สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798 ในจังหวัดพังงา
ทิพาพร ไครทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798 ในจังหวัดพังงา
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive Biology of Mantis Shrimp, Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798in Phangnga Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิพาพร ไครทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Natedow Wisesso
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาอัตรารอดของลูกหอยชักตีนขนาด 1 เซนติเมตรและ 2 เซนติเมตร ที่ระดับความเค็ม 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพันส่วน (ppt) ที่ความหนาแน่น 30 ตัวต่อน้ำ 3 ลิตร ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design : CRD) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ทดลองในลูกหอยขนาดความยาวเปลือก 1 เซนติเมตร และทดลองในลูกหอยขนาดความยาวเปลือก 2 เซนติเมตร ในแต่ละช่วงแบ่งเป็น 5 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงหอยชักตีนที่ระดับความเค็ม 10 ส่วนในพันส่วน (ppt) ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงหอยชักตีนที่ระดับความเค็ม 15 ส่วนในพันส่วน (ppt) ชุดการทดลองที่ 3 เลี้ยงหอยชักตีนที่ระดับความเค็ม 20 ส่วนในพันส่วน (ppt) ชุดการทดลองที่ 4 เลี้ยงหอยชักตีนที่ระดับความเค็ม 25 ส่วนในพันส่วน (ppt) และชุดการทดลองที่ 5เลี้ยงหอยชักตีน ที่ระดับความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน (ppt)ผลการทดลองในหอยชักตีนขนาด 1 เซนติเมตร พบว่าลูกหอยที่เลี้ยงที่ความเค็ม 10 ส่วนในพันส่วน เริ่มตายที่เวลา 6 ชั่วโมง และตาย 100% ที่เวลา 24 ชั่วโมง ลูกหอยที่เลี้ยงที่ความเค็ม 15 และ 20 ส่วนในพันส่วน (ppt) เริ่มตายที่เวลา 48 ชั่วโมง และลูกหอยที่เลี้ยงที่ความเค็ม 25 และ 30 ส่วนในพันส่วน (ppt) พบตัวตายเล็กน้อย ที่เวลา 96 ชั่วโมง และอัตราการรอดตายของหอยชักตีนขนาด 1 เซนติเมตรที่ระดับความเค็ม 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพันส่วน (ppt) เท่ากับ 0, 84.22, 95.55, 98.89 และ 97.78 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับผลการทดลองในหอยชักตีนขนาด 2 เซนติเมตร พบว่าลูกหอยที่เลี้ยงที่ระดับความเค็ม 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพันส่วน (ppt) ที่เวลา 1, 3, 6, 9 และ 12 ชั่วโมง ไม่พบการตายของลูกหอย แต่พบว่า ลูกหอยที่เลี้ยงที่ความเค็ม 10 ส่วนในพันส่วน (ppt) เริ่มตายที่เวลา 24 ชั่วโมง และตาย 100% ที่เวลา 36 ชั่วโมง ที่ระดับความเค็ม 15, 20 , 25 และ 30 ส่วนในพันส่วน (ppt) มีอัตรารอดเท่ากับ 100% ที่ระดับความเค็มที่พบการตายของลูกหอยชักตีน สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกหอยที่ตาย พบว่าลูกหอยไม่มีการเคลื่อนที่และไม่โผล่ออกจากเปลือก ส่วนลูกหอยปกติมีการเคลื่อนที่ และเกาะบริเวณหัวทรายกินอาหารตามปกติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798 ในจังหวัดพังงา
กรมประมง
30 เมษายน 2555
กรมประมง
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของความเข้มแสงต่อ ผลผลิต อัตราการรอดตาย และ ระยะเวลาการพัฒนาเข้าระยะ Post larva ของกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricius, 1798) ผลของอาร์ทีเมียต่อผลผลิต อัตราการรอดตาย และเวลาการพัฒนาเข้าระยะโพสท์ลาร์วาของกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricius, 1798) ค่าพารามิเตอร์การเติบโตของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) บริเวณจังหวัดสตูล การอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) โดยใช้วิธีการต่างกัน ผลของการจำกัดแสงในช่วงระยะเจริญเติบโตที่มีต่อสมรรถภาพทางการสืบพันธุ์ของห่านพันธุ์จีน การศึกษาลักษณะทางเนื้อเยื่อและรูปแบบการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของกั้งตั๊กแตนสามแถบ Miyakea nepa (Latreille, 1828)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก