สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคราแป้งของเงาะ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคราแป้ง
พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์, พรศิลป์ สีเผือก, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคราแป้งของเงาะ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคราแป้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Distribution and Severity Assessment of Powdery Mildew of Rambutan in Nakhon Sri Thammarat Province and Developing the Control Approach
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคราแป้งของเงาะ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคราแป้ง ชัยสิทธิ์ ปรีชา 1/ เวที วิสุทธิแพทย์ 1/ และพรศิลป์ สีเผือก2/ บทคัดย่อ ปัจจุบันโรคราแป้งที่เกิดจากเชื้อ Pseudoidium nephelii ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงในการผลิตเงาะ จากการประเมินความรุนแรงของโรคราแป้ง พบว่าความรุนแรงของโรคราแป้งในเขต อำเภอพิปูน ชะอวด และ สิชลจังหวัดนครศรีธรรมราช สัมพันธ์กับระยะการพัฒนาของเงาะ ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับระยะการพัฒนาของเงาะ คือ ระยะใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ผลอ่อน การพัฒนาผล จนถึงผลสุก ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นจากระยะผลิดอก ติดผล การพัฒนาของผล จนถึงระยะเก็บเกี่ยว ส่วนในระยะการพัฒนาใบ จะพบอาการรุนแรงในระยะใบอ่อนไม่พบอาการบนใบที่อยู่ภายนอกทรงพุ่มแต่จะพบเฉพาะบนกิ่งน้ำค้างภายในทรงพุ่มเท่านั้นอาการบนใบอ่อนจะรุนแรงสังเกตได้ชัดเจนจากเชื้อสีขาวเหมือนแป้งพบทั้งบนใบและใต้ใบ มีอาการเหลืองซีด อาการรุนแรงใบจะไหม้ เป็นแหล่งของเชื้อที่แพร่ระบาดไปยังดอกและผล ใบแก่อาการไม่ชัดเจนมีลักษณะเป็นจุดด่างสีเหลือง เชื้อรา Pseudoidium nephelii การศึกษาตำแหน่งของการเกิดโรคบนทรงพุ่ม พบว่า ด้านล่างจะมีความรุนแรงสูงกว่า ตำแหน่งกลาง และบนทรงพุ่ม มีความรุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ากับ 41.72, 23.08 และ 10.19 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนอิทธิพลของทิศทางรับแสงบนทรงพุ่มต่อการเกิดโรคราแป้งของเงาะ พบว่าตำแหน่งกิ่งในทิศทางต่าง ๆ ที่รับแสงไม่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค พืชชนิดอื่นที่น่าจะเป็นพืชอาศัยโรคราแป้งจากการสำรวจได้แก่ มะขาม (tamarind :Tamaridus indica L.: Fabaceae) และยางพารา (Para rubber: Hevea brasiliensis L.: Euphobiaceae) เมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานเพื่อเปรียบเทียบกับโรคราแป้งในเงาะ มะขาม และยางพารา พบว่าขนาดของสปอร์และก้านชูสปอร์ของเชื้อจากเงาะ และมะขามไม่แตกต่างกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าเชื้อที่เกิดกับยางพารา เชื้อราที่เจริญบนเงาะมีขนาดของสปอร์เฉลี่ย 16.19x31.32 ไมครอน มีจำนวนสปอร์บนก้านชูสปอร์ 1 สปอร์ และขนาดของก้านชูสปอร์เฉลี่ย 5.36 x 65.99 ไมครอน เชื้อจากมะขามมีขนาดของสปอร์ 14.74 x33.99 ไมครอน มีจำนวนสปอร์บนก้านชูสปอร์ 1 สปอร์ และขนาดของก้านชูสปอร์เฉลี่ย 7.00x69.50 ไมครอน ส่วนเชื้อจากยางพารามีขนาดของสปอร์เฉลี่ย 19.00x33.28 ไมครอน มีจำนวนสปอร์บนก้านชูสปอร์ 1 สปอร์ และขนาดของก้านชูสปอร์เฉลี่ย 7.65x98.51 ไมครอน จากการศึกษาอิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์และสภาพแสงที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อราแป้งในห้องปฏิบัติการ พบว่าที่ความชื้นสัมพัทธ์ 65-70 และ 95-100 % ไม่มีผลต่อการเจริญงอก germination tube ในการงอกของสปอร์ แต่ความเข้มของแสงมีอิทธิพลต่อการงอกของสปอร์ พบว่าในสภาพแสงเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 0, 500 และ 1,000 ?mol/m2/s มีผลให้การงอกสปอร์ความยาวของ germination tube แตกต่างกันคือ 92.80, 31.43 และ 5.30 ไมครอน ตามลำดับ (p=.05) การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ และสารเคมีที่ผ่านการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการในการควบคุมโรคราแป้งในแปลงเงาะของเกษตรกร โดยฉีดพ่นจำนวน 4 ครั้ง ที่ระยะแทงช่อดอก และ ผลอ่อน พบว่าทั้ง 8 กรรมวิธี มีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) kresoxim-methyl มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคราแป้งได้มากที่สุด คือ 88.61 เปอร์เซ็นต์ ความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด เท่ากับ 4.21 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ carbendazim , tridemorph , copper oxychloride , sulfur, สารเคมีที่เกษตรกรใช้ และแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis isolate S001 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคราแป้ง คือ 77.71, 68.78 , 62.82, 56.90, 36.07 และ 38.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยมีผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด คือ 95.55, 90.44, 86.00, 83.33, 80.67, 71.34 และ 42.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เทียบกับการไม่ใช้สารเคมีที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเพียง 20.14 เปอร์เซ็นต์ คำสำคัญ : การจัดการ โรคราแป้ง เพลี้ยแป้ง 1/คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 2/คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80240
บทคัดย่อ (EN): Distribution and Severity Assessment of Powdery Mildew of Rambutan In Nakhon Sri Thammarat Province and Developing the Control Approach Chaisit Preecha1/ Wethi Wisutthiphaet 1/ and Pornsil Seephueak2/ Powdery mildew of rambutan cause by Pseudoidium nephelii was severe damaged rambutan produce in recent. The survey of powdery mildew at growing area at Phipoon, Chauad and Sichon disdtric in Nakhon Si Thammarat province was done. The occurrence and severity estimation reveal that disease severity of powdery related to growing sage of plant. Powdery mildew occurred high incidence and severity at young leaf stage and decreased at old leaf and flowering stage, then the severity increased at young fruit setting until mature fruit and harvesting stage. At the vegetable stage, powdery mildew was observed at water sprout inner canopy only, it was not observed at outside canopy. They became to be the main source of inoculums spreading to flowering stage and damaging fruit quality. Disease was more severe at young leaf stage which white likely powder of pathogen on both upper and lower side, chlorosis and/ or necrosis and blight was observed at severe damage, but at old leaf, symptom not distinguish which blur chlorosis. Data revealed that disease severity related to position of canopy. Disease severity on fruit at lower canopy was high of 41.72 % and significant decreased to 23.08 and 10.19 % at the upper and on the top of canopy (p =.05). For the sunlight direction expose to canopy did not effect to disease severity. Potential alternate plant found powdery symptom in this survey were tamarind (Tamaridus indica L.: Fabaceae) and Para rubber (Hevea brasiliensis L.: Euphobiaceae). Morphology study of causing agent of powdery mildew on rambutan, Pseudoedium nephelii was single conidium on conidiophore. It was similar to causing agent of tamarind and Para rubber. Spore and conidiophore size collected from rambutan were 16.19x31.32 ?m and 5.36 x 65.99 ?m; from tamarind were 7.00x69.50 ?m and 14.74 x33.99 ?m smaller than spore and conidiophore size collected from Para rubber of 7.65x98.51 ?m and 19.00x33.28 ?m respectively (p = .05). Effect of relation humidity and light intensity on spore germination tube in vitro was studied. The result showed that different interval of relative humidity at 65 – 70 % and 95-100 % were not effect on spore germination. Only light intensity was effect on spore germination. When varied at 0, 500and 1,000 ?mol/m2/s, germination tube were significantly growth of 92.80, 31.43 and 5.30 ?m respectively (p=.05) Screening for efficacy fungicide and antagonistic microorganism in vitro and growing orchard of farmer was carried out. Most treatments were sprayed 4 times during flowering and young fruit development, except conventional was 2 times sprayed. The control efficacy was significant higher from untreated control. Kresoxim-methyl was the highest efficacy and fallowed by carbendazim , tridemorph , copper oxychloride , sulfur,and antagonistic bacterial Bacillus subtilis isolate S001 which control efficacy 88.61, 77.71, 68.78 , 62.82, 56.90, 36.07 and 38.56 % respectively and marketable yield of 95.55, 90.44, 86.00, 83.33, 80.67, 71.34 and 42.67 % respectively, compared with untreated control of 20.14% Keywords: Powdery mildew, Rambutan disease severity, Antagonist 1/Faculty of Agriculture, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Thung Song, Nakhon Si Thammarat, 2/Faculty of Agriculture, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Thung Yai, Nakhon Si Thammarat,
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคราแป้งของเงาะ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคราแป้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2555
การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การพัฒนาแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ การตรวจสอบความต้านทานโรคราแป้งในถั่วลันเตาโดยเครื่องหมายโมเลกุล การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลบ่งชี้ลักษณะต้านทานโรคราแป้ง และการรวมยีนต้านทานในถั่วเขียว ผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าต่อการลดโรคราแป้งในพืชวงศ์แตง ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร การประเมินความต้านทานของพันธุ์ถั่วเขียวต่อเชื้อรา Oidium sp.สาเหตุโรคราแป้ง การคัดเลือกพืชสมุนไพรเพื่อยับยั้งการเจริญของโรคราหลังการเก็บเกี่ยวของเงาะโรงเรียน ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์ใบหม่อน พันธุ์ต่างๆ ที่มีลักษณะต้านทานโรคราแป้ง (Del) การทดสอบผลิตภัณฑ์สารสกัดป้องกันกำจัดโรคราแป้งของถั่วหวานและผงสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืชในดิน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก