สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด
พิเชษฐ์ กรุดลอยมา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด
ชื่อเรื่อง (EN): Corn Varietal Improvement
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิเชษฐ์ กรุดลอยมา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิเชษฐ์ กรุดลอยมา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด ประกอบด้วยกิจกรรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดฝักสด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม ให้ได้ผลผลิตสูงและทนทานแล้ง 2) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดฝักสดที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรคราน้ำค้าง พร้อมข้อมูลจำเพาะพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม และ 3) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเพื่อทำอาหารหมักสำหรับปศุสัตว์ในภาคใต้ ในกิจกรรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ปี 2547-2550 พบว่า สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ NSX 042029 ให้ผลผลิตสูง 1,106 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 และนครสวรรค์ 2 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน ร้อยละ 20 และ 4 ตามลำดับ ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า (ซีพี-ดีเค 888) มีลักษณะเด่นคือ มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคราน้ำค้าง ต้านทานโรคราสนิมและเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรอนุมัติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ “นครสวรรค์ 3” โดยในปี 2551-2552 เกษตรกรได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ไปปลูกเชิงพาณิชย์ จำนวน 190 ตัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 63,634 ไร่ นอกจากนี้ ยังได้พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมที่มีศักยภาพที่จะแนะนำส่งเสริมแก่เกษตรกรในอนาคต อีกจำนวนหนึ่ง สำหรับการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวาน ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยว CNSH 7550 ให้ผลผลิตสูง 2,910 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์การค้า พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน ร้อยละ 31 มีปริมาณวิตามินซีในเมล็ดเท่ากับ 14.23 mg/100 g ในขณะที่พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 มีเพียง 9.26 mg/100g สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์แรกของกรมวิชาการเกษตรที่อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อขอรับรองพันธุ์ต่อกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานที่เหมาะสมกับสภาพการผลิตของภาคใต้ คือข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยว CL081740 และ CL083856 เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานที่ให้ผลผลิตสูงในสภาพการผลิตของภาคใต้ เฉลี่ย 2,800-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ และเหมาะสมสำหรับการผลิตในสภาพที่ลุ่มดินนาภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม CNW 80 เป็นพันธุ์ข้าวโพดรับประทานฝักสด ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกได้ทั่วทั้งประเทศ ที่มีระบบน้ำชลประทาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการรับรองพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร และการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเพื่อทำอาหารหมักสำหรับการปศุสัตว์ในภาคใต้ พบว่าข้าวโพดไร่ลูกผสมนครสวรรค์ 2 มีศักยภาพในการทำอาหารหมักสำหรับการปศุสัตว์ โดยให้ผลผลิตน้ำหนักต้นสูงสุด 6.19 ตันต่อไร่ Dry Matter 55% โปรตีนหยาบ (Crude Protein) 7.9% ADF (Acid Detergent Fiber) 26 % และ NDF (Neutral Detergent Fiber) 48.86 % ซึ่งสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 2 โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมได้เฉลี่ย 365 กิโลกรัมต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Corn breeding project was conducted during 2006 – 2010, consisted of 3 activities; field corn breeding, specialty corn breeding and corn variety evaluation for silage. The objectives of the project were 1) corn breeding for high yield and drought tolerance hybrid with appropriate technologies 2) specialty corn breeding for high yield, good quality and downy mildew resistance with appropriate technologies 3) suitable corn variety for silage . Corn breeding for high yield and drought tolerance was conducted since 2004 and continued till 2010. NSX 042029 was a promising drought tolerance hybrids, yielded 1,106 kg/rai which was higher than Nakhon Sawan 72 by 20% and Nakhon Sawan 2 by 4%. Under one-month severe drought stress at flowering stage, NSX 042029 performed drought tolerance by grain yield 836 kg/rai (76% of normal condition). Researches on physiology of drought tolerance, appropriate technologies, hybrid seed production and pest resistance were summarized for supporting NSX 042029. In 2009, NSX 042029 was released by the Department of Agriculture as a new drought tolerance corn hybrid named “Nakhon Sawan 3 (NS3)”. During 2009-2010, drought tolerance corn hybrid: NS3, were promoted and disseminate in farmers’ areas approximately 65,000 rais. Furthermore, a number of promising hybrids and inbreds produced by this project will be evaluated and release for farmers in the future. Three promising sweet corn hybrids passed the step of yield evaluated during 2006-2010. Sweet corn hybrid “ CNSH 7550” was the outcome of this project together with supporting research on appropriate technologies and disease resistance. CNSH yielded 2,910 kg/rai which was higher than commercial sweet corn hybrid ( Hybrix 3) by 31%. CL08170 and CL083856 yielded between 2800 – 3000 kg/rai which suitable for the production after rice in Southern part of Thailand. Breeding for high yield waxy corn hybrid was also successful, CNW80 was a promising high yield waxy corn hybrid which yielded 1,731 kg/rai, good adaptability in the irrigation areas. CNW80 is going to be released by Department of Agriculture soon. Numbers of corn hybrid were evaluated for silage production in the southern part of Thailand. Nakhon Sawan 2 hybrid was found good quality for silage production. It gave high fresh plant weight (6.19 ton/rai) and high nutrient; dry matter 55%, Crud Protein 7.9%, Acid Detergent Fiber 26% and Neutral Detergent Fiber 48.86 %.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดเทียน การวิจัยเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อในหมู่บ้าน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก