สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาดัชนีการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพันธุ์ RRIM 600
พิศมัย จันทุมา - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาดัชนีการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพันธุ์ RRIM 600
ชื่อเรื่อง (EN): Harvesting Index on RRIM Clone
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิศมัย จันทุมา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว (Harvest index , HI) ผลผลิตยางพันธุ์ RRIM 600 ทดลองที่ ศูนย์วิจัยยาง ฉะเชิงเทรา เพื่อศึกษาผลของระบบกรีดยางต่อค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ใช้เป็นพารามิเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตยาง แบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 มี 5 ระบบกรีด ดังนี้ 1). 1/2S d/2, 2). 1/2S 2d/3 , 3). 1/2S 3d/4 , 4) 1/2S d/1 , และ 5). 1/3S d/3, ET. 2.5% ,4/y การทดลอง ที่ 2 มี 4 ระบบกรีด 1). 1/3S d/2 , 2). 1/3S 2d/3 , 3). 1/3S 3d/4 และ 4). 1/3S d/3, ET. 2.5% ,4/y หลังจากกรีดยาง 3 ปี พบว่า ระบบกรีดยาง 1/2S d/2 ,1/2S 2d/3 และ 1/2S d/1 มีค่า HI 0.33 – 0.36 มากกว่าระบบกรีด 1/2S 3d/4 และ 1/2S d/3 ET. 2.5 % ,4/y สาเหตุที่ ระบบกรีด 1/2S d/1 และ 1/2S 3d/4 มีค่า HI สูง เนื่องจากระบบกรีดดังกล่าวให้ผลผลิตน้ำยางสูงกว่าวิธีการอื่น ในทางกลับมีอัตราการเพิ่มมวลชีวภาพต่ำ ดังนั้นการกรีดยางระยะยาวน่าจะมีปัญหาเนื่องจาก การกรีดยางทุกวันทำให้กระบวนการเมแทบอลิซึมของต้นยางถูกกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำยางจึงเป็นสาเหตุให้มีอาหารสะสมในลำต้นน้อยลง การลดความยาวของรอยกรีดเหลือหนึ่งในสามของลำต้น พบว่า ระบบกรีด 1/3S d/2, 1/3S 2d/3 และ 1/3S 3d/4 มีค่า HI เท่ากับ 0.24 - 0.28 ในขณะที่ ระบบกรีด 1/3S d/3, ET. 2.5% ,4/y มีค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวต่ำสุด 0.18 แต่มีอัตราการสะสมมวลชีวภาพสูงกว่าระบบกรีดอื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาดัชนีการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพันธุ์ RRIM 600
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาดัชนีพื้นที่ใบกับอัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุดของยางพันธุ์ RRIM 600 ผลของวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วงที่ผลิตโดยเกษตรกร การผลิตเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลีและเกลนเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในที่ลุ่ม (4) อายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์โสนขนสายพันธุ์ลี การศึกษาผลของฮอร์โมนและช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีต่อโปรตีโอมของน้ำยางจาก Hevea brasiliensis การทดสอบผลของการตัดก่อนการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้าอะตราตัม ผลของวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีมอมบาซา ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 การเคลื่อนย้ายน้ำตาลซูโครสในต้นยาง การสะสมมวลชีวภาพและดัชนีการเก็บเกี่ยวน้ำยางในยางบางพันธุ์ การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 เปรียบเทียบระบบการตัดแต่งที่มีผล ต่อการเก็บเกี่ยวและผลผลิตหม่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก