สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรใน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
สุพจน์ ชัยวิมล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรใน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพจน์ ชัยวิมล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การมีอินทรียวัตถุในดินอย่างเพียงพอทำให้เกิดผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ทำการส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ทำปุ๋ยหมักและใช้ในไร่นาของคน อันจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพดิน สำหรับเกษตรกรในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้รับการส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 จึงควรทำการศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ความรู้เกี่ยวกับการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก สภาพการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการคือ อายุ พื้นที่ถือครองทางการเกษตร จำนวนแรงงานในครอบครัว เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร และการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ กับความรู้ การยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกร รวมทั้งปัญหาและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ประชากรที่ทำการศึกษาคือเกษตรกรที่ทำและใช้ปุ๋ยหมักทั้งหมดในปี พ.ศ.2531 จำนวน 100 ราย และเกษตรกรอีก 100 รายที่มิได้ทำและใช้ปุ๋ยหมักในพื้นที่เดียวกันของ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่า t-test และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่ทำปุ๋ยหมัก 100 ราย ส่วนมากเป็นชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 อ่านออกเขียนได้ อายุเฉลี่ย 47.14 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.10 คน แต่ใช้แรงงานเฉลี่ยเพียง3.14 คน อาชีพหลัก คือทำนาร้อยละ 92 มีขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 48.93 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 93,317.40 บาท ต่อปี สำหรับการเลี้ยงสัตว์ปรากฏว่ามีผู้เลี้ยงไก่มากที่สุดร้อยละ 66 รองลงมาคือสุกรและเป็ดเท่ากันร้อยละ 9 มีเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรร้อยละ 69 ได้ติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 3.17 ครั้งต่อปี และได้รับการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักร้อยละ 60 ส่วน เกษตรกรที่ไม่ทำปุ๋ยหมักปรากฏว่ามีสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมคล้ายคลึงกับผู้ที่ทำปุ๋ยหมักคือ เพศ สถานภาพในครอบครัว การศึกษา และการอ่านออกเขียนได้ สำหรับอายุเฉลี่ยเท่ากับ 46.84 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.81 คน แต่ใช้แรงงานทำการเกษตรเฉลี่ยเพียง 2.43 คน อาชีพหลักคือทำนาร้อยละ 75 มีขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 38.74 ไร่ แต่มีรายได้เฉลี่ย 56,575.50 บาทต่อปี ส่วนการเลี้ยงไก่ก็มีมากที่สุดร้อยละ 67 รองลงมาคือเลี้ยงเป็ดและสุกร ร้อยละ 9 และ 6 ตามลำดับ ผู้ที่มีเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรร้อยละ 56 แต่ได้มีการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่เฉลี่ยเพียง 0.41 ครั้งต่อปี และได้รับการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักเพียงร้อยละ 20 จำนวนเกษตรกรที่ทำปุ๋ยหมักก่อนปี พ.ศ.2530 มีร้อยละ 54 ปี พ.ศ.2530 มีผู้ทำปุ๋ยหมักร้อยละ 82 และ ปี พ.ศ.2531 มีผู้ทำปุ๋ยหมักร้อยละ 100 ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้ฟางข้าวร้อยละ 90 ที่ได้จากที่นาของตนเอง ได้ใช้มูลสัตว์ร้อยละ 78 ซึ่งส่วนมากเป็นมูลโคและมูลกระบือซึ่งได้จากการขและซื้อจากเพื่อนบ้าน และมีการใช้ปุ๋ยเคมีร้อยละ 66 นอกจากนั้นได้มีผู้ที่ใช้สารเร่งจุลินทรีย์ร้อยละ 59 ที่ได้รับแจกจากทางราชการ สำหรับน้ำที่ใช้รดกองปุ๋ยนั้นเกษตรกรร้อยละ 99 ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แรงงานที่ทำปุ๋ยหมักเป็นแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.66 คน และเป็นแรงงานเพื่อนบ้านบ้างเล็กน้อย สำหรับวิธีการกองปุ๋ยหมักของเกษตรกร ร้อยละ 68 กองในคอกไม้ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และร้อยละ 90 กองในบริเวณบ้าน มีผู้ทำกองปุ๋ยหมักระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ร้อยละ 72 ส่วนมากทำครอบครัวละ 1 กอง ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน แต่เกษตรกรมากที่สุดร้อยละ 26 ทำกองปุ๋ยขนาด 2x4x1 เมตร ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพราะจะได้ปุ๋ยหมักประมาณ 1 ตัน เกษตรกรร้อยละ 85 ได้รดน้ำกองปุ๋ย และร้อยละ 62 มีการกลับกองปุ๋ย สำหรับผลของการทำปุ๋ยหมักในด้านการส่งเสริมปรากฏว่า เกษตรกรร้อยละ 84 มีเพื่อนบ้านมาดู และร้อยละ 64 พบว่ามีผู้นำไปปฏิบัติตาม หลังจากการทำปุ๋ยหมักของเกษตรกรปรากฏว่า เกษตรกรทั้งหมดได้นำปุ๋ยไปใช้ในไร่นาโดยใส่นาข้าวร้อยละ 58 ไม้ผลร้อยละ 49 และผักร้อยละ 43 เกษตรกรร้อยละ 47 มีความเห็นว่าคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น ร้อยละ 43 เห็นว่าเป็นการช่วยลดต้นทุน และร้อยละ 21 เห็นว่าทำให้ดินร่วนซุย ส่วนปัญหาการทำปุ๋ยหมักของเกษตรกรพบว่า มีเพียงเล็กน้อยคือ เกี่ยวกับน้ำมีร้อยละ 8 แรงงานร้อยละ 5 มูลสัตว์ร้อยละ 5 สารเร่งจุลินทรีย์ร้อยละ 4 และเศษพืชร้อยละ 2 ซึ่งเกษตรกรก็สามารถแก้ปัญหาได้เอง สำหรับความคิดที่จะทำปุ๋ยหมักต่อไปปรากฏว่า เกษตรกรร้อยละ 87 คิดจะทำต่อไปเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ร้อยละ 48 มีเศษพืชมากร้อยละ 23 และประหยัดค่าใช้จ่ายร้อยละ 14 ส่วนผู้ที่ไม่คิดจะทำต่อไปมีจำนวนร้อยละ 13 โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีเวลา ไม่มีแรงงาน และไม่มีวัสดุ สำหรับการใช้ปุ๋ยหมักเกษตรกรร้อยละ 93 คิดว่าจะใช้ต่อไปเพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 46 และทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้นร้อยละ 45 ในกรณีการใช้สารเร่งจุลินทรีย์ เกษตรกรร้อยละ 69 คิดว่าสามารถจะซื้อเองได้ ผลการพิสูจน์สมมติฐานพบว่า จำนวนแรงงานในครอบครัวและการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกร แต่ไม่สัมพันธ์กับอายุ พื้นที่ถือครองทางการเกษตร และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร นอกจากนั้นยังพบว่าการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกร แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ พื้นที่ถือครองทางการเกษตร และจำนวนแรงงานในครอบครัว ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรส่งเสริมให้เกษตรกรทำปุ๋ยหมักในพื้นที่ที่เหมาะสมด้วยวิธีการส่งเสริมทั้งรายบุคคล สถาบันเกษตรกร และสื่อมวลชน นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยควรศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการทำปุ๋ยหมักที่สะดวก รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2533
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรใน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2533
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี การยอมรับการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพในสวนยางพาราของเกษตรกรใน ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากปลาและหอยเชอรี่ทดแทนการใช้ปุ๋ยยูเรียในการทำปุ๋ยหมัก ผลการใช้ปุ๋ยหมักจากการทำก๊าซชีวภาพร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปลูกผักกาดหางหงษ์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน โครงการหลวงหนองหอย ผลการศึกษาสภาพการทำและใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ผลของการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการปรับปรุงดินเค็ม ผลการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนอินทรีย์ในดินชุด กำแพงแสน ผลการใช้ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตในแปลงหม่อนสกลนคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก