สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาตะเพียนด้ยอาหารผสมกากตะกอนจากโรงงานผลิตเบียร์
วิทยา ตินนังวัฒนะ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาตะเพียนด้ยอาหารผสมกากตะกอนจากโรงงานผลิตเบียร์
ชื่อเรื่อง (EN): Feeding of Thai Silver Barb, Barbodes gonionotus (Bleeker) with Brewery Activated Sludge
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิทยา ตินนังวัฒนะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวี วิพุทธานุมาศ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Barbodes gonionotus
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้นำเอากากตะกอนจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ซึ่งเป็นของเสียทางอุตลาหกรรมมาใช้ผสมในอาหารปลาสำหรับเลี้ยงปลาตะเพียนขาวด้วยจุดประสงค์ในการลดต้นทุนการเลี้ยงปลา และนำของเสียกลับมาใช้ในการเกษตรกรรม จัดการทดลองแบบ CRD ออกเป็น 6 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ผสมอาหารปลาด้วยกากตะกอนเบียร์ 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยจัดให้สูตรอาหารทั้ง 6 สูตร มีโปรตีนและพลังาน (GE) ใกล้เคียงกัน นำอาหารสูตรเหล่านี้ไปเลี้ยงปลาตะเพียนขาวขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 0.68±0.04 กรัม และความยาวเฉลี่ย 3.13±0.13 เซนติมตร จำนวน 50 ตัว ในถังพลเสติกขนาด 5OX8OX60 เซนติเมตร บรรจุน้ำ 150 ลิตร มีการให้อากาศผ่านหัวทราย 1 ชุด และให้มีการถ่ายเทน้ำแบบไหลผ่าน 1 ลิตร/นาที ให้อาหารตามแผนการทดลอง 2 ครั้งต่อวัน ทำการสุ่มชั่งวัดขนาดลูกปลทุก ๆ 2 สัปดาห์ จากการศึกษาเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ปลาละเพียนขาวมีน้ำหนักเฉลี่ย 8.90±1.40, 12.52±0.11, 7.83±0.88,12.21±1.20, 10.83±1.89 และ 10.89±1.32 กรัม ตามลำดับ ความยาวเฉลี่ย 8.51±1.06, 9.8±0.09,8.16±0.38, 9.59±0.37, 9.48±0.37 และ 8.89±0.53 เซนติเมตร ตามลำดับ มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 94.00±2.83,93.00±9.90,92.00±11.32, 93.00±7.07, 96.00±6.93 และ 91.33±5.03 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่าน้ำหนักเฉลี่ย, ความยาวเฉลี่ย, อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ, ประสิทธิภาพของโปรตีนในอาหาร และอัตราการรอดตายของทั้ง 6 ชุดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงอัตราการกินอเหาร, โปรตีนที่กิน และพสังงานที่กินเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณา จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าสามารถผสมกากตะกอนจากโรงงานผลิตเบียร์ในอาหารเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ถึง 50 เปอร์เซ็นดี ของปริมาณอาหาร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=156
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาตะเพียนด้ยอาหารผสมกากตะกอนจากโรงงานผลิตเบียร์
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2543
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การศึกษาการผลิตปลาหมักเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงปลาแรด การศึกษาและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการผลิตอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงปลาแรด การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเลี้ยงปลาดุกและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล ผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดาริน Synchiropus splendidus, Herre, 1927 ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต : การยอมรับอาหารและการสืบพันธุ์ อาหารบำรุงสมอง ศึกษาการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวนีโอเมลโดยวิธีแช่แข็งเพื่อผลิตพันธุ์ปลาตะเพียนเพศเมียล้วน ผลการเลี้ยงไก่กระทงพื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมและข้าวเปลือกบด การศึกษาชนิดของอาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาไซบีเลี่ยน สเตอร์เจียน ในสภาพการเลี้ยงของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก