สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
แพรวพรรณ เกษมุล - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Diversity of Genus Diospyros in Southern Thailand Using RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA) Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แพรวพรรณ เกษมุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Praewphan Ketsamul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จรัสศรี นวลศรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Charassri Naulsri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมพืชสกุล Diospyros จากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง และสงขลา จำนวน 16 ชนิด (species) 94 ต้น และไม่ทราบชนิดอีก 2 ต้น รวมทั้งสิ้น 96 ต้น ตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้น ร่วมกับการใช้เทคนิคอาร์เอพีดี จากการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา พบความแตกต่างของลักษณะใบ ที่สามารถแยกความแตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจน จากนั้นทำการทดสอบด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี เบื้องต้นใช้ไพรเมอร์จำนวน 60 ไพรเมอร์ คัดเลือกเพียง 8 ไพรเมอร์ เพื่อศึกษาความแปรปรวนของตัวอย่างพืชที่เก็บมาทั้งหมด พบแถบดีเอ็นเอทั้งสิ้น 168 แถบ เป็นแถบที่ให้ความแตกต่างจำนวน 167 แถบ (99.40%) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ และความใกล้ชิดทางพันธุกรรมโดยใช้วิธี UPGMA จากโปรแกรม NTSYS (Version 2.1) ทั้ง 96 ตัวอย่างมีค่าดัชนีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมอยู่ระหว่าง 0.404-0.994 เฉลี่ยเท่ากับ 0.580 สามารถแบ่งกลุ่มพืชที่ศึกษาได้เป็น 4 กลุ่ม แยกตามชนิดค่อนข้างชัดเจน และพบว่าใน 16 ชนิดของพืชสกุล Diospyros ที่ศึกษาครั้งนี้ D. areolata และ D. philippensis มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด ในขณะที่ D. diepenhorstii และ D. wallichii มีความห่างไกลทางพันธุกรรมสูงที่สุด ตัวอย่างที่ไม่ทราบชนิดอีก 2 ต้น (unknown) มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับ D. decandra มากกว่าชนิดอื่น เมื่อพิจารณาภายในกลุ่มพืชชนิดเดียวกัน
บทคัดย่อ (EN): The study is to assess genetic diversity among 96 samples of Diospyros collected from southern Thailand (Chumphon, Surathani, Thang, Phatthalung and Songkhla province). Total 96 samples of 16 species and 2 unknown were first identified by morphological characteristics. RAPD markers (Random Amplified Polymorphic DNA) were then used to assess the genetic variation of the populations. In observation of leaf morphology, the differences of leaf venation were found. Total of sixty 10-base oligonucleotide primers for RAPD were first screened, and 8 primers were chosen to assess genetic variation among samples. From total 168 fragments generated by those primers, 167 were polymorphism (99.40%). Genetic similarities and relationships among 96 samples were estimated and a cluster analysis was performed using NTSYS program (Version 2.1). We found that genetic similarity among samples ranged from 0.404-0.994 with an average 0.580. The dendrogram showed that the 96 individuals were classified into four groups that clearly separated each species. From 16 species studied, the most similarity was found between D. areolata and D. philippensis while the most distance was between D. diepenhorstii and D. wallichii. The 2 unknown were found to be closer to D. decandra than other species.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245882/168097
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลฟาแลนอปซิสด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี เห็ดราสกุล Xylaria บางชนิดในพื้นที่แปลงปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราในภาคใต้ ประเทศไทย การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกกล้วยไม้ไทยสกุลหวายโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia ในสุกรพันธุ์เปียแตรง การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเพื่อการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุล อาร์เอพีดี การใช้ปุ๋ยกับลองกองในภาคใต้ของประเทศไทย การตรวจหา Suilysin และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่แยกได้จากสุกรป่วย สุกรปกติที่เป็นพาหะของโรคและคนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เทคนิค PCR

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก