สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารกลุ่มปลอดภัยในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
บุญญวดี จิระวุฒิ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้สารกลุ่มปลอดภัยในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of GRAS to Control Anthracnose Disease (Collectotrichum gloeosporiodes (Penz.) Sacc. on Mango (Mangifera indica L.) Fruit
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญญวดี จิระวุฒิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคแอนเทรคโนสของมะม่วง (Mangifera indica) มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณภาพของผลมะม่วงลดลง และอายุการเก็บระยะสั้น จึงศึกษาการใช้สารปลอดภัยในการควบคุมโรคแอนเทรคโนสของมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยการทดลองดำเนินการที่สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเกี่ยวและแปรรูปผลเกษตร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551-กันยายน พ.ศ. 2552 โดยการทดสอบประสิทธิภาพของสาร 3 ชนิดคือ propylparaben, optiphen และ salicylic acid มีความเข้มข้น 2 ระดับคือ 500 และ 1,000 mg/l เปรียบเทียบกับน้ำและ imazaril 500 mg/l การทดลองวางแผนแบบ CRD จำนวน 8 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าการใช้สารทั้ง 4 ชนิดนี้ มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า propyl paraben ความเข้มข้น 500 และ 1000 mg/l สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ 100% เช่นเดียวกับสารเคมี inazaril ที่ความเข้มข้น 500 mg/l รองลงมาคือ salicylic acid และ optiphen ที่ความเข้มข้น 1,000 mg/l สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ 71.26 และ 50.66% และเมื่อนำสารในกลุ่มนี้มาควบคุมโรคแอนเทรคโนสของมะม่วงที่เกิดจากการปลูกเชื้อ ซึ่งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน พบว่าการจุ่ม salicylic acid 1,000 mg/l มีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ 6.35% รองลงมาคือ salicylic 500 mg/l และ optiphen 1,000 mg/l มีความรุนแรงของโรค 15.16 และ 17.55% ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ ความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกับกรรมวิธีควบคุมที่ใช้น้ำ
บทคัดย่อ (EN): Anthracnose disease caused by Colletorichum gloeosporioides is the major problem of mango (Mangifera indica) witch reduces both quality and shelf life. The experiments were carried out at the Post-harvest and Processing Research and Development Office, Department of Agriculture from October 2008-September 2009. This research was conducted to study the effectiveness of generally recognized as safe (GRAS, chemicals or substances added to food) with were propyl paraben, optiphen and salicylic acid at two concentrations namely 500 and 1000 mg/l to control mango anthracnose disease. The experimental design was CRD with 5 replications and 8 treatments: propyl, optiphen and salicylic acid at 500 and 1,000 mg/l compared to water control and imazaril at 500 mg/l. The results showed significantly different in percentage of mycelical inhibition. Propyl paraben at 500 and 1,000 mg/l had the efficacy to inhibit the mycelial growth of C. gloeosporioides by 100% which was similar to imazaril application at 500 mg/l. Salicylic acid and optiphen at 1,000 mg/l could inhibit the mycelia growth of this fungi by 71.26 and 50.66% respectively. The effective treatment to control anthracnose of inoculated mango fruits after keeping at room temperature for 7 day were salicylic acid 1,000 mg/l, salicylic acid 500 mg/l and optiphen 1,000 mg/l which had disease severity 6.35, 15.16 and 17.55% respectively. The disease severity of other treatments was not significantly different form control.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารกลุ่มปลอดภัยในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
กรมวิชาการเกษตร
2553
เอกสารแนบ 1
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้สารสกัดจากเปลือกส้มโอในการควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงน้ำดอกไม้ การควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้โดยใช้ ไคโตซานร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุด ระยะเวลาการบ่มเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง การใช้สมุนไพรขอบชะนางในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริก ประสิทธิผลของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของถั่วเหลืองในระยะต้นอ่อน การทดสอบใช้เชื้อราและสารสกัดจากเชื้อรา Emericella nidulans ในการต่อต้านเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสของ Vanilla albida Blume การใช้สารกลุ่มปลอดภัยร่วมกับความร้อนในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหวาน การเปรียบเทียบผลของอัลลีโลพาทีจากสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคเน่าแห้ง ในกล้วยไม้หวายเอียสกุล การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้ของข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก