สืบค้นงานวิจัย
การเขตกรรมเพื่อการผลิตเนื้อไม้และน้ำยางพารา
นุชนารถ กังพิศดาร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การเขตกรรมเพื่อการผลิตเนื้อไม้และน้ำยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Cultivation Practice of Rubber Trees for Rubberwood and Latex
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นุชนารถ กังพิศดาร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเลือกพันธุ์ยางและการเพิ่มจำนวนต้นต่อพื้นที่ นอกจากเป็นวิธีที่เพิ่มผลผลิตยางพาราต่อหน่วยพื้นที่แล้วยังเป็นการลดการขาดแคลนไม้ยางพาราของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นสถาบันวิจัยยางจึงได้ทำการศึกษาหาวิธีการเขตกรรมและพันธุ์ยางบางพันธุ์ที่เหมาะสมที่จะให้เนื้อไม้และน้ำยางสูง ทำการทดลองที่สถานีทดลองยางตรัง จังหวัดตรัง เนื้อที่ทดลอง 53 ไร่ ดำเนินการทดลองปี 2539-2541 วางแผนการทดลองแบบ Strip plot จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ทดลองมี 2 ปัจจัย ได้แก่ พันธุ์ยางจำนวน 3 พันธุ์ คือพันธุ์ AVROS 2037 PB 260 และ BPM 24 วิธีการเขตกรรม 7 วิธี คือ วิธีการที่ 1 ระยะปลูก 7×3 เมตร กรีด (วิธีการเปรียบเทียบ) วิธีการที่ 2 ระยะปลูก 2×2 เมตร ตัดแถวเว้นแถวเมื่ออายุ 3 ปี และ 6 ปี ไม่กรีด วิธีการที่ 3 ระยะปลูก 2×2 เมตร ตัดแถวเว้นแถวเมื่ออายุ 3 ปีและ 6 ปี กรีด วิธีการที่ 4 ระยะปลูก 3×3 เมตรไม่กรีด วิธีการที่ 5 ระยะปลูก 3×3 เมตร ตัดแถวเว้นแถวเมื่ออายุ 3 ปี กรีด วิธีการที่ 6 ระยะปลูก 4×4 เมตร ไม่กรีด และวิธีการที่ 7 ระยะปลูก 4×4 เมตร กรีด ผลการดำเนินงานพบว่าดินในแปลงทดลองมีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอ ยกเว้นแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ำ การเจริญเติบโตของต้นยางไม่สม่ำเสมอ สาเหตุมาจากปัญหาหนูกัดทำลายต้นยางและต้นยางตายเนื่องจากกระทบแล้งคิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนต้นยางทั้งหมดในปีที่ 2 ของการทดลอง ซึ่งต้นยางที่ตายเหล่านี้ไม่สามารถปลูกซ่อมให้เจริญเติบโตได้ทันต้นยางที่มีอยู่ในแปลง ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงทดลองไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ประกอบกับงานวิจัยดังกล่าวอยู่นอกกรอบการดำเนินงานวิจัยและพัฒนายาง ในช่วงปี 2542-2544 ดังนั้นจึงได้สรุปงานวิจัยไว้เพียงนี้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเขตกรรมเพื่อการผลิตเนื้อไม้และน้ำยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 การพัฒนาอิฐดินซีเมนต์ผสมน้ำยางพารา: โครงการวิจัยขนาดเล็กการประยุกต์ใช้น้ำมันยางพาราในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก