สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
นายยงศักดิ์ สุวรรณเสน - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technologies for Para Rubber (Hevea brasiliensis) Production in the Lower North
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายยงศักดิ์ สุวรรณเสน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยงศักดิ์ สุวรรณเสน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Heveanbsp; brasiliensis L.
บทคัดย่อ: ทำการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแก้ปัญหาการผลิตที่พบในพื้นที่ คือ เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งยางก่อนและหลังเปิดกรีด โดยยางก่อนเปิดกรีด พบปัญหาที่สำคัญ คือ การใส่ปุ๋ย ทั้งชนิดและอัตราไม่เหมาะสม การตัดแต่งกิ่งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การจัดการระหว่างแถวยางโดยการปลูกพืชแซมหรือพืชคลุมมีน้อย ยางหลังเปิดกรีด พบปัญหาที่สำคัญ คือ การใส่ปุ๋ย ทั้งชนิดและอัตราไม่เหมาะสม กรีดต้นที่ไม่ได้ขนาด กรีดถี่ ขาดความชำนาญในการกรีด ปัญหาอาการเปลือกแห้ง โดยมีกิจกรรมดำเนินการสองกิจกรรม กิจกรรมที่หนึ่ง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการร่นระยะเวลาการผลิตยางพาราพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและกิจกรรมที่สอง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราหลังการเปิดกรีดพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้ดำเนินการในพื้นที่สามจังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก กิจกรรมที่หนึ่งและสอง มีจำนวนเกษตรกร 4 รายต่อจังหวัด รายละ 5 ไร่ มีกรรมวิธี 2 กรรมวิธี แต่ละกรรมวิธีมีจำนวน 2 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 2 การใช้ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร กิจกรรมที่หนึ่งพบว่า การเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกวัดที่ระดับ 1.50 เมตร หลังจากใสปุ๋ยต้นยาง 24 เดือน กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 12.4 ซม. และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 8.4 เซนติเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 13.4 เซนติเมตร และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 12.3 ซม. จังหวัดตาก กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 11.0 เซนติเมตร และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิม เท่ากับ 10.5 เซนติเมตร ตามลำดับ กิจกรรมที่สองพบว่า ผลผลิตยางแผ่นของต้นยางในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกให้ กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ยทั้งสองปีเท่ากับ 352 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 307 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ย 263 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 244 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดตาก กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ย 311 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 278 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก