สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
กิตติรัตน์ รสจันทร์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติรัตน์ รสจันทร์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตข้าว และปัญหาการผลิตข้าวของเกษตรกร ศึกษาจากเกษตรกรตัวอย่าง 295 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรร้อยละ 68.81 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.26 ปี ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.94 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.95 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิก ธกส. ร้อยละ 40.34 ใช้เงินทุนของตนเอง มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 10.34 ไร่ ส่วนใหญ่มีที่นาเป็นของตนเองและไม่มีเครื่องจักรกลในครอบครอง ร้อยละ 66.44 ผลิตข้าวทั้งฤดูนาปีและนาปรัง ที่นาเป็นนาลุ่มและสภาพดินเป็นดินเหนียว ร้อยละ 50.51 ปลูกข้าวเหนียวประมาณครึ่งหนึ่งใช้พันธุ์ข้าว กข. 6 ส่วนใหญ่ปลูกโดยการปักดำ ร้อยละ 36.27 ไม่มีการปรับปรุงดิน โดยจะตกกล้าในช่วงเดือนพฤษภาคม หว่านข้าวแห้งช่วงเดือนเมษายน และหว่านน้ำตมในเดือนมิถุนายน โดยที่เกษตรกรร้อยละ 70.17 เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง ร้อยละ 62.04 เปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่ทุก 2 ปี ใช้เมล็ดพันธุ์นาดำเฉลี่ย 8.80 กิโลกรัมต่อไร่ นาหว่านข้าวแห้งเฉลี่ย 14.35 กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านน้ำตมเฉลี่ย 24.17 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เตรียมเมล็ดพันธุ์โดยแช่น้ำธรรมดาเพื่อแยกข้าวลีบออกและทำแปลงกล้าขนาดใหญ่ตามกระทงนา ร้อยละ 53.22 ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว โดยใส่ปุ๋ยรองพื้นเมื่อข้าวแตกกอแล้ว ในอัตราเฉลี่ย 25.75 กิโลกรัมต่อไร่ สูตรที่ใช้มากคือ 16-20-0 และ 16-16-8 ส่วนปุ๋ยแต่งหน้าเกษตรกรส่วนใหญ่ใส่หลังข้าวตั้งท้อง โดยใส่ในอัตราเฉลี่ย 21.53 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้สูตร 15-15-15 เป็นปุ๋ยแต่งหน้า มีการซ่อมคันนาและกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยในนาข้าว แต่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำในนาได้ตลอดฤดูกาล ร้อยละ 51.19 ไม่มีการกำจัดวัชพืชในนาข้าว ร้อยละ 65.08 ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว ส่วนใหญ่การตัดสินใจเก็บเกี่ยวข้าวจะพิจารณาจากเมล็ดข้าวว่าสุกแก่ทั้งรวง เกษตรกรร้อยละ 64.07 ใช้เครื่องนวดข้าว โดยร้อยละ 41.02 ตากข้าวในนาประมาณ 3 วัน เก็บรักษาข้าวเปลือกโดยเทกองไว้ในยุ้งฉาง ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 1,075.84 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 474.31 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ทยอยขายผลผลิตเมื่อต้องการใช้เงิน เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวมากใน 4 ประเด็น คือ ปัญหาเรื่องน้ำ สัตว์ศัตรูข้าว ความรู้การจัดการน้ำและการระบาดของวัชพืช และมีปัญหาเพียงเล็กน้อย 10 ประเด็น คือ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี การระบาดของโรค การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต การระบาดของแมลง การปรับปรุงบำรุงดิน การเก็บเกี่ยว ตาก นวดและเก็บรักษา ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการเพิ่มผลผลิตข้าว ความรู้เรื่องการจัดการแปลงกล้า ปัญหาสภาพพื้นที่/ดินและเมล็ดพันธุ์ ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัยเกี่ยวกับ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรยังมีการปฏิบัติไม่ถูกหลักวิชาการ จำเป็นต้องเร่งแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ ควรแนะนำให้เกษตรกรมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุก่อนทำนา การตกกล้าควรทำเป็นแปลงย่อยกว้าง 1-2 เมตร ยาวตามแปลงนาแต่ไม่ควรทำเป็นแปลงขนาดใหญ่ตามกระทงนา และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม การผลิตข้าวของเกษตรกรอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก