สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัด นครศรีธรรมราช
ราชศักดิ์ ช่วยชูวงศ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัด นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Marketing System of Beef Cattle in NakornsiThammaratProvince
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ราชศักดิ์ ช่วยชูวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราชในครั้งนี้ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ระบบการเลี้ยงโคเนื้อและวิถีการตลาดของการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรที่เลี้ยงโคเนื้อใน 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ร่อนพิบูลย์ ฉวาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง บางขัน ทุ่งใหญ่ จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ และท่าศาลา จำนวนทั้งสิ้น 187 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลักคือ ทำสวนและเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริม เกษตรกรเกือบทั้งหมดเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงเฉลี่ยรายละ 7.6 ตัว สภาพการเลี้ยงเป็นแบบผูกล่ามหรือปล่อยโคกินหญ้าตามทุ่งหญ้าสาธารณะโดยไม่มีการเสริมอาหารข้น ระบบการผสมพันธุ์เป็นการผสมแบบธรรมชาติ โดยใช้พ่อพันธุ์คุมฝูง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโคหลัก ๆ คือ ค่าพันธุ์โค ค่าอุปกรณ์ ค่ายาและวัคซีน เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายโคมีชีวิตแบบเหมาตัว โดยจำแนกราคาตามขนาดน้ำหนักของโค ราคาโคที่จำหน่ายยังขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยพบว่าในฤดูแล้งราคาที่จำหน่ายได้จะต่ำกว่าฤดูฝน เนื่องจากการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ ทำให้โคมีขนาดเล็ก จึงถูกกดราคา ปัญหาที่เกษตรกรประสบในปัจจุบัน ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นแหล่งพืชอาหารสัตว์มีจำนวนลดลง เนื่องจากมีการขยายการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นนโยบายการส่งเสริมจากรัฐบาล เช่น ปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้เกษตรกรมีการเลี้ยงโคลดลงจำนวนมาก นอกจากนี้ทำให้เกิดปัญหาการเริ่มขาดแคลนพันธุ์โคตามมา เนื่องจากเกษตรกรมีการจำหน่ายทิ้งแม่พันธุ์โค ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาและส่งเสริมพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ การส่งเสริมการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง เช่น การปลูกหญ้าพันธุ์เนเปียร์ปากช่อง การส่งเสริมให้เกษตรกรมีการซื้อขายโคแบบชั่งน้ำหนักเพื่อพัฒนาระบบการตลาดโคเนื้อ เป็นการสร้างความยุติธรรมแก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น การผสมเทียมโดยใช้พ่อโคคุณภาพสูงเพื่อปรับปรุงพันธุ์โคให้มีผลผลิตสูงขึ้น รวมทั้งการรับการส่งเสริมอื่น ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัด นครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2553
การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช การเลี้ยงโคเนื้อ ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ภายใต้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษากระบวนการฆ่าชำแหละโคเนื้อและการใช้ประโยชน์จากเนื้อโคในจังหวัดนครศรีธรรมราช การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการตลาดอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การศึกษาระบบตลาดโคเนื้อ (12 พ.ย. 2557) การพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดแพะโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดกระบี่ การพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดแพะโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดระนอง การพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดแพะโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดพังงา การศึกษาข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์และผลของการให้อาหารเสริมในโคเนื้อแบบปล่อยเลี้ยง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก