สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบอัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch var. minor) ในการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้า
กนก ปฐมนุพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบอัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch var. minor) ในการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้า
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กนก ปฐมนุพงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Metarhizium anisopliae (Metsch var. minor)
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch) var. minor ในการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้า เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ วิธีการวิจัย (1)ใชวิธีการทดสอบแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำดำเนินการดังนี้ (2)นำเชื้อราเขียวที่เข้มข้นและบริสุทธิ์จากการเลี้ยงบนอาหารข้าวโพดตามอัตราส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ 20 กรัมและ 40 กรัม แต่ละอัตราส่วนนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ทำเป็น Spore Suspension (3)นำตั๊กแตนวัย 7-8 มาเลี้ยงไว้ในกรงตาข่ายอะลูมิเนียม ขนาด 1x1x2 ฟุต ซึ่งภายในบรรจุต้นข้าวโพดที่ปลูกในกระถางเพื่อใช้เป็นอาหารของตั๊กแตน จำนวน 16 กรง ๆ ละ 20 ตัว (4)ฉีดพ่นเชื้อราเขียว ตามอัตราส่วนต่าง ๆ ดังนี้ แบบที่ 1 ใช้อัตราความเข้มข้น 20 กรัม แบบที่ 2 ใช้อัตราความเข้มข้น 30 กรัม แบบที่ 3 ใช้อัตราความเข้มข้น 40 กรัม แบบที่ 4 ฉีดพ่นน้ำสะอาด การวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจนับการตายของตั๊กแตนปาทังก้าจากการใช้เชื้อราเขียวทั้ง 3 อัตรา กับกรงเปรียบเทียบคิดจำนวนการตายเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการทดสอบปรากฏว่า ทุกอัตราส่วนให้ผลในการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้าในกรงทดสอบเริ่มตายในวันเดียวกัน คือวันที่ 4 หลังจากการใช้เชื้อราเขียวโดยมีอัตราการตายเฉลี่ย 2.75, 1.75 และ 1ตัวที่อัตรา 40, 30 และ 20 กรัม ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการใช้เชื้อราเขียวที่อัตราความเข้มข้นต่ำ คือ อัตราความเข้นข้น 40 กรัมพบตั๊กแตนปาทังก้าตายสูงสุดโดยเฉลี่ย 5.75 ตัว ในวันที่ 7 กลังจากการใช้เชื้อราเขียวที่อัตราความเข้มข้น 30 กรัม พบตั๊กแตนปาทังก้าตายสูงสุดโดยเฉลี่ย 5.25 ตัว ในวันที่ 8 หลังจากการใช้เชื้อราเขียวที่อัตราความเข้มข้น 20 กรัม พบตั๊กแตนปาทังก้าตายสูงสุดโดยเฉลี่ย 4.5 ตัว ในวันที่ 9 หลังจากการใช้เชื้อราเขียวตั๊กแตนในกรงทดสอบทุกรงจะตายหมดหลังจากการใช้เชื้อราเขียวที่อัตรา 40, 30 และ 20กรัม ในวันที่ 8, 9 และ 10 โดยมีอัตราการตายเฉลี่ย 4, 3.37 และ 2.78 ตัว ภายใต้อุณหภูมิ 23-29 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 53-87 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตั๊กแตนปาทังก้าในกรงเปรียบเทียบยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดและเจริญเติบโตตามปกติ สรุปได้ว่า ทุกอัตราส่วนให้ผลดีต่อการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้า อัตราที่ทำให้ตั๊แตนปาทังก้าตายในปริมาณสูงสุดในระยะเวลาสั้นที่สุด คืออัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างไรก็ตาม การใช้เชื้อราเขียวในอัตราส่วน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรจะได้นำไปดสอบอีกครั้งหนึ่งในสภาพไร่ ก่อนที่จะนำไปใช้ควบคุมตั๊กแตนปาทังก้าในสภาพธรรมชาติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบอัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metsch var. minor) ในการควบคุมตั๊กแตนปาทังก้า
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 ควบคุมเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kalt.) (Homoptera: Aphididae) ในผักคะน้าระบบไฮโดรโปนิกส์ การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ ความรุนแรงของเชื้อราขาว Beauveria bassiana และเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และเพลี้ยแป้งน้อยหน่า Planococcus lilacin การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ (ระยะขยายผล) การพัฒนาสูตรสำเร็จเชื้อราควบคุมเพลี้ยอ่อนศัตรูพริก การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก