สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
พุทธชาด นารีจันทร์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พุทธชาด นารีจันทร์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร 3) ปัญหาการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 91 ราย เก็บข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 43.04 ปี ส่วนมากเป็นชาย จบชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6.30 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4.14 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก สหกรณ์การเกษตร พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 22.07 ไร่ มีรายได้ภาคเกษตร เฉลี่ย 35,720.88 บาทต่อปี รายได้นอกภาคเกษตร เฉลี่ย 8,970.33 บาทต่อปี มีการกู้เงินเพื่อนำมาใช้ในการผลิตทางการเกษตร แหล่งที่ใช้กู้เงินคือ สหกรณ์การเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีหนี้สิน เฉลี่ย 31,857.14 บาท เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 5.93 ปี พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 6.98 ไร่ เคย อบรมความรู้เรื่องถั่วเหลือง เกษตรกรร้อยละ 83.5 มีการปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอก่อนปลูก ลักษณะดินที่ใช้ในการผลิตถั่วเหลืองเป็นดินร่วนปนทราย มีการเผาหรือตัดตอซังข้าวก่อนปลูก เกษตรกรทั้งหมดใช้พันธุ์จากทางราชการ ได้แก่ พันธุ์สจ. 5 ใช้วิธีหว่าน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 10 -15 ก.ก/ไร่ เกษตรกรทั้งหมดมีการคลุกเชื้อไรโซเบี้ยม ก่อนปลูก ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 16-8-8 อัตรา20-30 ก.ก./ไร่ ช่วงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยใส่หลังจากถั่วงอก 15-20 วัน การจัดการให้น้ำถั่วเหลืองให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูถั่วเหลือง ใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ใช้เคียวตัดโคนต้น เกี่ยว มัดเป็นฟ่อนตั้งผึ่งแดดไว้ 2-3 วันก่อนนวด นวดด้วยเครื่องความเร็วรอบ 400 รอบ ต่อนาที ผลผลิตถั่วเหลืองเฉลี่ย 222.63 ก.ก./ไร่ รายได้จากการขายถั่วเหลืองเฉลี่ย 2,750.22 บาท /ไร่ จำหน่ายให้พ่อค้าท้องถิ่น ต้นทุนการเพาะปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 2,268.68 บาท /ไร่ ปัญหาในการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร โดยภาพรวมทุกประเด็นมีปัญหาอยู่ในระดับมีปัญหาน้อย โดยปัญหาที่สำคัญคือ ปัจจัยการผลิต ราคาแพง ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง โรคและแมลงในการผลิต ขาดแรงงานในการผลิต ระบบน้ำชลประทานไม่ตรงตามความต้องการ ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรจัดการอบรมและสาธิตให้ความรู้เรื่องการผลิตสารสกัด ชีวภาพ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร ตำบลโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547 ความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกรในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งของเกษตรกรตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก