สืบค้นงานวิจัย
การผลิตกรดไขมันผสมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการศึกษาแบบแผนชนิดของกรดไขมันด้วยก๊าซโครมาโตกราฟี
ศรินทิพ สุกใส, ศจี น้อยตั้ง - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การผลิตกรดไขมันผสมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการศึกษาแบบแผนชนิดของกรดไขมันด้วยก๊าซโครมาโตกราฟี
ชื่อเรื่อง (EN): Production of Fatty Acid Mixtures for Using As Standards in Analysis of Fatty Acid Profiles by Gas Chromatography
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความสมบูรณ์ของพืชนานาชนิดโดยที่บริเวณสะสมน้ำมันของพืชจะอยู่ที่เมล็ด ยกเว้น เนื้อมะพร้าว และ ดอกคำฝอย มีการนำเมล็ดพืชจำนวน 48 ชนิด เนื้อและดอกมาอีก 2 ชนิด มาทำการสกัดน้ำมันด้วยวิธี soxhlet พบว่าในส่วนของเมล็ดพืชประเภทถั่ว (nut) มีปริมาณน้ำมันสูง (50-70%) รองลงมาคือพวก เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม (40-50%) ซึ่งในพืชนำนวน 50 ชนิด ที่ได้นำมาทดลอง พบว่ามีพืชถึง 30 ชนิด ที่มีปริมาณน้ำมันสูงกว่า 20% ซึ่งน่าสนใจที่จะใช้เป็นแหล่งน้ำมันในการผลิตสารมาตรฐานของกรดไขมันที่พบในธรรมชาติ เมื่อนำน้ำมันเหล่านี้มาผ่านกระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันให้อยู่ในรูปเมธิลเอสเทอร์ (FMAE) แล้วพบว่าในน้ำมัน 100 มิลลิกรัม สามารถเปลี่ยนเป็น FAME ได้ 80-95% โดยในการเตรียมสารมาตรฐานแสดงกรดไขมันผสม FAME ของพืชแต่ละชนิด พบว่าการผสม FAME ของ เนื้อมะพร้าว (CCN) : เมล็ดแมงลัก (OCM) : เมล็ดไนเจอร์ (NG) : เมล็ดแมคาดาเมีย (MM) : เมล็ดเงาะ (RBT) : เมล็ดฟักข้าว (FK) ที่อัตราส่วน 20 : 15 : 10 : 20 : 20 : 15 % (v/v) ตามลำดับ ให้กรดไขมันผสมที่มีองค์ประกอบของกรดไขมัน 15 ชนิด (ปริมาณเป็นเปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ดังนี้ methyl octanoate : C8:0 (1.09%) methyl decanoate : C10:0 (1.34%) methyl laurate : C12:0 (11.53%) methyl tetradecanoate : C14:0 (5.04%) methyl palmitate : C16:0 (7.83%) methyl palmitoleate : C16:1 (4.12%) methyl octadecanoate : C18:0 (6.21%) methyl oleate : C18:1n9 (28.40%) methyl linoleate : C18:2 (13.80%) methyl linoenate : C18:3 (9.07%) methyl arachidate : C20:0 (4.57%) methyl cis-11-eicosenoate : C20:1 (1.73%) methyl docosanoate : C22:0 (4.82%) และ methyl erucate : C22:1 (0.45%) ที่ครอบคลุมกรดไขมัน C8-C22 จากการใช้วัตถุดิบเริ่มต้นเพียง 6 ชนิด เท่านั้น ซึ่งในกระบวนการผลิตค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบและสารเคมีรวมทั้งสิ้นประมาณ 400 บาท ต่อ 400 mg ของกรดไขมันผสมสำหรับใช้เป็นสารมาตรฐาน
บทคัดย่อ (EN): Thailand is abundance of plants which plant oil is usually accumulated in their seeds. In this research, forty eight seeds of plant and coconut meat and Safflower are used to extract oil and change fatty acids to fatty acid methyl ester (FAME) for study of their fatty acid profiles. Results showed that nuts are the seeds of plant that have the highest oil content (50-70%) and followed by sesame seed, sunflower seed, watermelon seed that have high oil content (40-50%). Thirty plants from fifty kinds of plant in this study have oil content more than 20% of dry weight which is interesting for production of the mixtures of FAME standard. Plant oil was derived to FAME by transesterification, IUPAC method, which the percent yield of FAME was 80-95%. Therefore, the appropriate ratio of FAME for prepatation of the mixed FAME standard was coconut (CCN) : ocimum seed (OCM) : niger seed (NG) : macadamia seed (MM) : rambutan seed (RBT) : gac seed (FK) at 20 : 15 : 10 : 20 : 20 : 15 % (v/v), respectively. Result shown that the mixture of 15 FAMEs consist of methyl octanoate : C8:0 (1.09%), methyl decanoate : C10:0 (1.34%), methyl laurate : C12:0 (11.53%), methyl tetradecanoate : C14:0 (5.04%), methyl palmitate : C16:0 (7.83%), methyl palmitoleate : C16:1 (4.12%), methyl octadecanoate : C18:0 (6.21%), methyl oleate : C18:1n9 (28.40%), methyl linoleate : C18:2 (13.80%), methyl linoenate : C18:3 (9.07%), methyl arachidate : C20:0 (4.57%), methyl cis-11-eicosenoate : C20:1 (1.73%), methyl docosanoate : C22:0 (4.82%) and methyl erucate : C22:1 (0.45%) and cover C8-C22 fatty acid. And the production of the mixed FAME used only 6 raw materials (plants) which cost of the mixed FAME standard was about 400 bath for 400 mg.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตกรดไขมันผสมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการศึกษาแบบแผนชนิดของกรดไขมันด้วยก๊าซโครมาโตกราฟี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30 กันยายน 2558
การผลิตกรดไขมันผสมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการศึกษาแบบแผนชนิดของกรดไขมันด้วยก๊าซโครมาโตกราฟี : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การผลิตกรดไขมันอะราคิโดนิกจากรา Mortierella sp. การผลิตกรดไขมันอะราคิโดนิกจากรา Mortierella sp. อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอาหาร ที่มีผลต่อการปรับปรุงส่วนประกอบของกรดไขมันในไข่และเนื้อไก่ การผลิตเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตกุ้งกุลาดำ : รายงานวิจัย ผลของสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 (n-6:n-3)ในอาหารต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตและองค์ประกอบของไขมันในเนื้อแพะ การศึกษากระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันจากภายนอกเพื่อประโยชน์ต่อการผลิตกรดแกมม่าลิโนเลนิคในรา Mucor rouxii ผลของชนิดและระดับของกรดไขมันในอาหาร ต่อจุลินทรีย์ในรูเมนความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ การผลิตแก๊สมีเทน ประสิทธิภาพการให้ผลผลิต และคุณภาพเนื้อของแพะ การใช้รีคอมบีแนนท์ยีสต์ที่ผลิตเอ็นไซม์เพิ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นโปรไบโอติคในอาหารปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก