สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
จรัสพิมพ์ บุญญานันต์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Guidelines to Conserve, Revitalize and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรัสพิมพ์ บุญญานันต์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันลำห้วยโจ้และพื้นที่โดยรอบประสบปัญหาในด้นต่างๆ เนื่องจากความเจริญเติบโตของชุมชนเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรม ไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดปัญหาการรกล้ำพื้นที่ลำน้ำห้วยโจ้ การพังทลายของตลิ่ง สภาพแวดล้อมพื้นที่ริมน้ำเสื่อมโทรม และปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไปในอนาคตของพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสำรวจ และการสังเกตการณ์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆลงในผังพื้นฐานการซ้อนทับแผนที่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา การใช้สถิติแบบร้อยละ และค่าเฉลี่ ในที่สุดแล้วจึงนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาประมวลผลร่วมกัน เพื่อสรุปถึงผังพื้นที่แสดงศักยภาพและข้อจำกัดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ จากนั้นคัดเลือกพื้นที่สาธิต ทำการเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทางด้านกายภาพของพื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและความต้องการของชุมชน ผลของการวิจัยสรุปได้ถึงแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา ภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ที่เหมาะสม โดยการกำหนดขอบเขตของพื้นที่อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำให้ชัดเจน การส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์และการอยู่กับธรรมชาติการเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ การฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การลดการปล่อยน้ำเสียจากสถานประกอบการและครัวเรือนลงในลำน้ำการขุดลอกแหล่งน้ำในบริเวณที่ตื้นเขิน กำจัดวัชพืชทั้งในน้ำ และบนฝั่ง การปลูกพืชคลุมดินบริเวณริมตลิ่ง เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นฟูระบบนิเวศริมน้ำ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละบริเวณให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำ โดยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการ การเสนอแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ เป็นการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์พื้นที่ริมน้ำที่หลากหลายช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ช่วยสร้างระบบเชื่อมโยงของพื้นที่เปิดโล่ง ตลอดแนวลำน้ำห้วยโจ้ ปรับปรุงทั้งในเรื่องทัศนียภาพประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ และการเข้าถึงของพื้นที่เดิม และปรับปรุงการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ริมน้ำและพื้นที่ชุมชนที่อยู่โดยรอบและที่สำคัญที่สุดคือช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศภูมิทัศน์ริมน้ำที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Nowadays, Huay Jo canal and its surroundings are experiencing problems due to urban growth which has caused changes in land uses from agricultural areas to residential areas. These changes have resulted in the problems of the encroachment of the Huay Jo canal area, erosion of its bluffs, environmental degradation and insufficiency of water quantity during the dry season. This research project aims to study the appropriate practices for the site in future Tools used to collect data in this study consisted of questionnaires, surveys, and observations. Then, the collected data were analyzed by appropriate methods such as mapping analysis of concerned factors, the overlay mapping analysis, and the statistics, to summarize the potential and the conservation restrictions areas. Finally, demonstration sites were chosen and designed following the developed guidelines corresponding to the eco-system, and the needs of the communities. The results of this research summarized the appropriate practices of conservation, restoration and development of the Huay Jo waterfront landscape areas by clearly identifying the scopes of the restoration and development, promoting activities in accordance with conservation and with nature, increasing water retention, improving water quality, reducing emissions and wastewater from the household into the canal, defining the objectives and land uses of each area to suit the needs of the communities, Improving the waterfront landscape areas to suit the design purposes, minimizing the impacts on the environments and encouraging community participations in all stages of the project’s developments. The proposed guidelines would be the creative utilization of the areas. It created a system linkage of open spaces along the Huay Jo canal, improved views, land uses and accesses to the areas. Most importantly, it helped restore the waterfront landscape ecology that was appropriate to the habitats of all living things, people, fauna, and flora, to achieve sustainability in the future.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-030
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปงเพื่อเป็นพื้นที่นันทนาการทางธรรมชาติ การศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอบรมเพื่อฟื้นฟูและปรับพฤติกรรมผู้กระทำผิดกฎหมาย กรณีเมาแล้วขับ การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าจังหวัดพะเยา แนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าใยกล้วย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนบ้านแก่งเป้า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ การสำรวจข้อมูลด้านการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของ - ปลาบึกในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนจังหวัดมหาสารคาม การพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังด้านการงานด้วยกิจกรรมเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ การปรับตัวอยู่ร่วมกับน้ำท่วมและกลยุทธ์สำหรับอนุรักษ์มรดกภูมิทัศน์วัฒนธรรม: ความท้าทายสำหรับภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย แนวทางการพัฒนาชุมชนตลาด : กรณีศึกษาชุมชนตลาดริมน้ำ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก