สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่
สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Freshwater Prawn (Macrobrachium rosenbergii) Culture System in Orchard Reservoir Chiang-mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): surit somboonchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิวุฒิ หวังชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Niwooti Whangchai
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ระบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาอัตราการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ใช้อาหารกุ้งก้ามกรามสำเร็จรูป ปล่อยอัตราความหนาแน่น 5, 10. 15 และ 20 ตัว/ตรม. การทดลองที่ 2 ศึกษาการใช้วัสดุอาหาร พื้นบ้านเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ปล่อยอัตราความหนาแน่น15 ตัว/ตรม. ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 อาหารกุ้งก้ามกรามสำเร็จรูป สูตรที่ 24 อาหารกุ้งก้ามกรามพื้นบ้าน น้ำหนักลูกกุ้งเฉลี่ย 6.5+0.55 และ 6.31+0.84 กรัม ตามลำดับ ให้อาหาร 3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวต่อ วัน ระยะเวลาในการเลี้ยง 150 วัน ผลการทดลองที่ 1 พบว่า น้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการเจริญเดิบโต ทั้ง 4 ระดับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ส่วนอัตราการรอดตาย และผลผลิตรวม พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติ (P <0.05) โดยอัตราการปล่อย 5 ตัว/ตรม. มีอัตราการรอดตายดีที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตรา10 15 และ 20 ตัว/ตรม. คำาอัตราการรอดตายเท่ากับ 74.00, 62 50. 60 33 และ 59 58 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตรวมอัตราการปล่อย 20 ตัว/ตรม. ได้น้ำหนักผลผลิตรวมสูงสุด รองลงมาได้แก่ อัตรา 15,10 และ 5 ตัว/ตรม. ค่าน้ำหนักผลผลิตรวม เท่ากับ 11.90. 9.05, 6.25 และ 3. 70 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนผลการทดลองที่ 2 พบว่า น้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อัตราการรอดตาย และผลผลิตรวม ทั้ง 4 สูตร ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0 05) ส่วนอัตราการเจริญเติบโตพบว่า มีความแตกต่างทางสถิติ (P <0.05) ซึ่งอาหารสูตรที่ 1 อัตราการเจริญเติบโตสูงสุด รองลงมาได้แก่ อาหารสูตรที่ 4 อาหารสูตรที่ 3 และอาหารสูตรที่ 2 ค่าอัตราการเจริญเติบโต เท่ากับ 0.31, 0.29. 0.25 และ 0.24 ตามลำดับ จากผลการทดลองทั้ง 2 สรุปได้ว่าที่ อัตราการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ที่ปล่อยอัตราที่ต่างกัน และ การใช้วัสดุอาหารพื้นบ้านเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ ไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ แต่จะส่งผลกระทบต่อ อัตราการรอด อัตราการเจริญเติบโต และผลผลิตรวม
บทคัดย่อ (EN): The study on freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) culture system in orchard reservoir Chiang-Mai Province was conducted. This research was divided into 2 parts. The first experiment was set up to study the suitable stocking density including 5, 10. 15 and 20 prawns/m.2 The second experiment was put up to determine the effect of feed using 4 different teed formula. Prawns with the initial weight of 6.51±0.55g (experiment 1) and 6.31±0.84 g (experiment2) were stocked and feed at the rate of 3-5% of body weight for 150 days. In first experiment, there were not significantly different in mean weight gain, FCR and ADG (P>0.05). Survival rate and overall production were significantly different (P<0.05). The best survival rate was found in the 5 prawns/m.2 stocked. The survival rate of prawns stocked with 5, 10, 15 and 20 prawns/m.2 were 74.00 %, 62.50 %, 60.33 % and 59.58 %, respectively. The overall production of 20, 15, 10 and 5 prawns/m.2 was 11.90, 9.05, 6:25 and 3:70 kg, respectively. In second experiment there were not significantly different in mean weight gain, FCR, survival rate and overall production (P-0.05). ADG was significantly different (P<0.05). In conclusion, the stocking rate and feed formula were not influence Macrobrachium rosenbergii cultured system in orchard reservoir in mean weight gain and FCR: however, they affect in survival rate, ADG and overall production.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-004.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/New%20Folder/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%20%20%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%202548(%E0%B8%99%E0%B8%81)/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาระบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในร่องสวนผลไม้ จ.เชียงใหม่ ระบบการเลี้ยงแบบรวมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน การศึกษาระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง การศึกษาระบบอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง การศึกษาแหล่งที่มาและการใช้แร่ธาตุหลักในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม(Macrobrachium rosenbergii) และกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei)ในระบบการเลี้ยงแบบปิด การเสริมกุ้งก้ามกรามในระการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในร่องสวนปาล์มน้ำมันด้วยวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การศึกษาพฤษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ การเพิ่มผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน โดยเลี้ยงร่วมกับวัสดุเทียมเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยขณะกุ้งลอกคราบ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก