สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
สมบัติ ตงเต๊า - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN): Pineapple Breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมบัติ ตงเต๊า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมบัติ ตงเต๊า
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อให้ได้ลักษณะดีเด่นเหมาะสมต่อการแปรรูป และ/หรือบริโภคผลสด ดำเนินการที่สถาบันวิจัยพืชสวน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ระหว่างตุลาคม 2553 – กันยายน 2558 ประกอบด้วยการผสมพันธุ์ การคัดเลือกสายต้น และการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยมีขั้นตอนการคัดเลือก การเปรียบเทียบ และการทดสอบ โดยเพิ่มปริมาณหน่อพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสำหรับการเปรียบเทียบ และทดสอบพันธุ์ สับปะรดเพื่อการบรรจุกระป๋องประกอบด้วยการทดสอบพันธุ์ลูกผสมรุ่น 1 สายพันธุ์ SWPV#34, SWPV#1 และ PVIR#70 เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ ศวพ. อุทัยธานี ศวพ.เพชรบุรี และ ศวส. จันทบุรีตามลำดับ การคัดเลือกลูกผสมรุ่นที่ 2 ได้ 6 สายพันธุ์ และนำเข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ 7 สายพันธุ์ การผสมพันธุ์รุ่น 3 จำนวน 12 คู่ผสม โดย PB54001 มีเมล็ดมากสุด PB54006 งอกสูงสุด ลูกผสมที่ได้พบหนามหนามเฉพาะปลายใบ หรือหนามตลอดทั้งใบ ใบสีเขียว หรือสีม่วง การทดสอบสายตันปัตตาเวีย พบว่า สายต้น 8/6 C4 เจริญเติบโตได้ดีที่ ศวพ. เพชรบุรี ส่วน ศวพ. อุทัยธานี และ ศวส. จันทบุรีพันธุ์ปัตตาเวียเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนการคัดเลือกสายต้นกลุ่ม Smooth cayenne ได้ 16 สายต้น เพื่อนำเข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์ ด้านการผสมกลับเพื่อเพิ่มลักษณะดี และกำจัดการติดเมล็ด จากการคัดเลือกผสมกลับครั้งที่ 1 ได้สับปะรดที่มีคุณภาพดี 4 สายพันธุ์ ซึ่งนำข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ และสับปะรดที่มีลักษณะดีแต่ติดเมล็ดอีก 19 สายพันธุ์นำมาผสมกลับครั้งที่ 2 พบว่า PBB57005 มีจำนวนเมล็ดสูงสุด และทุกคู่ผสมมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่า 70% ส่วนสับปะรดที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคผลสดประกอบด้วยการทดสอบพันธุ์ พบว่าลูกผสมสายพันธุ์ TTPV#63, PNPV#61 และ SPPV#51 เจริญเติบโตดีในพื้นที่ ศวส. เชียงราย ศวพ. เพชรบุรี และ ศวส. จันทบุรีตามลำดับ การคัดเลือกลูกผสมรุ่น 2 ได้ลูกผสมที่มีคุณภาพผลดี 23 สายพันธุ์ จึงนำเข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์โดยใช้พันธุ์ตราดสีทอง สวี เพชรบุรี และ White jewel เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ พบว่าหลังปลูก 3 เดือนลูกผสมมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 6 สายพันธุ์ การผสมพันธุ์สับปะรดรุ่น 3 จำนวน 16 คู่ผสม พบว่า PB54027 มีจำนวนเมล็ด และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด ลูกผสมที่ได้มีใบสีเขียว ม่วง หรือม่วง– เขียว และพบหนามเฉพาะปลายใบ หรือตลอดทั้งใบ ใบ การเปรียบเทียบสายต้นกลุ่ม Queen พันธุ์สวี ตราดสีทอง และภูเก็ต พบว่า สวีสายต้น 2, 6 และ 18 ตราดสีทองสายต้น 4 และ 20 และภูเก็ตสายต้น 3 และ 20 มีคุณภาพดีและเกิดอาการไส้สีน้ำตาลต่ำ การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา พบต้นที่มีลักษณะเผือกในพันธุ์นางแลที่ได้รับรังสี 80 และ 100 Gy พันธุ์เพชรบุรีที่ได้รับ 60, 80 และ 100 Gy พบต้นให้ผลลักษณะคุณภาพดี 3, 3 และ 2 ต้นตามลำดับ และสวีที่ได้รับรังสี 20, 40 และ 60 Gy พบต้นให้ผลลักษณะคุณภาพดี 5, 7 และ 5 ต้นตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Breeding of pineapple to identify a variety with good characteristics suitable for processing and/or fresh consumption, has been carried out at Horticulture Research Institute, Phetchaburi Agricultural Research and Development Center, UthaiThani Agricultural Research and Development Center, Chanthaburi Horticultural Research Center, Chiang Rai Horticulture Research Center and Srisaket Horticulture Research Center during October 2010 to September 2015. The methods include hybridization, clonal selection and mutation. Each method covers processes of selection, comparison and yield trial. Suckers have been multiplied by tissue culture for using in the process of comparison and yield trial. Varieties included in yield trial of pineapples for canning were hybrid series 1 and it was found that SWPV#34, SWPV#1 and PVIR#70 grew well at UthaiThani Agricultural Research and Development Center, Phetchaburi Agricultural Research and Development Center and Chanthaburi Horticultural Research Center, respectively. Six lines of hybrid series 2 were selected and introduced into the comparison process of 7 lines. The hybridization of hybrids series 3 comprising 12 crosses found that PB54001 had highest number of seeds and PB54006 had highest germination. Hybrids had spiny leaves or spines only at leaf tips. The leaves colors were green or violet. Yield trail of Pattavia clones found that clone 8/6C4 grew well at Phetchaburi Agricultural Research and Development Center. At UthaiThani Agricultural Research and Development Center and Chanthaburi Horticultural Research Center Pattavia was best. Sixteen clones of smooth cayenne were selected and introduced into the comparison process. Backcross was done to add good characteristics or eliminate the seeds. Four lines of good quality pineapples were selected from backcross 1 and introduced into the comparison process. Nineteen hybrid lines were found to have a good characteristics, but they had seeds. They were backcross again and the result showed that PBB57005 had the highest number of seeds and the germination rate of seeds from all crosses were higher than 70%. The yield trial of pineapple suitable for fresh consumption found that the hybrid line TTPV#63, PNPV#61 and SPPV#51 grew well at Chiang Rai Horticulture Research Center, Phetchaburi Agricultural Research and Development Center and Chanthaburi Horticultural Research Center, respectively. Selection of hybrid series 2 found 23 lines with good quality which were introduced into the process of comparison with Trad-Sri-Thong, Sawee, Phetchaburi and White jewel. The comparison showed that at three months after planting the growth of six hybrid lines was less than that of the check varieties. The breeding of 16 pineapple crosses showed that PB54027 had highest number of seeds and germination rate. Leaf colors of the hybrids were green, violet or violet-green and spiny or spiny only at leave tips. Comparison of queen clones; Sawee, Trad-Sri-Thong and Phu-ket found that the Sawee cultivar clones 2, 6 and 18, Trad-Sri-Thong clones 4 and 20, and Phu-ket clones 3 and 20 showed the highest percentage of fruits with no symptom of internal-browning. Induced mutation by gamma radiation showed that ‘Nang Lae’ receiving the radiation at 80 and 100 Gy of gamma rays produced albino while ‘Phetchaburi’ receiving radiation at the rate of 60, 80 and 100 Gywas able to produce 3, 3 and 2 pineapple plants with good characteristics respectively. ‘Sawee’ receiving radiation with gamma rays at the rate of 20, 40 and 60 Gy was able to produce 5, 7 and 5 plants with good characteristics respectively.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด การวิจัยเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อในหมู่บ้าน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก