สุดในเดือนตุลาคมหลังจากนั้นปริมาณการร่วงหล่นเริ่มลดน้อยลง สำหรับสมบัติของดินของพื้นที่ศึกษาที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความหนาแน่นรวม ความพรุน อนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง อนุภาคดินเหนียว อินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแคลเซียม เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s new multiple range พบว่าค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของไม้ต้น ดัชนีความหลากชนิดของ Shannon-Wiener อนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้งและแคลเซียมแบ่งสังคมพืชย่อยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย M1 และกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย M2 และ M3 ดังนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสังคมพืชย่อยของป่าชายเลนบริเวณสถานีวิจัยเพื่อพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คือ อนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง และแคลเซียม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาพลวัตของสังคมพืชป่าชายเลนในท้องที่ตำบลกำพวน จังหวัดระนอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2557
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การปรับตัวด้านกายวิภาคศาสตร์ใบของพืชในป่าชายเลนทางภาคตะวันออก ของประเทศไทย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม ที่มีผลต่อทัศนคติในการจัดการประมงชายฝั่งของชุมชนประมงบ้านเกาะสินไห จังหวัดระนอง โครงสร้างของป่าชายเลนและความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์น้ำเศรษฐกิจในป่าชายเลน : กรณีศึกษา คลองสิเกา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การประมงแมงกะพรุนบริเวณจังหวัดระนอง ความหลากหลายทางชีวภาพของราเอนโดไฟท์จากใบไม้ในเขตอนุรักษ์พืชป่าชายเลน และความสามารถในการสร้างสารยับยั้งรา Alternalia blassicola บทบาทของแทนนินในการป้องกันตัวของไม้ป่าชายเลน การประมงกุ้งมังกร (Panulirus spp.) ในเขตจังหวัดระนอง และพังงา เครื่องวัดระดับน้ำทะเลและภูมิอากาศอัตโนมัติในป่าชายเลนส่งผ่านข้อมูลด้วยระบบ 3 G/4G

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก