สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอัตราส่วนของฟางถั่วเหลืองกับฟางข้าวในการบ่มด้วยแอมโมเนียที่มีผลต่อสมรรถภาพของโค
อนุชา ศิริ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตราส่วนของฟางถั่วเหลืองกับฟางข้าวในการบ่มด้วยแอมโมเนียที่มีผลต่อสมรรถภาพของโค
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Ratio of Soybean Straw to Rice Straw in Ammonia Treatment on Performance of Cattle
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุชา ศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anucha Siri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sompong Sruamsiri
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองใช้โครุ่นลูกผสมพันธุ์ขาว-ดำ เพศเมีย น้ำหนักเริ่มต้น 140.0 - 180.0 กิโลกรัม จำนวน 15 ตัว เลี้ยงด้วยฟางหมักยูเรียที่ประกอบด้วยฟางถั่วเหลืองและฟางข้าวอัตราส่วนต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ 1) ฟางถั่ว 30% ฟางข้าว 70% 2) ฟางถั่ว 50% ฟางข้าว 50% และ 3) ฟางถั่ว 70% ฟางข้าว 30% วางแผนการทดลองแบบ Complete Block Disign การทดลองแบบออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการหาการย่อยได้ของฟางหมักใช้เวลาเก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ และส่วนที่สองเป็นการหาปริมาณการกินฟางหมักและน้ำหนักตัวเพิ่มของโค โคทุกตัวได้รับอาหารข้นตัวละ 1 กิโลกรัมต่อวัน ใช้เวลาเก็บข้อมูล 5 เดือน ฟางหมักที่มีฟางถั่วเหลืองมากขึ้น มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น ฟางหมักที่มีฟางถั่วเหลือง 50% และ 70% มีการย่อยได้ของโภชนะสูวกว่า (P<0.05) ฟางหมักที่มีฟางถั่วเหลือง 30% ยกเว้นการย่อยได้ของเยื่อใยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โคกลุ่มฟางหมักที่มีฟางถั่วเหลือง 70% มีวัตถุแห้งฟางหมักที่กินสูงสุด (4.41% น้ำหนักตัว) ซึ่งแตกต่างจากโคกลุ่มฟางถั่วเหลือง 30% (3.68% น้ำหนักตัว) และกลุ่มฟางถั่วเหลือง 50% (3.88% น้ำหนักตัว) อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โคกลุ่มฟางหมักที่มีฟางถั่วเหลือง 70% ค่อนข้างจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มต่อวัน (0.54 กิโลกรัมต่อวัน) สูงกว่า 2 กลุ่มทดลองอื่น (0.45 และ 0.41 กิโลกรัมต่อวันในโคกลุ่มฟางถั่วเหลือง 30 และ 50% ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
บทคัดย่อ (EN): Fifteen Holstein Friesian x Native heifers with an initial body weight of 140.0-180.0 kilograms were assigned into three urea treated straw groups with different combinations of soybean straw (ss) and rice straw (RS), by using Randomized Complete Block Design. The animals were fed with urea treated straw ad libitum plus 1.0 kilogram of concentrate per head per day except during the disgestivility trial of treated straw. The feeding period was 5 1/2 months. Protein content was increased in treated straw with higher soybean straw in the combination. Untrient digestibility levels of the two treatment with high soybean straw (50% SS 50% RS and 70% SS 30% RS) were higher (P<0.05) than the treatment with low soybean straw (30% SS 70% RS), except for crude fiber. Heifers in the treatment of 70% SS 30% RS had higher (P>0.05) daily dry matter intake (4.41% LW) and tended to have higher (P<0.05) daily body weight gain (0.54 Kg/d) than those in the other two treatments (3.68 and 3.88% LW of DM intake, and 0.45 and 0.41kg/d of BW gain for 30% SS 70% RS and 50% SS 50% RS, respectively)
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-36-016
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 200,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2550/anucha_siri_03/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2536
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอัตราส่วนของฟางถั่วเหลืองกับฟางข้าวในการบ่มด้วยแอมโมเนียที่มีผลต่อสมรรถภาพของโค
อนุชา ศิริ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2536
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ฟางถั่วเหลืองเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคทดแทนฝูง สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลของการใช้เปลือกและซังข้าวโพดหมักร่วมกับฟางข้าว ในอาหารโคนมรุ่น ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น สมรรถภาพในการผลิตของแกะที่ได้รับฟางข้าวหมักยูเรียหรือฟางข้าวราดกากน้ำตาล-ยูเรียเสริมและไม่เสริมใบกระถินสดเทียบกับหญ้าสด ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ ผลของฟางข้าวต่อสภาพรีดักชั่นในดินนา และปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทน (การทดลองในกระถางปลูกข้าว) การจัดการฟางข้าวและวิธีการควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งโดยไม่เตรียมดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก