สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีผสมระหว่างสูตร 16 – 20 - 0 และ 15 – 15 -15 ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าในระบบไฮโดรโพนิคส์
อารยา มุสิกา - มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีผสมระหว่างสูตร 16 – 20 - 0 และ 15 – 15 -15 ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าในระบบไฮโดรโพนิคส์
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of the Appropriate ratio of Chemical Fertilizer between 16 – 20 – 0 and 15 - 15 -15 Formula to growth of Chinese Kale in Hydroponics Systems
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารยา มุสิกา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิจพร ณ พัทลุง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 16-20-0 ทดแทนสารละลายธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของคะน้าในระบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งในการทดลองนี้ใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ประยุกต์ประดิษฐ์โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ประกอบด้วย การทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จํานวน 7 วิธีการทดลองดังนี้ 1) สารละลายมาตรฐาน (ชุดควบคุม) 2) ปุ๋ ยสูตร 15-15-15 3) ปุ๋ ยสู ตร 16-20-0 4) ปุ๋ ยนํ้าหมักชีวภาพ 5) ปุ๋ ย 15-15-15+16-20-0 (1:1) 6) ปุ๋ ยสู ตร 15-15-15+ ปุ๋ ยนํ้าหมักชีวภาพ (1:1) และ 7) ปุ๋ ย 16-20-0 + ปุ๋ ยนํ้าหมักชีวภาพ (1:1) ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายมาตรฐานจะส่งผลให้คะน้ามีการเจริญเติบโตดีที่สุด (p<0.01)ขณะที่การใช้ปุ๋ ยเคมีสูตร15-15-15 ผสมกับ 16-20-0 อัตราส่วน 1:1 มีแนวโน้มจะทําให้คะน้าเจริญเติบโตดีที่สุด แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างจากการใช้ปุ๋ ย วิธีการอื่นๆ ดังนั้นจึงดําเนินการทดลองที่ 2 โดยวางแผนแบบ CRD จํานวน 4 วิธีการทดลอง ดังนี้ 1) สารละลายมาตรฐาน (ชุดควบคุม) 2) ปุ๋ ยเคมี 15-15-15 + 16-20-0 (1:1) 3) ใช้ปุ๋ ยเคมี 15-15-15 +16-20-0 (1:1.5) และ 4) ปุ๋ ยเคมี 15-15-15 + 16-20-0 (1:2) ชุดทดลองละ 50 ต้น และทุกวิธีการทดลองเสริมด้วยนํ้าหมักชีวภาพ ยกเว้นชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายมาตรฐาน จะส่งผลให้คะน้ามีการเจริญเติบโตดีที่สุด (p<0.01) ขณะที่การใช้ปุ๋ ยเคมีสูตร 15-15-15ผสมกับ 16-20-0 อัตราส่วน 1:1 มีแนวโน้มจะทําให้คะน้าเจริญเติบโตดีที่สุด อย่างไรก็ตามผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็ นได้เพียงแนวทางในการนําปุ๋ ยเคมีมาใช้ทดแทนสารละลายธาตุอาหารพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ที่ดัดแปลงโดยวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ จึงควรทําการศึกษาเพื่อหาอัตราส่วน และค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของคะน้าต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The experiment was to compare the using of chemical fertilizer 15-15-15 and 16-20-0 as alternative solution in hydroponics system for growth and yield of Chinese Kales. The experiment was set at Faculty of Agricultural Technology, Buriram Rajabhat University with two experiments. First experiment was designed into RCBD with 7 treatments 3 replications namely; 1) standard solutions (control) 2) 15-15-15 3) 16-20-0 4) Bioextract 5) 15-15-15 + Bioextract 6) 16-20-0+ Bioextract and 7) 15-15-15 + 16-20-0. The using of standard solutions showed highest growth of Chinese Kale with highly significant (p<0.01). However using 15-15-15 + 16-20-0 ratio 1:1 trended increase Chinese Kale growth more than other ones. Second experiment was designed into CRD with 4 treatments 50 replications (one plant) namely 1) standard solutions, EC = 0.4 mS / cm (control) 2) 15-15-15 + 16-20-0 (1:1) EC = 0.4 mS/cm 3) 15-15-15 + 16-20-0 (1:1.5) 3 1 and 4) 15-15-15 + 16-20-0 (1:2) EC = 0.6 mS/cm. Plant height, width and number of leaves at 15 days, 30 days and 45 days after planting and fresh weight, dry weight at harvested were collected and analyzed in ANOVA and DMRT. Although using of chemical fertilizer formula 15-15-15 and 16-20-0 as alternative solution showed highly significant (p <0.01) lower in height, width and number of leaves fresh weight and dry weight than using standard solution from College of Agriculture and Technology Buriram but using chemical fertilizer formula 15-15-15 and 16-20-0 (1:1) , 20 ml of bio-extract, EC = 0.4 mS /cm showed higher growth and yield than the mixing 1:1.5 (EC = 0.5 mS /cm) and the mixing 1:2 (EC = 0.6 mS /cm). The result suggested that chemical fertilizer should be used as alternative solution in hydroponics system however appropriate chemical fertilizer formular should be studied in further
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
เอกสารแนบ: http://researchgateway.in.th/search/result_search/475de81bfa485ddbb522b9be3d08fe74fe2e74a680dcfa9422ce5dbfa17f722a
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีผสมระหว่างสูตร 16 – 20 - 0 และ 15 – 15 -15 ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าในระบบไฮโดรโพนิคส์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
30 กันยายน 2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของสัดส่วนความเป็นประโยชน์ของแอมโมเนียมและไนเทรต ในปุ๋ยเคมีเกรด 15-15-15 ต่ออัตราการเติบโต ผลผลิตและสมบัติของดินบางประการในการปลูกคะน้า ผลของไคติน ปุ๋ยมูลวัว และปุ๋ยเคมี (15-15-15) ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกดาวเรือง ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตในหญ้าหวาน อิทธิพลของระยะปลูกและอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตและองค์ประกอบของผลผลิตกระเจี๊ยบเขียว ผลของอุณหภูมิรากต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด ในชุดดินบ้านทอน อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีและการใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินต่อปริมาณไนเตรทและการเจริญเติบโตของผักกาดหอมในระบบไฮโดรโพนิกส์ ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก