สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สุวัฒน์ เจียระคงมั่น - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ชื่อเรื่อง (EN): Aromatic Non-Glutinous Intermediate-Amylose Rice Breeding for High Yield, Lodging and Submergence Tolerance as well as Resistance to Blast and Bacterial Leaf Blight Disease and Brown Planthopper
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวัฒน์ เจียระคงมั่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” แก่กรมการข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูง ไม่หักล้ม มีปริมาณอมิโลส 22-25 เปอร์เซ็นต์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล           ในปัจจุบันตลาดข้าวหอมมีการแข่งขันมากขึ้นด้วยราคาที่สูง หลายประเทศจึงมุ่งผลิตข้าวหอมเพื่อแย่งชิงสัดส่วนในตลาดข้าวหอมโลก โดยเฉพาะข้าวหอมเมล็ดยาวที่มีปริมาณอมิโลสปานกลางได้แย่งตลาดข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศ เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีพันธุ์ข้าวหอมที่มีคุณภาพดี มีปริมาณอมิโลสปานกลาง ผลผลิตสูง และปลูกได้ในพื้นที่ชลประทาน ดังนั้น จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอม โดยจากผลการดำเนินงานในปีแรก การตรวจสอบจีโนไทป์ของพันธุ์ข้าวสายพันธุ์พ่อแม่ที่ใช้ในการผสมพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่ต้องการ ซึ่งใช้แหล่งพันธุกรรมจาก พันธุ์/สายพันธุ์ SL-Sub/Xa21, MNTK-BB aroma, JasmineIR57514, กข49, IRRIC-BPH-WRI-67-111, Basmati 370 และ PSL90004-84-6-4-2 เพื่อคัดเลือกเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับการคัดเลือกลักษณะของแต่ละคู่ผสม พบว่าเครื่องหมายโมเลกุลดังกล่าวสามารถแยกความแตกต่างของข้าวสายพันธุ์พ่อแม่ได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกของแต่ละคู่ผสมในแต่ละชั่วรุ่นของการผสมกลับ และการประเมินความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้พันธุ์ กข47 กข49 และ IRRIC-BPH-WRI-67-111 ผลการทดสอบพบว่าข้าวพันธุ์ กข49 สามารถต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไบโอไทป์ 4 ที่เก็บจากจังหวัดอุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา และต้านทานต่อไบโอไทป์ 7 ที่เก็บจากจังหวัดลพบุรี และนครราชสีมา เหมือนกับพันธุ์เปรียบเทียบต้านทาน RathuHeenati ส่วนสายพันธุ์ข้าว IRRIC-BPH-WRI-67-111 ต้านทานต่อแมลงทุกไบโอไทป์ดีกว่าพันธุ์ กข47 แสดงให้เห็นว่าข้าวพันธุ์ กข49 และข้าวสายพันธุ์ IRRIC-BPH-WRI-67-111 ต้านทานต่อความหลากหลายของไบโอไทป์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงเลือก 2 พันธุ์/สายพันธุ์ดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปีที่ 2 แทนที่พันธุ์กข 47 การวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมีของสายพันธุ์พ่อแม่นั้นพบว่าพันธุ์ที่ประเมิน กข49 และ IRRIC-BPH-WRI-67-111 มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ต้านทานต่อโรคไหม้ และคุณภาพเมล็ดทางเคมีของข้าวสายพันธุ์ PSL90004-84-6-4-2 เป็นข้าวที่มีอมิโลสปานกลาง และมีความหอมมากดำเนินการผสมพันธุ์จนได้ลูกผสม BC1F1 จำนวน 2 คู่ ได้แก่คู่ผสมที่ 1 RD49 x Basmati 370 คู่ผสมที่ 2 RD49 x Basmati PSL90004-84-6-4-2 ประชากรลูกผสม F1 จำนวน 2 คู่ ได้แก่ คู่ผสมที่ 1 IRRIC-BPH-WRI-67-111 x Basmati 370 และคู่ผสมที่ 2 IRRIC-BPH-WRI-67-111 x Basmati PSL90004-84-6-4-2             ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้คือ ในปีแรกได้วิธีการประเมินความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ด้วยวิธี virulent test การวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมีของสายพันธุ์พ่อแม่ ซึ่งจะทำให้ได้ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง (promising line) ผลผลิตสูง มีปริมาณอมิโลส 22-25 เปอร์เซ็นต์ ไม่หักล้ม ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปีต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-09-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
14 กันยายน 2558
กรมการข้าว
ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล CNT07001-35-3-2-1: ข้าวอายุสั้นผลผลิตสูง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูงทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ที่พัฒนาได้จากพันธุ์ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อมิโลสปานกลาง ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อการหักล้มและน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก