สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพของกิ่งไม้ใบไม้ที่มีในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา
กัทลีวัลย์ สุขช่วย - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของกิ่งไม้ใบไม้ที่มีในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of the Local Leaves Stick Materials substitute to rubber wood sawdust for Mushroom Cultivation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัทลีวัลย์ สุขช่วย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพของวัสดุเพาะในท้องถิ่นสำหรับเพาะเห็ดแครง ทดแทนขี้เลื่อยยางพารา ดำเนินการในฤดูฝน (พ.ค.-มิ.ย. 2555) ผลการทดลองพบว่า ขี้เลื่อยมะเกี๋ยง จั่น ฉำฉา ขี้เหล็ก และลำไย มีศักยภาพในการนำมาเพาะเห็ดแครงทดแทนขี้เลื่อยยางพารา โดยให้ผลผลิตสูงกว่าขี้เลื่อยยางพารา แต่ขี้เลื่อยมะเกี๋ยงและลำไยเส้นใยเห็ดแครงเจริญได้ช้ากว่ายางพารา ส่วนจั่น ฉำฉา และมะเกี๋ยงให้ผลผลิตและปริมาณโปรตีนสูงกว่ายางพารา การศึกษาวัสดุเพาะเห็ดแครงเพื่อให้ได้ผลผลิตและโปรตีนสูง ดำเนินการปลายฤดูหนาว (ก.พ.-มี.ค. 2556) ผลการทดลองพบว่า สิ่งทดลองที่ 10 (ขี้เลื่อยยางพารา) ให้น้ำหนักผลผลิตเห็ดสดสูงสุด 122.50 กรัม/ถุง แต่ให้โปรตีน 16.65% ซึ่งต่ำกว่าสิ่งทดลองที่ 4 (จั่น:ไมยราบยักษ์ อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก) และ 5 (จั่น:ยางพารา อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก) ซึ่งให้ผลผลิตสด 108.23 และ 109.88 กรัม และให้โปรตีน 19.33 และ 17.1 % ตามลำดับ อย่างไรก็ตามขี้เลื่อยยางพาราเส้นใยเห็ดเจริญเต็มถุง 18.9 วัน ซึ่งช้ากว่าสิ่งทดลองอื่นๆ (16.00-17.33 วัน) ยกเว้นสิ่งทดลองที่ 9 (19.00 วัน) การศึกษาต้นทุนการเพาะเห็ดแครงเชิงการค้าเปรียบเทียบระหว่างสิ่งทดลองที่ 1 (จั่น:ไมยราบยักษ์ อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก) และสิ่งทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อยยางพารา) ผลการทดลองพบว่า สิ่งทดลองที่ 1 ให้ผลผลิต 23.82 กก. ซึ่งต่ำกว่าขี้เลื่อยยางพารา ที่ให้ผลผลิต 30.15 กิโลกรัม/300 ถุง ทั้ง 2 สิ่งทดลอง มีต้นทุนการผลิตเชิงการค้าไม่ต่างกัน โดยมีต้นทุน 2,520 บาท/300 ถุง หรือเฉลี่ยถุงละ 8.47 บาท
บทคัดย่อ (EN): The potential of some local plant debris to substitute Para rubber sawdust as substrate for Common Split Gill mushroom cultivation was studied at Agricultural Technology Research Institute, Lampang province. The experiment was carried out in rainy season during May-June ,2012. The results suggested that the wood sawdust of Makieng, Jun, Rain tree, Siamese Cassia and Logan had potential for substitution as they gave greater yield than that of the Para rubber sawdust. However, the mycelium growth on wood sawdust of Makieng and Longan was much slower than that on the Para rubber. On the other hand, greater yield and protein contents were obtained from the wood sawdust of Jan, Rain tree and Makieng than that of the Para rubber. The study on mushroom cultivation for high yield and protein content was conducted in late winter season during February-March 2013. The results revealed that the highest fresh yield of 122.50 g/bag. With moderately low protein content of 16.65% was obtained from treatment 10 (Para rubber sawdust). Treatment 4 (Jan : Giant sensitive plant, 1 : 1 ratio by weight) and treatment 5 (Jan : Para rubber, 1 : 1 ratio by weight) produced comparatively moderate yield and high protein contents with the average values of 108.23 and 109.88 g/bag and 19.33 and 17.10% respectively. However, the time required for bag-full grown mycelium was obtained within 18.9 days in the Para rubber sawdust treatment which was longer than that of the others (ranges 16.00-17.33 days), except for that of treatment 9 (19.00 days). A comparison was made between treatment 1 (Jan : Giant sensitive plant 1 : 1 ratio) and treatment 2 (Para rubber sawdust) in order to study the cost production of the Common Split Gill mushroom cultivation. The results indicated that treatment 1 produced lower fresh yield than treatment 2 with the averages of 23.82 and 30.15 Kgs/300 bags, respectively. Both treatments had the same cost of production of 2,520 Bahts/300 bags or 8.47 Bahts/bag
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพของกิ่งไม้ใบไม้ที่มีในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2555
เห็ดที่รับประทานได้และที่น่าสนใจ กลุ่มวิจัยยางพารา เห็ดกลุ่มโบลีตส์ของประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง ชนิดของเห็ดสกุล Lepiota และสกุลใกล้เคียงในประเทศไทย การศึกษาการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับไม้เบญจพรรณในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำส้มควันไม้จากไม้ยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก